fbpx

รู้จักโพรไบโอติก แบคทีเรียดีเสริมสร้างสุขภาพ

: 21 กันยายน 2563

ใครว่าแบคทีเรียจะไม่ดีเสมอไป เราก็คงเคยได้ยินคำนี้มาจากสโลแกนนมเปรี้ยวที่บอกว่ามีจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่มีชีวิตอยู่ในนมเปรี้ยวขวดหนึ่งนับล้านตัว ซึ่งช่วยให้ระบบขับถ่ายของเราทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเจ้าแบคทีเรียเหล่านี้นี่แหละที่ทำให้โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ หอม มัน เปรี้ยวถูกใจเจ้าหนู กินเปล่าๆ ก็อร่อย กินกับผลไม้ก็สดชื่น

แต่รู้หรือไม่ว่าอาหารที่มีโพรไบโอติก หรือเหล่าแบคทีเรียดีนั้นยังมีอีกมาก เราไปดูกันดีกว่าค่ะว่าโพรไบโอติกคืออะไร และมันมีประโยชน์อะไรอีกบ้างนะ?

 

โพรไบโอติกคืออะไร?

โพรไบโอติกคือกลุ่มแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของเรา ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหมักบ่ม แบคทีเรียเหล่านี้เมื่อถูกรับประทานเข้าไปแล้ว จะช่วยปรับสมดุลประชากรแบคทีเรีย เพิ่มปริมาณแบคทีเรียดีในร่างกาย ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องระบบการขับถ่ายแล้ว ก็ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพของเราโดยรวมนั้นดีขึ้นอีกด้วยค่ะ

ซึ่งสำหรับลูกน้อยในวัยฝึกนั่งกระโถนหรือ 1 ปีขึ้นไปที่มีอาการท้องเสียและท้องผูกเป็นปกติ โพรไบโอติกก็สามารถช่วยบรรเทาอาการและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคตได้ค่ะ

 

โพรไบโอติกมีอะไรบ้าง?

โพรไบโอติกมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีแบคทีเรียที่แตกต่างกันไป แต่ชนิดที่พบเห็นได้บ่อยก็คือ Lactobacillus, Bifidobacterium และ Saccharomyces boulardii

  • Lactobacillus พบเจอได้บ่อยที่สุดโดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์อย่างนมเปรี้ยว โยเกิร์ต หรืออาหารหมักดองต่างๆ สามารถบรรเทาอาการท้องเสีย ช่วยในการย่อยน้ำตาลแลคโตส
  • Bifidobacterium สามารถพบเจอในผลิตภัณฑ์นม อาหารหมักดอง ธัญพืชเต็มเมล็ด โกโก้ และในนมแม่ ทำหน้าที่ช่วยย่อยน้ำตาลในนมแม่ให้เด็กทารก และช่วยเรื่องระบบขับถ่าย ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้นไปในตัว
  • Saccharomyces boulardii ยีสต์ที่ทำหน้าที่เหมือนโพรไบโอติก ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมแบคทีเรียในระบบขับถ่ายเช่นกัน

 

อาหารที่มีโพรไบโอติก

นอกจากโยเกิร์ตกับนมเปรี้ยวที่เป็นอาหารอุดมจุลินทรีย์ยอดฮิตแล้ว รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ว อาหารที่มีพรีไบโอติกนั้นยังมีอีกมากมายเลยทีเดียว อาทิเช่น:

  • คอตเทจชีส
  • เต้าเจี้ยว
  • กิมจิ
  • ผักดอง
  • ชีสที่ผ่านการหมักบ่ม (โกวด้า สวิส เชดด้าและพาร์เมซาน)
  • ขนมปังเปรี้ยว (Sourdough bread)

ถึงแม้ว่าโพรไบโอติกจะมีในรูปแบบของอาหารเสริม แต่การให้เจ้าตัวน้อยได้รับโพรไบโอติกผ่านอาหารที่กินอยู่แล้วนั้นเป็นทางออกที่ดีที่สุดค่ะ ถ้าหากต้องรับประทารโพรไบโอติกในรูปแบบของอาหารเสริมหรือยาจริงๆ ต้องผ่านคำแนะนำจากแพทย์ก่อนนะคะ

ข้อควรระวัง!

ถึงโพรไบโอติกจะมีประโยชน์สำหรับเด็ก แต่ไม่ควรให้เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ป่วยเป็นโรคมะเร็ง หรือทารกคลอดก่อนกำหนดกินโพรไบโอติก เพราะทำให้เสี่ยงการติดเชื้อในร่างกายได้ค่ะ

Writer Profile : phanthirapuyou

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เตรียมตัวเป็นแม่ เตรียมตัวเป็นแม่
7 กุมภาพันธ์ 2561
เด็กผู้หญิงโตเร็วกว่าปกติได้อย่างไร ?
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save