fbpx

ปัญหาโลกแตก มีข้อตกลงอย่างไร เมื่อปู่ย่าตายายคิดว่า เลี้ยงได้ดีกว่า

Writer : OttChan
: 23 มกราคม 2565

เมื่อเราก้าวมาสู่การเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามักจะเจอปัญหา คนเฒ่าคนแก่ในบ้าน รู้สึกเอ็นดูหรือรักใคร่กับสมาชิกใหม่ของบ้านมากๆ จนอดไม่ได้ที่จะต้องมาเยี่ยมเยียน หรืออาจไปถึงการขอไปเลี้ยงหรือดูแลแทนเลยทีเดียวในช่วงเวลาที่เราไม่สะดวก, ยังไม่คล่องกับการดูแลเด็กเล็ก และเมื่อเป็นเช่นนั้น ในบางครั้งก็อาจจะทำให้พบกับปัญหาที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้เช่น

มาอุ้มไปเลี้ยงเองโดยไม่บอกไม่กล่าว

ตำหนิทุกอย่างที่พ่อแม่เลี้ยง เพราะรู้สึกไม่ถูกต้องตามแบบที่ปู่ย่าตายายเข้าใจ

ตามใจหลานทุกๆ อย่างจนทำให้หลานติดนิสัยเอาแต่ใจ

อ้างเสมอว่าเขาเลี้ยงเรามาก่อน เขารู้ดีว่าต้องเลี้ยงยังไง ห้ามเถียง

สุดท้ายก็กลายเป็นไม่เข้าใจกันจนนำไปสู่การทะเลาะ ซึ่งในความจริงแล้วนั้นแต่ละปัญหายังสามารถมีทางออก และแก้ไขร่วมกันได้เสมอเมื่อเรามีการหันหน้ามาร่วมแก้ไขไปด้วยกันค่ะ ซึ่งปัญหาและวิธีแก้จะมีอะไรบ้างนั้น มาลองดูไปด้วยกันเลยว่า ตรงกับสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่รึเปล่า

ปู่ย่าตายายเอาไปเลี้ยงเองไม่บอกกล่าว มาดูอีกทีลูกหาย

ในมุมมองปู่ย่าตายายนั้น เขามักจะมองว่า เขาเองก็เป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวที่ไว้วางใจได้, มีประสบการณ์ในการเลี้ยงเด็กมาก่อน ทำให้การเห็นหลานนอนอยู่ หรือเล่น จึงมักเข้ามาอุ้มไปดูแลเอง เพราะเข้าใจว่านี่ช่วงเวลาที่เขาได้ใช้กับหลาน และอาจเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับพ่อแม่ได้ แต่ในมุมของพ่อแม่นั้น การที่ถูกพาลูกไปโดยไม่มีการบอกกล่าวอาจทำให้เกิดความรู้สึกหวาดวิตก หรือกลัวเอาได้ว่าลูกโดนลักพาตัวไปจากบ้าน ทำให้เกิดความไม่ไว้ใจทุกครั้งที่ปู่ย่าตายายมาเอาหลานออกไปจากบ้านเพราะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นผู้ใหญ่ในบ้านหรือลูกหายไปจริงๆ

การแก้ไขปัญหาฝั่งปู่ย่าตายาย

  • จำไว้เสมอว่า นั่นเป็นลูกของลูกเรา ไม่ใช่ของของ เรา สิทธิ์การเลี้ยงดูจึงควรเป็นของพ่อแม่โดยตรง
  • ขออนุญาตลูกตัวเองเสมอ ก่อนนำหลานไปเลี้ยงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผิดใจกัน
  • หากลูกไม่ให้ ควรเคารพการตัดสินใจ เมื่อมีโอกาสที่ถูกฝากหรือไหว้วานให้ช่วยจึงค่อยช่วยเหลือ

การแก้ไขปัญหาฝั่งพ่อแม่

  • มีข้อตกลงให้ชัดเจนในการดูแล เช่นการแบ่งวันเลี้ยง, ช่วงเวลาในการเลี้ยงหลาน
  • พยายามพูดคุยด้วยเหตุผลที่คำนึงถึงความสำคัญของลูกเป็นหลัก ไม่ใช่ความหวงของตนเอง
  • ทำความเข้าใจความรัก และห่วงหลานของคนเฒ่าคนแก่กว่าไม่มีจุดประสงค์ร้าย ควรพูดคุยความเข้าใจ ไม่ด่าทอหรือทำร้ายน้ำใจ

 

โดนบ่นว่า “ให้แต่น้ำนมแม่จะไปอิ่มได้ยังไง ตอนเลี้ยงแกมาก็ให้กินแบบนี้”

อีกหนึ่งปัญหาที่ไม่ว่ากี่ครั้งก็ต้องเกิดขึ้นเมื่อถึงมื้ออาหารของลูกเล็ก คนเฒ่าคนแก่มักจะใช้วิธีเลี้ยงแบบที่เลี้ยงๆ เรามาว่าการได้รับน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องมีอาการเสริมอื่นๆ เช่น กล้วยบด, ข้าวบดหรือแม้แต่น้ำเปล่าเองก็ต้องกินเข้าไปเพื่อให้หลานขับถ่าย แต่ในเวลาเดียวกันคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ก็มักจะรู้แล้วว่าการให้น้ำนมอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว รวมถึงการให้ทานอะไรที่ย่อยยากเข้าไป จะยิ่งทำให้เกิดปัญหากับร่างกายของลูกตามมา ทำให้เรื่องการกินเองก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำให้ต้องทะเลาะกันอยู่เรื่อยไป

การแก้ไขปัญหาฝั่งปู่ย่าตายาย

  • ทำความเข้าใจว่า เด็กแต่ละคนมีความแข็งแรงกระเพาะไม่เท่ากัน
  • เปิดรับข้อมูลใหม่ๆ ไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งที่ทำต่อกันมา
  • ยึดสุขภาพหลานของตนเป็นหลัก ไม่ถือทิฐิว่าเคยเลี้ยงแบบไหนมา ก็จะต้องเป็นแบบนั้น ไม่เช่นนั้น หากหลานป่วยหรือสุขภาพไม่ดีขึ้นมา อาจทำให้รู้สึกเสียใจในภายหลังได้

การแก้ไขปัญหาฝั่งพ่อแม่

  • ให้ลูกอยู่ในสายตาตลอดเวลาผู้ใหญ่ในบ้านจะเอาอะไรป้อนให้ เพราะบางทีท่านเองก็อยากให้ทานด้วยความหวังดี แต่อาจไม่รู้ถึงผลที่ตามมา
  • อธิบายเรื่องโภชนาการให้ปู่ย่าตายายในบ้านฟังบ่อยๆ เชิงบทสนทนารายวัน มากกว่ายัดเยียดหรือพุ่งชนไปเลยว่านี่เป็นข้อมูลที่ถูกต้องเห็นด้วย หากทำแบบนั้น ผู้ใหญ่ในบ้านก็จะยิ่งต่อต้าน และรู้สึกเราอยากเอาชนะ
  • มีข้อตกลงชัดเจนว่าอะไรให้ทานได้ในช่วงอายุไหน เพื่อให้ผู้ใหญ่ในบ้านได้มีโอกาสป้อนหลานบ้างเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

 

จับดัดขาให้ขาตรง, เอากบตบปากจะได้พูดเก่ง คนโบราณเขาทำกันได้ผลทั้งนั้น!

ความเชื่อที่ทำส่งต่อกันมานานๆ นั้นเป็นอีกหนึ่งศัตรูตัวร้ายที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่มีปัญหากับผู้ใหญ่ในบ้านเสมอเพราะความเชื่อที่มีมุมมองต่างกัน และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ผิดใจกันจนใช้คำพูดแรงๆ ใส่กันโดยต่างคนต่างก็ใช้อารมณ์

การแก้ไขปัญหาฝั่งปู่ย่าตายาย

  • รู้ตนอยู่เสมอว่าเราเป็นเพียงปู่ย่าตายาย ต้องให้พ่อและแม่จริงๆ ของเขาตัดสินใจเวลาลูกเจ็บไข้ได้ป่วย
  • แนะนำหรือเสนอความเห็นก็พอ ไม่จำเป็นต้องลงไปจัดการเองจนทำให้เกิดการทะเลาะ
  • อัพเดทสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ตามทันถึงวิธีที่ถูกต้องในการเลี้ยงเด็ก ว่าเรื่องไหนจำเป็นหรือไม่จำเป็นต้องทำ

การแก้ไขปัญหาฝั่งพ่อแม่

  • อธิบายให้เข้าใจถึงพัฒนาการของเด็ก และเล่าถึงพัฒนาการของลูกให้ปู่ย่าตายายฟังเสมอเพื่อให้พวกท่านได้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการเจริญเติบโตของเด็ก
  • ใจเย็นให้มาก และคิดอยู่เสมอว่าเพราะผู้ใหญ่เองก็รักและห่วงจึงเลือกทำลงไป ต้องพูดคุยด้วยความรู้สึกขอบคุณมากกว่าตัดพ้อ
  • หากอธิบายแล้วแต่ยังโดนตามหรือควบคุมให้ทำตามอยู่ ให้เลือกที่จะถอยออกมา ไม่ปะทะ และให้คนทางครอบครัวของฝั่งนั้นเป็นคนไกล่เกลี่ยอีกที เช่น ให้คุณพ่อคุณกับคุณปู่คุณย่า ให้คุณแม่คุยกับคุณตาคุณยาย

 

หลานจะดูการ์ตูนนิดๆ หน่อยๆ ก็ให้หลานมันดูไปสิ, หลานอยากกินของทอดก็ให้มันกิน จะอะไรกันนักกันหนา

ปัจจุบันมีคู่มือการเลี้ยงดูที่มากขึ้นจึงทำให้รู้ว่าการดูหน้าจอหรือให้อยู่แต่กับโทรทัศน์หรือโทรศัพท์นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควร แต่ด้วยความรักของผู้ใหญ่ในบ้านเห็นหลานอยากดูอะไรก็อยากให้ดู เห็นหลานอยากได้อะไรก็อยากให้เพื่อให้ทุกช่วงเวลาของหลานเต็มไปด้วยความสุข แต่ในส่วนของพ่อแม่ที่ต้องคอยมาดูแลหลังจากนั้นกลับกลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ว่าจะต้องพบเจอกับสภาวะสมาธิสั้น, อาการเอาแต่ใจที่อยากได้อะไรต้องได้ เลยทำให้ผู้ใหญ่ในบ้านกับผู้ปกครองเปิดศึกทะเลาะกันได้บ่อยครั้ง

การแก้ไขปัญหาฝั่งปู่ย่าตายาย

  • เคารพวิธีการเลี้ยงของพ่อแม่ ว่าที่ทำไปนั้นเป็นเรื่องของการฝึกระเบียบต่างๆ ไม่ใช่ต้องการใจร้าย หรือ บังคับใดๆ กับหลานที่รัก
  • ก่อนซื้อของให้หรืออนุญาตให้ใช้จอ ควรบอกกล่าวก่อนกับพ่อแม่เพื่อตกลงกันว่าควรให้หรือไม่ในสถานการณ์นี้ ให้ผู้ปกครองได้ร่วมตัดสิน
  • เมื่อตกลงได้แล้ว ใจแข็งให้มากขึ้นเวลาถูกอ้อน ถูกขอ เพราะเราเองก็ต้องมีระเบียบกับหลานด้วยเพื่อฝึกให้หลานมีความอดทน และสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

การแก้ไขปัญหาฝั่งพ่อแม่

  • อย่าพึ่งตีความไปว่าปู่ย่าตายายหวังร้าย แต่ให้ทำความเข้าใจว่าผู้ใหญ่ในบ้านก็แค่รักลูกของเรามาก จนทำให้อยากตามใจไปซะทุกอย่าง
  • ดึงมาเป็นผู้ช่วยในการเลี้ยง เพราะแน่นอนว่าเมื่อปู่ย่าตายายให้หลาน หลานก็มักจะต้องมาขอหรืออ้อนเสมอ จึงเป็นโอกาสดีที่จะพูดคุยเพื่อตกลงการให้ที่เหมาะสม ทำให้เขารู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมในการเลี้ยง
  • ไม่ใช้อารมณ์ในการบอกห้าม แต่ให้ใช้หลักสุขภาพและพัฒนาการของลูกเป็นตัวเข้าไปพูดคุยเพื่อให้ผู้ใหญ่ในบ้านเข้าใจมากขึ้นว่ามันจะเกิดผลเสียใดๆ บ้าง

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรมีในสถานการณ์นี้คือการเปิดใจคุยกันให้มาก ไม่ตั้งแง่หรือมองว่าใครกันที่เป็นคนผิด เพราะทั้งปู่ย่าตายายและพ่อแม่ ต่างหวังดี และรักลูกหลานด้วยกันทั้งนั้น และอย่าลืมว่า ผู้ใหญ่ในบ้าน เขาเหลือเวลาอีกไม่มากที่จะได้ใช้ร่วมกับเราและลูก ดังนั้นควรพูดคุยกันให้มากเพื่อสร้างความเข้าใจ ดีกว่าทะเลาะกันทุกครั้งที่เกิดเรื่องจนทำให้เสียเวลาดีๆ ที่ได้ใช้ร่วมกันไปนะคะ

ที่มา : thaipbskids , เลี้ยงลูกนอกบ้าน , เลี้ยงลูกตามใจหมอ , นายแพทย์ประเสริฐ rakluke

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save