fbpx

Gentle Parenting เลี้ยงลูกด้วยวิธีอ่อนโยน

: 2 กุมภาพันธ์ 2565

วิธีการเลี้ยงลูกสำหรับแต่ละครอบครัวนั้นย่อมแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นจากประสบการณ์ในชีวิตที่หล่อหลอมให้เราเป็นพ่อหรือแม่ในวันนี้ หรือข้อดีและข้อเสียจากการเลี้ยงดูที่เราได้รับมาตั้งแต่อย่างเด็ก บ้างอาจจะใช้จุดแข็งตัวเองในการตัดสินใจว่าควรดูแลลูกอย่างไรดี แต่อย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ ก็คือความหลากหลายในการเลี้ยงลูกของทุกครอบครัวนั่นเอง และไม่มีวิธีไหนที่ผิดหรือถูก

นำพามาสู่หัวข้อของเราในวันนี้ Gentle Parenting หรือการเลี้ยงลูกอย่างอ่อนโยนนั่นเองค่ะ หลักการการเลี้ยงลูกด้วยวิธีอ่อนโยนนั้นมาจากหนังสือ “The Gentle Parenting Book” ของ Sarah Ockwell-Smith  ซึ่งมาจากความเชื่อที่ว่าการเลี้ยงดูอย่างอ่อนโยนนั้นจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกด้วยการให้ตัวเลือก แทนที่จะตีกรอบด้วยกฎและความคาดหวังต่างๆ

แต่ความอ่อนโยนไม่ได้แปลว่าหละหลวม เราไปดูกันดีกว่าค่ะว่าถ้าอยากเลี้ยงลูกด้วยวิธี Gentle Parenting ต้องเตรียมตัวอย่างไรกันบ้าง

หลักการของ Gentle Parenting

  • เข้าใจว่าลูกเป็นคนอย่างไร
  • พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา
  • เคารพในการตัดสินใจของเขา
  • ตั้งขอบเขตอย่างชัดเจน

แทนที่จะเลี้ยงลูกด้วยการลงโทษหรือการควบคุม การเลี้ยงลูกด้วยวิธีอ่อนโยนนั้นจะเน้นไปที่การพูดคุย เน้นความสัมพันธ์และความสม่ำเสมอ (connection, communication, consistency) และสิ่งสำคัญที่ขาดไปเลยไม่ได้ก็คือความอดทน ที่จะช่วยให้การเลี้ยงดูด้วยวิธีนี้ได้ผลดีที่สุดค่ะ

 

สิ่งที่ควรมีใน Gentle Parenting

  • การเอาใจใส่: พยายามใส่ใจในความต้องการและความรู้สึกของลูก ทุกการกระทำของเขามีเหตุผลเสมอ พยายามคิดว่าเขาต้องการอะไร และถามเขาหากลูกมีอายุมากพอ แสดงให้เขาเห็นว่าสิ่งสำคัญสำหรับเขา ก็คือสิ่งสำคัญสำหรับเราเช่นกัน
  • เคารพในตัวลูก: เด็กก็ไม่ต่างจากผู้ใหญ่ ที่มีความชอบและความรู้สึกของตัวเอง ปฏิบัติกับลูกให้เหมือนกับที่เราอยากให้คนอื่นปฏิบัติกับตัวเรา อธิบายให้เขาเข้าใจแทนที่จะติเตียนและสั่งสอนโดยไม่จำเป็น
  • เข้าใจในตัวลูก: ด้วยสมองของเด็กที่ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา เด็กจึงไม่สามารถทำตามคำสั่งได้เต็มที่หากเปรียบเทียบกับการมอบคำสั่งให้ผู้ใหญ่ ทุกครั้งที่เขางอแง ย่อมมีเหตุผลเบื้องหลังเสมอ แต่ไม่ใช่ว่าต้องตามใจเขาเสียทีเดียว หากความต้องการของเขานั้นไม่สมควร ก็ควรอธิบายให้เขาเข้าใจค่ะ เข้าใจว่าเด็กก็คือเด็ก ไม่ควรตั้งความหวังสูงจนเกินอายุของเขาเอง
  • ขอบเขตที่ชัดเจน: ไม่ต้องกลัวที่จะตั้งขอบเขตให้แก่ลูกของเรา แต่ควรคำนึงว่าไม่ควรตั้งกฎเกณฑ์มากจนเกินไป ขอบเขตคือการสอนให้ลูกทำในสิ่งที่ส่งผลดีต่อชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่นการตั้งเวลาให้เข้านอนเร็ว เพื่อที่เขาจะได้ตื่นเช้าอย่างสดใส ไปโรงเรียนโดยไม่ต้องรีบร้อน ขอบเขตนั้นควรทำให้เขารู้สึกปลอดภัย และรู้ว่าสิ่งใดที่เขาควรทำค่ะ

 

ข้อดีและข้อเสียของการเลี้ยงลูกแบบ Gentle Parenting

การเลี้ยงลูกอย่างอ่อนโยนนั้นนับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เพิ่งถูกกำหนดมาไม่นานมานี้ เพราะฉะนั้นยังมีการศึกษารองรับน้อย แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองและเด็กนั้นส่งผลให้เด็กเติบโตมาอย่างมีความสุข แข็งแรงทางใจ และมีจุดยืนของตัวเอง

การเลี้ยงดูด้วยความเข้าใจนั้นจะส่งเสริมให้เขามีการจัดการอารมณ์ตัวเองที่ดี มีความฉลาดทางอารมณ์

อย่างไรก็แล้วแต่ การเลี้ยงดูอย่างอ่อนโยนนั้นอาจฟังดูนุ่มนวล แต่ก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด คุณพ่อคุณแม่ต้องมีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิตค่อนข้างสูง และพร้อมที่จะตอบสนองความต้องการของเด็ก คอยสังเกตสถานการณ์รอบตัวเสมอ และปฏิบัติต่อลูกอย่างสม่ำเสมอ

การเลี้ยงดูอย่างอ่อนโยนนั้นอาจทำให้เด็กมีระเบียบวินัยน้อยกว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงดูด้วยวิธีอื่น ๆ ด้วยการเลี้ยงดูอย่างอ่อนโยนนั้นขึ้นอยู่กับตัวเด็กที่ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่ถูกอยู่มาก และการตัดสินใจของเขาในบางครั้งอาจนำพาผลตอบรับที่ร้ายแรงได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูพื้นนิสัยของลูกให้ดี แล้วปรับวิธีการเลี้ยงให้เหมาะกับเขาค่ะ

 

Writer Profile : phanthirapuyou

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เมื่อผม…
ชีวิตครอบครัว
เมื่อผม…
31 มีนาคม 2563
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save