fbpx

เจาะลึก Homeschool ผ่านผู้ก่อตั้ง "ศูนย์การเรียน นวัตกรรมเพื่อความสุข"

Writer : Lalimay
: 21 พฤศจิกายน 2561

‘โฮมสคูล’ ระบบการศึกษาที่พ่อแม่หลายคนอาจสงสัยว่า จำเป็นไหมที่ต้องเรียนที่บ้านอย่างเดียว ซึ่งคำตอบก็อยู่ที่ทางเลือกของพ่อแม่ แต่ถ้าคิดว่าทำเป็นครอบครัวเดี่ยวๆ ไม่ไหว โฮมสคูลก็ยังมีคอมมูนิตี้หลายแห่งที่พร้อมจะช่วยเหลือและเดินหน้าไปพร้อมๆ กัน อย่าง “ศูนย์การเรียน นวัตกรรมเพื่อความสุข” ที่ไม่ได้รับสอนเด็กแต่เน้นทำงานกับพ่อแม่เป็นหลักค่ะ

วันนี้เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ ‘ครูต้น’ – บงกช เศวตามร์ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียน นวัตกรรมเพื่อความสุข และ ‘พี่ต่อ’ – ต่อพงษ์ เศวตามร์ ผู้เป็นน้องชายและที่ปรึกษาของศูนย์การเรียนฯ ในประเด็นของการทำโฮมสคูล ที่ไม่ได้เรียนแค่ที่บ้าน แต่ยังมีสถานที่ที่จะคอยช่วยเหลือพ่อแม่ที่ทำโฮมสคูลด้วยการร่วมแรงร่วมใจ และลงมือทำไปพร้อมๆ กับพ่อแม่ ซึ่งพ่อแม่นั้นต้องมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาของลูก 

Homeschool คืออะไร ?

“การจัดการเรียนโดยบ้าน ไม่ได้แปลว่าการจัดการเรียนที่บ้านนะ มันไม่จำเป็น แต่ว่ามันเป็นการจัดการเรียนตามวัฒนธรรมของบ้าน  ซึ่งจะใช้คำว่า บ้านเรียน ก็ไม่ผิดเพราะเป็นคำที่แปลมา หรือคำว่า Unschooling ก็จะเป็นประเภทของการจัดด้วยหลักคิดต่างๆ กัน เพราะความที่บอกว่าเป็นวัฒนธรรมของบ้านใช่ไหม เพราะฉะนั้นแต่ละบ้านก็มีวิธีการต่างกัน”

ศูนย์การเรียนมีบทบาทอย่างไรกับ Homeschool ?

“ถ้าโรงเรียนดีโรงเรียนพร้อมสำหรับลูกเรา ไม่มีใครเขาอยากจะเหนื่อยเอาลูกออกมาทำ ที่นี้พอลูกเอามาทำโฮมสคูลมันก็เลยเกิดความลำบากมากมาย เช่นถ้าลูกทำโฮมสคูลต้องไปจดทะเบียนกับเขต พอจดทะเบียนกับเขต เขตก็บอกว่าขอดูหลักสูตร ที่นี้พอบอกว่าส่วนการเรียนมาทำอะไร ศูนย์การเรียนทำตัวเหมือน mini school คือโรงเรียนที่มีเป้าหมาย มีกรอบ การจัดการศึกษาของเราชัดเจน และเป็นกรอบที่รัฐบาลยอมรับ

เรามีหลักสูตรกลางของเรา ตามแบบความต้องการที่เราคิดว่าเด็กจะพัฒนาเป็นอะไร เรามีวิธีการประเมินของเรา เรามีบุคลากร มีทรัพยากรที่เราคิดว่ามันพร้อมสำหรับการช่วยพ่อแม่ นี่คือศูนย์การเรียน และเราก็จะมีหน้าที่ประเมินแทนไม่ต้องให้เขตมาประเมินร่วมกับพ่อแม่ เราเป็นคนประเมินร่วมกับพ่อแม่เอง เราออกใบจบได้เหมือนราชการเลยค่ะ”

หลักสูตรที่ใช้ในศูนย์การเรียนฯ ?

“เป้าหมายหลักของเราคือการพัฒนาคนให้สามารถเป็นนวัตกรได้ นวัตกรของเราคือสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆให้กับโลกใบนี้บ้าง เราเลยจัดหลักสูตรที่เรียกว่ากลุ่มประสบการณ์ ไม่ได้เป็นวิชาวิชาวิชาเหมือนในโรงเรียนที่เขามี 8 กลุ่มสาระวิชา พอเป็นกลุ่มประสบการณ์ปุ๊บ มันก็จะขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคนว่าพ่อแม่มองเห็นลูกทางไหน ดูจากความสนใจของเขา

เราก็จะใช้วงจรที่เรียกว่า GROWME กับ ELC มาร่วมกัน ELC คือ Experiential Learning Cycle เป็นกระบวนการที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ดังนั้นมันเป็นกระบวนการที่บังคับให้ทุกคนต้องลงมือทำ ไม่ใช่มานั่งอ่านหนังสือและจินตนาการ แล้วบอกว่าฉันรู้ เวลาที่เราพูดถึงวงจรการเรียนรู้ความน่ารักของมันก็คือ พวกคุณจบวงจรแล้วคุณต้องกลับมาดู พอคุณดูแล้วคุณต้องตั้งคำถาม ทำไมมันเป็นแบบนี้ ทำดีกว่านี้ได้ไหม

มันก็ย้ำสิ่งที่เราต้องการให้เกิดในมนุษย์ไทยนะ คือมันไม่มีอะไรหรอกที่ทำครั้งเดียวแล้วจบแล้วสมบูรณ์แบบ ถ้าคุณมีเป้าหมายที่จะทำสิ่งที่จะที่ดีที่สุดไม่ใช่ด้วยการทำครั้งเดียว คุณต้องเผชิญกับความล้มเหลวผิดหวังแน่นอน ถ้าคุณล้มเหลวแล้วลุกขึ้นมาสู้กับมันใหม่ เชื่อสิว่าประเทศไทยจะดีกว่านี้นะ เราอยากให้ได้เป็นแบบนั้น”

เกณฑ์ในการประเมินเด็กของศูนย์การเรียนฯ ?

“เราใช้ BLOOM’S TAXONOMY รัฐบาลก็ใช้ตัวนี้ เราใช้บลูมส์เพราะอะไร บลูมส์เขาบอกว่ามนุษย์มีประเภทของการเรียนรู้ ผลของมันเห็นได้หลายแบบ มันเห็นจากการที่เด็กเราบอกอะไรแล้วจำได้ อีกระดับนึงคือ เฮ้ย มันอธิบายได้ด้วย  แต่เราบอกว่าก็ยังไม่พอ เพราะว่าในชุดการประเมินความรู้ของบลูมส์บอกว่า มันยังมีเรื่องของการวิเคราะห์ เรื่องของการประเมินคุณค่าในงานที่ตัวเองทำ ที่สำคัญที่สุดก็คือที่มันตรงกับเราก็คือการสร้างนวัตกรรม ครีเอทีฟ

ประเมินเนี่ยนะคะ เราก็บอกพ่อแม่ทุกคนว่าเราใช้เกณฑ์ 5 กลุ่มประสบการณ์ มาเป็นเครื่องมือสำคัญ เรื่องของโปรเจกต์ เป็นข้อมูลที่เด็กๆ ต้องเอามาให้ดู เขาก็จะต้องอธิบายตัวเอง แล้วก็จะมีกรรมการซึ่งคือกรรมการของศูนย์ กับคุณพ่อคุณแม่ของแต่ละบ้าน ลูกใครก็ช่วยมาเป็นกรรมการชุดนี้

ที่ต้องเข้าใจก็คือว่าการประเมินนี้ เราไม่ได้เอาทุกคนมารวมกัน แล้วก็ประเมินแล้วบอกว่าเธอเก่งกว่าคนนี้ไม่ใช่ เราไม่เห็นประโยชน์ของการเปรียบเทียบ จะเทียบทำไมเพราะว่าโปรเจกต์ของใครของมัน ฉันจะรู้ได้ไงว่าโปรเจกต์ของเธอดีกว่าคนนั้น แต่คุณเทียบกับตัวเองดีกว่า เทียบกับเมื่อวานดีกว่าคุณรู้มากกว่าวันนี้รึเปล่า”

การทำ Homeschool ต้องมีเงินเยอะไหม ?

“ไม่ต้องคิดใช้เงินมาก เพราะว่าเราบอกแล้วไง ว่ามันเป็นเรื่องของวัฒนธรรมของบ้าน อย่างบ้านเราไม่ได้รวย ลูกเราชอบกินขนมปังก็ทำขนมปัง ถูกกว่าไปซื้อแน่นอน แล้วเราก็ใช้อันนั้นมาเป็นกระบวนการเรียนรู้ของลูกเรา เคมีของแป้ง เคมีของน้ำ เคมีของยีสต์ มีลูกสาวเล่นแป้งเพลย์ โดว์ก็ให้ตังค์ไปร้อยนึง กลับมาได้ 3 ก้อน

เราบอกมาเลยมาทำเพลย์ โดว์กัน แล้วก็เราก็ใช้เพลย์ โดว์เป็นโปรเจกต์ ทำเพลย์ โดว์ ด้วยเงินที่ถูกมาก เพราะว่าแป้งถุงละ 30 บาท สารส้ม เกลือก็หาได้ไม่ยากนะคะ ที่นี้หน้าที่ของเขาก็คือบอกซิ ว่าอยากได้เพลย์ โดว์ที่มีคุณสมบัติยังไง พอออกแบบได้ที่นี้ก็หาวิธีทำ ลองทำ เขาก็ใช้เงินในงบที่จำกัด แต่เขาได้ของที่เขาต้องการ”

สังคมของศูนย์การเรียนฯ แตกต่างจากโรงเรียนอย่างไร ?

“ต่างไหมต่าง ต่างอย่างที่หนึ่ง คือ โรงเรียนก็เป็นคอมมูนิตี้ที่พ่อแม่ออกแบบได้น้อย แต่มันถูกผลักดันด้วยนโยบายของโรงเรียน ความต่างอันที่สำคัญในเรื่องจำนวนเนี่ย มันทำให้เด็กบางคนที่อยู่ในโรงเรียน เขาอาจจะปรับตัวได้ง่าย แต่เด็กเราเจอกัน 10 คนก็เพียงพอแล้ว เพราะว่าจริงๆ เด็กในห้องเรียนเขาก็จะซี้กันไม่เกิน 5 คน 10 คน แม้ว่าในห้อง 50 คนก็ตาม

เด็กเราก็เจอกันแต่ว่ามันดีตรงที่เราออกแบบได้ทุกอย่าง เราชัดเจนเรื่องการไม่ใช้ความรุนแรง ห้ามทำร้ายตัวเอง เราไม่ทำร้ายคนอื่น เราไม่ทำลายข้าวของ การบูลลี่เป็นการสร้างความเจ็บปวด เราไม่เอา เราชัดเจนว่า การเล่นคือเธอสนุก ฉันสนุก ไม่ใช่ฉันสนุกฝั่งเดียว”

อนาคตทางการศึกษาของเด็ก Homeschool ?

“วันนึงเกิดสมมุติเขาบอกว่าเบื่อแล้ว เบื่อหน้าพ่อแม่ เบื่อการใช้ชีวิตเขาอยากใส่เครื่องแบบ เขาก็ไปเข้าโรงเรียนซึ่งเราคิดว่าวันนั้นเขาพร้อม เพราะว่าภาษาเขาต้องได้ คำนวณได้ แล้วก็เรื่องศิลปะ ทักษะชีวิตได้จัดการ ทุกอย่างได้ อยากไปก็ไป หลักสูตรของเราอะค่ะ มันจะมีกลุ่มประสบการณ์หนึ่งที่เรียกว่า ‘เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้’ เราก็จะใส่สาระวิชา เช่น วิทยาศาสตร์ สังคม สุขศึกษามีอยู่ในก้อนนี้ เพราะฉะนั้นก็ทรานส์เฟอร์ได้ แล้วเราก็เทียบเกรดให้ ออกใบประเมิน มีใบประเมินให้ แล้วก็จะไปสอบที่ไหนก็ไป”

ฝากถึงพ่อแม่ที่กำลังตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของลูก

“คนสำคัญที่สุดคือพ่อแม่  เเป็นคนเลือ เป็นคนตัดสินใจ เราก็ไม่ได้บอกว่าอะไรดีที่สุด พ่อแม่บางคนตัดสินใจจะเอาชีวิตลูกไปฝากไว้กับระบบโรงเรียนก็โอเค แต่คุณก็ต้องยอมรับผลที่มันจะตามมา ถ้าตัดสินใจจะมาทำโฮมสคูล ก็อย่างที่ว่าบอกโฮมสคูลก็มีหลากหลาย ก็เลือกอันที่มันใช่สำหรับลูก

แต่…คุณต้องมั่นใจว่าการเลือกของคุณ ไม่ตัดโอกาสการเรียนรู้ของลูก เพราะลูกโตขึ้นทุกวัน พ่อแม่ก็เลือกเอา จะเอาเป้าหมายแบบไหน เอาแนวไหนในการพัฒนาลูก อีกอย่างนึงตอนนี้โลกมันกว้าง แต่ว่าทุกอย่างมันแทบไม่มีพรมแดนเลย เพราะฉะนั้นพ่อแม่ จะมาคิดเรื่องการศึกษาของลูกในแบบเดิมๆ ก็อาจจะใช้การไม่ได้ อาจจะไม่ประสิทธิภาพมากพอ ที่จะรองรับโลกในอนาคตให้แก่ลูกเราแล้ว”

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save