Parents One

เด็กผู้หญิงโตเร็วกว่าปกติได้อย่างไร ?

 

คุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่าลูกสาวของเราโตเร็วกว่าปกติหรือเปล่า เเละอาการนี้เกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไขแบบใดบ้างมาดูกันค่ะ

กลไกการเข้าสู่วัยสาวเป็นอย่างไร ?

อวัยวะสำคัญที่ควบคุมการเข้าสู่วัยสาว ได้แก่ ต่อมใต้สมองและรังไข่ โดยต่อมใต้สมองทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมน gonadotropins ภายใต้การควบคุมจากสารชีวเคมีต่างๆ ในสมอง ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีปัจจัยใดที่เป็นตัวกระตุ้นสารชีวเคมีต่างๆ เหล่านี้ ทั้งนี้ฮอร์โมน gonadotropins จากต่อมใต้สมองนี้จะมากระตุ้นรังไข่ในเด็กผู้หญิงให้ผลิตฮอร์โมนเพศหญิง “เอสโตรเจน”

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าปัจจัยใดเป็นตัวควบคุมการเข้าสู่ความเป็นสาวหรือกระตุ้นให้เกิดการเริ่มสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าเกิดจากหลายๆ ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุม ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรมซึ่งถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก หรือภาวะโภชนาการ ซึ่งจะพบว่าเด็กที่ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเข้าสู่การเป็นสาวเร็ว ส่วนเด็กที่ผอมหรืออ้วนมากมักเข้าสู่การเป็นสาวช้ากว่าปกติ

เด็กโตเร็วกว่าปกติคืออะไร ?

โรคเด็กโตเร็วกว่าปกติมักจะเกิดกับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ และเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตในช่วงวัยเด็ก ส่งผลให้เด็กมีเต้านม ประจำเดือน รังไข่ มดลูก หรือขนาดอัณฑะที่ขยายใหญ่ขึ้น พร้อมสำหรับการเจริญพันธุ์ ทั้งที่ยังไม่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่นเลยก็ตามโรคเด็กโตเร็วกว่าปกติ หรือโรคเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย (Precocious Puberty) มีอันตรายต่อความสูงและการเจริญเติบโตของเด็กมาก เพราะจะทำให้เด็กเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นเร็ว ซึ่งจะทำให้หัวกระดูกก้านยาวปิดเร็วกว่ากำหนด อันจะทำให้โครงสร้างกระดูกหยุดการเจริญเติบโตก่อนวัยอันควร ยกตัวอย่างเด็กที่เป็นโรคนี้จะสูงเร็วกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน แต่พอโตขึ้นกลับสูงไม่ถึง 154 เซนติเมตร หรือเตี้ยกว่าเพื่อนร่วมรุ่น 10-15 เซนติเมตร

สาเหตุที่ทำให้เด็กโตเร็วกว่าปกติมีอะไรบ้าง ?

 

เด็กผู้หญิงโตเร็วกว่าปกติสังเกตได้จากอะไรบ้าง ?

ผลเสียของการโตเร็วก่อนวัยอันควรมีอะไรบ้าง ?

วิธีการรักษาเด็กที่เป็นสาวก่อนวัยทำได้อย่างไร ?

การรักษาจะเริ่มจากการตรวจหาสาเหตุ โดยซักประวัติการรับประทานยาชนิดต่างๆ หรืออาหารที่อาจมีการปนเปื้อนฮอร์โมนเพศหญิง ร่วมกับการตรวจดูประวัติการเจริญเติบโตในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาว่าโตเร็วขึ้นกว่าปกติหรือไม่ แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเอกซเรย์เพื่อประเมินการเจริญเติบโต ในกรณีที่จำเป็นอาจต้องตรวจอัลตราซาวนด์รังไข่หรือตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Brain) หากพบว่ามีสาเหตุจากเนื้องอกที่รังไข่หรือในสมองอาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด (ในบางกรณี) ถ้าตรวจไม่พบสาเหตุแต่มีระดับฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองสูง อาจให้การรักษาเพื่อชะลอการเข้าสู่วัยรุ่นโดยการใช้ยาฉีดซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ชื่อ GnRH analogue ยานี้เป็นยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ต้องฉีดทุก 4 สัปดาห์ และควรฉีดติดต่อกันไปจนเด็กอายุประมาณ 12-14 ปี

วิธีป้องกันการเป็นสาวก่อนวัยอันควรทำได้อย่างไรบ้าง ?

อาการทั้งหลายของลูกน้อยนั้นคุณแม่ควรเฝ้าดูและเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ จะได้ไม่คลาดสายตาเมื่อเกิดอะไรขึ้นค่ะ

ที่มา