fbpx

ฮิคิโคโมริ ซินโดรม โรคที่คุณพ่อคุณแม่อาจต้องพบเมื่อลูกเริ่มวิ่งหนีจากสังคม

Writer : OttChan
: 20 พฤษภาคม 2563

 

คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าทำไมบางครั้งลูกก็ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากพบเจอใคร เอาแต่เก็บตัวอยู่ในห้องเป็นเวลานาน ใช้เวลาอยู่แต่กับสื่อที่มีเช่น เกมส์, การ์ตูน, อินเตอร์เน็ตแบบเกินพอดี ซึ่งระยะเวลาเองก็ไม่ใช่เพียงวัน สองวัน หรือช่วงเวลาในการปิดเทอม แต่เป็นระยะเวลาที่ยาวนานจนผิดปกติ ทั้งยังมีอาการหลีกหนีสังคม ไม่ยอมพบเจอแม้แต่หน้าของตนในบ้าน จะยอมลงมาเจอหรือพูดคุยแค่เรื่องจำเป็นเท่านั้นและหนีกลับขึ้นห้องไปอีกไม่ยอมออกมาเลย ข้าวปลาอาหารก็ต้องเอาขึ้นไปให้ถึงห้อง

หากถึงขั้นนี้เป็นไปได้ว่า เด็กๆ ของเราอาจมีอาการฮิคิโคโมริ ซินโดรมแล้วหรือเปล่า? ไม่ใช่แค่การมีโลกส่วนตัวสูงหรือไม่ชอบการเข้าสังคม

และฮิคิโคโมริ ซินโดรมเป็นอย่างไร ต้องมีอาการระดับไหนจึงจะเรียกว่า ฮิคิโคโมริ

เรามาดูไปด้วยกันเลยค่ะ ถึงลักษณะของอาการและวิธีการแก้ไข

ฮิคิโคโมริ คืออะไร

ฮิคิโคโมริหรือเรียกกันสั้นๆว่า ฮิกกี้ เป็นคำที่ใช้เรียกคนที่ปลีกตนเองออกจากสังคมโดยสิ้นเชิงของคนประเทศญี่ปุ่น เป็นบุคคลที่ไม่ต้องการมีสังคมหรือพูดคุยกับใคร, มีความสนใจเฉพาะทางและหมกมุ่นอยู่กับมันได้เป็นวันๆ ภายในห้องส่วนตัวแต่ระยะเวลาที่อยู่นั้นจะต้องเกิด 6 เดือนขึ้นไปจึงจะเข้าข่ายมีอาการนี้เพราะหากเป็นเพียงแค่ระยะเวลาสั้นหรือเพียงชั่วครั้งชั่วคราว อาจเกิดจากปัญหาด้านอื่นๆ มากกว่าค่ะ

คนที่มีอาการฮิคิโคโมริ จะหลีกเลี่ยงการพบเจอผู้อื่นรึแม้แต่คนในบ้านให้ได้น้อยที่สุดเพราะเขาไม่ต้องการที่จะพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนความเห็นอะไร ซึ่งปัจจุบันนั้นมีคนที่เป็นฮิคิโคโมริถึงหลักหลายแสนคนเลยทีเดียวในประเทศทางเอเชียและคิดว่าอาจจะมีแนวโน้มสูงขึ้นไปอีกด้วยความกดดันและการแข่งขันในสังคม

อาการฮิคิโคโมรินั้นแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ

  • แบบหลีกหนีจากสังคมเพราะไม่สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ รู้สึกกดดันและทำตัวไม่ถูกจนเกิดอาการต่อต้าน, เกิดเรื่องสะเทือนใจจนไม่สามารถทนอยู่ในสังคมได้
  • แบบมีความชอบหรือความสนใจอันแรงกล้าจนไม่สนใจสิ่งอื่น, ไม่ต้องการสังคมหรือคนพุดคุย ขอแค่ได้มีความสุขกับสิ่งที่ชอบพอ ทำให้เก็บตัวอยู่แต่บ้านและหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ชอบทั้งวัน

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการฮิคิโคโมริ

การเป็นฮิคิโคโมรินั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กวัยเรียนไปจนถึงวัยทำงานซึ่งหากเกิดอาการขึ้นมาแล้วก็จะทำให้กลับไปอยู่ในสังคมได้ยากด้วยเหตุผลหลายๆ ปัจจัยที่ส่งผลให้อาการนี้กำเริบ และสาเหตุที่ก่อให้เกิดเป็นอาการฮิคิโคโมริก็มีดังนี้

  • พบกับความผิดหวังหรือทำให้ใจสลายจากสังคมภายนอกหรือแม้แต่การผิดหวังในตนเอง
  • แรงกดดันในสังคมโลกภายนอกมันร้ายแรงเกิดกว่าจะแบกรับไว้ไหว เรื่องเรียน, ความสามารถรึแม้แต่แนวคิดที่แปลกแยก
  • ถูกรังแกหรือทำให้กลายเป็นตัวประหลาด ทำให้รู้สึกสูญเสียความมั่นใจไม่กล้าออกไปพบเจอผู้คน
  • ปัญหาในครอบครัวที่ส่งผลถึงความรู้สึก ทำให้ไม่ไว้ใจจะเปิดใจกับใคร

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นฮิคิโคโมริ

การเป็นฮิคิโคโมริหรือฮิกกี้นั้นคือการ ‘หนี’ ออกจากสังคมซึ่งมันจะแตกต่างกันการ ‘นิ่งเฉย’ ต่อสังคมซึ่งการนิ่งเฉยจะคลับคล้ายกับการเป็นคนไม่มีปฏิสัมพันธ์หรือเบื่อการเข้าสังคมมากกว่ารึที่เราเรียกกันติดปากว่าโลกส่วนตัวสูง ในส่วนนั้นสามารถพัฒนาหรือปรับปรุงได้เกี่ยวกับพฤติกรรมแต่อาการฮิคิโคโมรินั้นจะมีความรุนแรงที่ยิ่งกว่าซึ่งหากเด็กๆ ของเรามีอาการในนี้เกินครึ่งก็อาจมั่นใจได้แล้วว่าเขาเป็นฮิกกี้

  • ไม่ยอมออกจากบ้านแม้ว่าจะเป็นแค่การไปที่ใกล้ๆ เป็นระยะเวลาเกิน 6 เดือน
  • ไม่คบใคร ไม่มีเพื่อนเก็บเนื้อเก็บตัว
  • เลี่ยงการพบหน้าแม้แต่คนในครอบครัวเพราะไม่ต้องการให้ใครมาถามไถ่หรือยุ่งกับตน
  • ห้ามใครเข้าไปในห้อง, สามารถอยู่ในห้องได้ทั้งวัน เป็นเดือนๆ ทำเพียงแค่สิ่งที่สนใจอย่าง อ่านหนังสือการ์ตูน, เล่นเกมส์, ใช้งานอินเตอร์เน็ต
  • บางครั้งมีอาการก้าวร้าวหรือต่อต้านอย่างรุนแรงถ้าหากไปพยายามบังคับหรือพาออกมาจากโลกที่เขาคิดว่าสงบสุข ไร้ใครมารบกวน

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องแยกให้ออกเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ เด็กที่มีโลกส่วนตัวสูงกับเป็นฮิคิโคโมรินั้น แตกต่างกัน ในกรณีของโลกส่วนตัวสูงจะเพียงไม่ชอบออกไปมีสังคมหรือใช้เวลาร่วมกันผู้อื่นแต่ในอาการเหล่านั้นก็ยังสามารถพูดคุยและไม่แสดงอาการต่อต้านอย่างน่ากลัว ต่างกับฮิคิโคโมริที่แม้เพียงพาออกมาจากห้องนอน ก็จะไม่ยอมออกไปเด็ดขาด ข้าวก็ต้องนำไปกินในนั้น

วิธีช่วยให้ลูกหลุดจากอาการฮิคิโคโมริ

หากลองสังเกตแล้วว่าลูกของเรามีอาการหรือเข้าข่าย คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่านอาจคิดว่าใช้วิธีบังคับ หรือความเป็นผู้ปกครองในการออกคำสั่งจะช่วยให้แก้ได้แต่นั่นกลับจะส่งผลให้ลูกต่อต้านยิ่งกว่าเดิมและอาจลามไปสู่การทำร้ายตัวเองได้ค่ะเพราะอาการฮิคิโคโมริคืออาการเริ่มต้นที่อาจส่งผลไปถึงโรคทางจิตเวชไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า, โรควิตกกังวล, โรคกลัวการเข้าสังคม ดังนั้นวิธีช่วยเหลือให้ลูกของเรากลับมาอยู่ในสังคมได้อีกครั้งควรปฏิบัติตามดังนี้

  • ไม่คาดหวังหรือบีบบังคับให้เขาเป็นอย่างที่เราต้องการ
  • คิดบวก-พูดบวกกับลูกให้มาก หากมีโอกาสได้พูดคุยให้พูดคุยด้วยเรื่องดีๆ ชวนให้มองแต่สิ่งที่สบายใจ
  • แสดงความรักผ่านการกระทำมากกว่าการพูดเฉยๆ กอดบ้าง หอมบ้าง ทำอาหารที่ชอบให้ทาน
  • รับฟังมากกว่าตั้งคำถามกับลูก แม้จะรู้สึกไม่ถูกใจเราแต่ก็ต้องรับฟังสิ่งที่เขาพูดหรือรู้สึกด้วยความเป็นกลางและไม่ตัดสินแทน
  • ไม่ว่าเขาจะเจอเรื่องอะไรมา ต้องยืนหยัดที่จะอยู่เคียงข้าง ไม่ทิ้งไปไหน

อาการฮิคิโคโมริเป็นอาการที่เกินจากสภาพแวดล้อมและสังคมทำร้ายจนไม่สามารถทำให้เด็กๆ รู้สึกอยากอยู่ในสังคมที่เป็นแบบนี้ ต้องการที่จะหนไปให้ไกล ดังนั้น นี่ไม่ใช่นิสัยจริงๆ ของลูกแต่เป็นเพียงการสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับเขาขึ้นมาก็เท่านั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องใจเย็นและพยายามทำความเข้าใจตัวตนของลูกในจุดนี้ค่ะ เพราะถ้าทำได้รับรองว่าทุกอย่างจะต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน

ที่มา : amarinbabyandkids , goodlifeupdateestopolis ,thaichildcare

 

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save