fbpx

พ่อแม่ยุคใหม่ ดูแลลูกบนโลกออนไลน์ยังไงให้ถูกต้อง!

Writer : Jicko
: 26 ตุลาคม 2564

บนโลกออนไลน์ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่ให้ทั้งความรู้ ความบันเทิง ข้อดีและไม่ดี ซึ่งในวัยผู้ใหญ่อย่างเราๆ การแยกแยะสิ่งถูกผิดก็คงจะไม่ได้มีปัญหา แต่สำหรับเด็กๆ แล้วพ่อแม่อย่างเราไม่ควรปล่อยให้พวกเขาใช้งานบนโลกออนไลน์เพียงลำพังด้วย แล้วจะทำอย่างไรให้ลูกใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ล่ะ วันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆ มาบอกต่อกันค่ะ ไปดูกันเลย

อายุเท่าไหร่ เล่นอะไรได้บ้างนะ

  • Facebook : อายุ 13 ปีขึ้นไป / คะแนนแอปพลิเคชัน 4+
  • YouTube : อายุ 13 ปีขึ้นไป / คะแนนแอปพลิเคชัน 17+
  • Twitter : อายุ 13 ปีขึ้นไป / คะแนนแอปพลิเคชัน 4+
  • Flickr : อายุ 13 ปีขึ้นไป / คะแนนแอปพลิเคชัน 12+
  • Google : อายุ 13 ปีขึ้นไป / คะแนนแอปพลิเคชัน 17+
  • Instagram : อายุ 13 ปีขึ้นไป / คะแนนแอปพลิเคชัน 12+
  • Pinterest : อายุ 13 ปีขึ้นไป / คะแนนแอปพลิเคชัน 12+
  • Linkedln : อายุ 14 ปีขึ้นไป / คะแนนแอปพลิเคชัน 4+
  • Skype : อายุ 18 ปีขึ้นไป / คะแนนแอปพลิเคชัน 4+
  • SnapChat : อายุ 13 ปีขึ้นไป / คะแนนแอปพลิเคชัน 12+
  • Tumblr : อายุ 13 ปีขึ้นไป / คะแนนแอปพลิเคชัน 17+
  • WeChat : อายุ 13 ปีขึ้นไป / คะแนนแอปพลิเคชัน 4+
  • WhatsApp : อายุ 16 ปีขึ้นไป / คะแนนแอปพลิเคชัน 12+
เงื่อนไขคะแนนของแต่ละแอปพลิเคชัน
  • 4+ คือ ไม่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในแอปพลิเคชัน
  • 9+ คือ อาจมีเนื้อหาที่รุนแรงแต่พบไม่บ่อยนัก มีเนื้อหาชี้นำหรือแนวสยองขวัญ
  • 12+ คือ อาจมีภาษาที่รุนแรง เนื้อหาที่อาจดูสมจริง มีการพนัน ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำ
  • 17+ คือ ต้องมีอายุ 17 ปี ถึงจะโหลดแอปพลิเคชันนี้ได้ เนื่องจากมีเนื้อหาเกี่ยวกับเพศ แอลกอฮอล์ และยาเสพติด

 

เคล็ดลับการใช้โซเชียลที่แม่ๆ ต้องรู้

  1. สอนลูกห้ามโพสต์เรื่องน่าอายให้คนอื่นเห็น เพราะทุกสิ่งที่โพสต์ทุกคนสามารถเห็นได้ ถึงแม้ว่าเราจะลบสิ่งที่เผยแพร่บนโลกออนไลน์ไปแล้วก็ตาม เพราะมันจะอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างถาวร
  2. เตือนลูกให้ระวังเรื่องการแชร์ทุกสิ่งทุกอย่างที่มากเกินไป เพราะโลกโซเชียลมีเดีย มีไว้เพื่อเป็น “สังคมออนไลน์” เพราะมันเหมือนเป็นการแชร์เรื่องราวส่วนตัวออกไป ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องแชร์ทุกรายละเอียดอยู่ตลอดเวลา
  3. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวอย่างเหมาะสมให้เขา
  4. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าโปรไฟล์ที่ใช้นั้นปลอดภัยหรือไม่ เพื่อบัญชีจะได้ไม่ถูกแฮ็ก ทางที่ดีควรตั้งระบบยืนยันตัวตนแบบ 2  ครั้ง หากทำได้

  1. ไม่เห็นหน้าใครไม่ได้หมายความว่าต้องไม่สุภาพ ควรสอนให้ลูกมีมารยาทบนโลกออนไลน์เสมอ
  2. สอนลูกไม่ระบายหรือบ่น โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงองค์กร การเมือง ศาสนา เพราะจำไว้เสมอว่ามีคนอื่นๆ มองเห็นสิ่งที่เราโพสต์และเขาสามารถตัดสินตัวตนของเราจากสิ่งที่เห็นได้
  3. ระมัดระวังเรื่องคำขอเป็นเพื่อนทางโซเชียล ให้แน่ใจเสมอว่ารู้จักคนนั้นจริงๆ ก่อนกดรับเพื่อน
  4. ไม่เปิดเผยหรือระบุตำแหน่งของเรา

“T H I N K” (คิด) ก่อนโพสต์

T = Is it true ? คิดก่อนว่าสิ่งนั้นจริงหรือไม่

H = Is it helpful ? คิดก่อนว่าสิ่งนั้นมีประโยชน์ไหม

I = Is it inspiring ? คิดก่อนว่าสิ่งนั้นสร้างแรงบันดาลใจได้หรือเปล่า

N = Is it necessary ? คิดก่อนว่าสิ่งนั้นจำเป็นต้องโพสต์หรือแชร์หรือไม่

K = Is it Kind ? คิดก่อนว่าสิ่งนั้นดีหรือเปล่า

 

อ้างอิงจาก : thirtyhandmadedays

 

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เมื่อคุณพ่อ จะต้องwork from home
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save