จากการสำรวจการรับรู้ของสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 กับสุขภาวะของเยาวชน ซึ่งพบว่าเด็กและเยาวชนกังวลว่าตนจะติดเชื้อไวรัส COVID-19 เกิดภาวะเครียด ไม่กล้าออกจากบ้าน อีกทั้งรัฐบาลยังไม่มีมาตรการรองรับในเรื่องของการศึกษา สั่งเพียงแต่ปิดโรงเรียนเท่านั้น
ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผลโพลแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลสนใจในเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ นักท่องเที่ยว การส่งออก โดยไม่ได้สนใจผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะมาตรการการปิดสถานศึกษาทันที โดยขาดคำอธิบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ส่งผลให้เด็กเกิดความเครียด วิตกกังวลตามมา
หากสถานการณ์ของโรคไวรัส COVID-19 ยังคงยืดเยื้อ และทำให้เราไม่สามารถเปิดภาคเรียนได้ตามกำหนด ก็คงต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ และปรับให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน จึงของเสนอให้กรทรวงศึกษาธิการระดมผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร ด้านการประเมิน นักเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบการเรียนรู้ และอื่นๆ ของการศึกษาทุกระดับ ทั้งเด็กเล็ก ประถม มัธยม อาชีวะ การศึกษานอกโรงเรียน เพื่อช่วยกันออกแบบการเรียนรู้ที่บ้านของนักเรียนลักษณะโฮมสกูล หรือการเรียนรู้โดยครอบครัว
ซึ่งอาจต้องใช้หลักการการเรียนแบบกลับหัว คือ เดิมเรียนส่วนใหญ่ที่โรงเรียน ใช้เวลาส่วนใหญ่พูดคุยกับครู และกลับมาทำการบ้านหรือโครงงาน ก็กลับหัวเป็น เรียนรู้ที่บ้าน แล้วนัดหมายกับครูเป็นกลุ่มเล็กๆ มาอภิปรายสิ่งที่สงสัยกับครู หรือครูจัดทำคลิปการสอนสั้นๆ ส่งให้นักเรียน
กระทรวงศึกษาธิการจะต้องดำเนินการตั้งแต่เนิ่นๆ ในช่วง 2 เดือนนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนหรือวุ่นวายในช่วงที่เปิดภาคเรียน
อ้างอิงจาก