fbpx

เคี้ยวเพลินเกินไป! ลูดติดเคี้ยวน้ำแข็ง จะเป็นปัญหาหรือไม่

Writer : OttChan
: 2 มิถุนายน 2563

เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการได้ดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ หรือทานน้ำแข็งไสราดนมข้นหวานจึงถือว่าเป้นสวรรค์สุดๆ ไม่ว่าจะกับเด็กหรือผู้ใหญ่

แต่เวลาไปร้านอาหารหรือทานข้าวกับลูก คุณพ่อคุณแม่เคยสังเกตมั้ยคะว่าเด็กน้อยของเราชอบเคี้ยวน้ำแข็งหรือเปล่า ทานบ่อยแค่ไหน ทุกครั้งที่ดื่มน้ำแล้วต้องขอน้ำแข็งใส่ทุกครั้งหรือไม่ ถ้ามีอาการทุกครั้งต้องรับประทาน ต้องได้อมได้เคี้ยวไม่งั้นจะรู้สึกกระวนกระวายและพยายามร้องหาเป็นไปได้ว่า เด็กๆ อาจเป็นโรคติดน้ำแข็ง ( Pagophagia ) ก็ได้นะคะ แล้วติดแบบนี้จะมีผลเสียอะไรมั้ย

เรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะ ว่าปัญหาการติดน้ำแข็งมีอะไรและหากติดไปแล้วจะช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง

โรคติดน้ำแข็ง

เป็นโรคที่ติดมาจากการกัดและกินน้ำแข็งอยู่บ่อยครั้ง และมีความชอบจนสามารถเคี้ยวได้ตลอดทั้งวัน มีความต้องการจะทานอยู่ตลอดเวลา แม้จะได้ดื่มน้ำเย็นหรืออยู่ในสภาพอากาศที่สบายแค่ไหน ก็ยังมีอาการอยากเคี้ยวอยู่ และอาจมีอาการกระวนกระวายหรือหงุดหงิดหากไม่ได้ทานน้ำแข็ง ถ้าเด็กๆ ที่บ้านมีอาการดังกล่าวและงอแงก็อาจเป็นไปได้ว่าเป็นโรคติดน้ำแข็งแล้วล่ะค่ะ

ซึ่งเหตุที่ทำให้ติดนั้นมีอยู่หลายปัจจัยไม่ว่าจะมาจากพัฒนาการของร่างกายลูกน้อย, ความเครียด, อาการย้ำคิดย้ำทำรึแม้แต่เป็นอาการเริ่มต้นของภาวะโลหิตจาง สิ่งเหล่านี้เองเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนเราเริ่มเสพติดการเคี้ยวน้ำแข็งเพราะมันช่วยคลายเครียดและยังได้ความเพลิดเพลิน  หากเด็กๆ บ้านไหนติดน้ำแข็งแล้วมีภาวะเครียดรึอาการย้ำคิดย้ำทำ ก็ต้องรีบทำการพบแพทย์หรือพบผู้เชี่ยวชาญทันทีนะคะ

 

ข้อเสียของการติดน้ำแข็ง

หากได้ทานบางครั้งบางคราวนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นปัญหาอะไรกับลูกน้อยแต่ถ้าติดทานอย่างหนัก ได้ทานอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเวลาไหนด็จะทานแล้วล่ะก็ การติดน้ำแข็งก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพดังนี้

  • อาจติดคอหรือลื่นไหลลงคอไปไม่ทันระวัง
  • ฟันบิ่น, แตก
  • ติดนิสัยเคี้ยวเสียงดังไม่รู้ตัว
  • กระทบการพัฒนาการของร่างกายที่พัฒนาได้ช้าลง
  • อาจติดเชื้อได้จากการเคี้ยวน้ำแข็งที่ไม่สะอาด

 

การทานน้ำแข็งที่เหมาะสมของเด็ก

แน่นอนว่าการติดแล้วนั้นก็ยากที่จะให้หยุดทานได้ง่ายๆ แบบหักดิบเพราะตัวลูกน้อยเองก็คงไม่รู้ถึงผลเสียได้ดีเท่าคุณพ่อคุณแม่ ฉะนั้นเราจะมาค่อยๆ ลดปริมาณและการติดเคี้ยวน้ำแข็งของเขาได้ดังนี้ค่ะ

  • ยังไม่ให้ลูกทานจนกว่าจะเกิน 4 ขวบ เพราะหากเด็กกว่านั้นอาจทำให้ฟันสึกหรือบิ่นและเหงือกร่นได้
  • พยายามทุบน้ำแข็งให้ละเอียดเม็ดเล็กก่อนใส่ให้ทาน
  • ให้รับประทานได้นานๆ ครั้ง ไม่ให้บ่อย
  • เลี่ยงได้เลี่ยง ให้ดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง
  • ไม่เคี้ยวน้ำแข็งต่อหน้าลูกเพราะเขาเองก็อาจขอให้ได้ทานบ้าง
  • หากเกิดจากอาการคันฟัน ให้ลองหาจุกยางหรือสิ่งอื่นเพื่อขบเคี้ยวแทน
  • หากยังแก้ไม่ได้และพยายามหามาทางทุกทางควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาหาแนวทางแก้ไขที่เชิงลึกกว่าเดิม

ที่มา : sanook, amarinbabyandkidsdekkinngay

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



นวด นวด นวด มานวดลูกน้อยกันเถิด
เด็กวัยแรกเกิด
ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save