fbpx

"โรคแพ้ถั่วปากอ้า" G6PD โรคที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้

Writer : Jicko
: 4 กุมภาพันธ์ 2564

คุณพ่อคุณแม่เคยได้ยิน “โรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD” กันบ้างไหมคะ แล้วรู้ไหมคะว่าโรคนี้เด็กแรกเกิดส่วนมากจะเป็นโรคนี้กันได้ด้วย ซึ่งวันนี้ Parents One จะพาคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไปทำความรู้จักกับโรคนี้กัน บอกเลยว่าไม่น่ากลัวอย่างที่คิดนะคะ เพียงแต่ต้องดูแลเด็กๆ ให้ดีเท่านั้นเองค่ะ

ทำความรู้จักโรคนี้กัน

โรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD หรือโรคพร่องเอนไซม์ G6PD เป็นโรคที่เด็กจะมีโอกาสเป็นได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมผิดปกนี้จากแม่สู่ลูกได้

โดยมากจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ซึ่งถ้าร่างกายขาดเอนไซม์ G6PD ก็จะทำให้เอนไซม์มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น เช่น อาหาร ยาบางชนิด และถั่วปากอ้า เจ้าพวกนี้จะเข้าไปทำลายระบบต่างๆ ภายในเซลล์ของร่างกาย ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงสลายตัวจนเกิดภาวะโลหิตจางตามมาได้นั่นเองค่ะ

รู้ได้ยังไงว่าลูกเป็นโรคนี้

  • ในเด็กทารก : จะเป็นโรคนี้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิด จะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลืองตั้งแต่แรกเกิด และมีอาการดีซ่านที่นานผิดปกติ ซึ่งมักเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
  • ในเด็กโต : จะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เลย จนกว่าร่างกายจะได้รรับยาหรืออาหารบางชนิดไปกระตุ้นโรค เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ผิวหนังซีด ตาเหลือง หัวใจเต้นเร็ว หากไม่รักษาอาจจะนำไปสู่ภาวะไตวายและเสียชีวิตได้นั่นเองค่ะ

อาการของโรค

อาการมักจะเกิดขึ้นทันทีหลังเป็นโรคติดเชื้อ หรือหลังได้รับยาที่แสลง หรือหลังจากที่กินถั่วปากอ้า มีอาการเป็นๆ หายๆ ได้บ่อย ซึ่งอาการมีดังนี้

  • มีไข้สูง หนาวสั่น อ่อนเพลีย
  • ปัสสาวะสีดำคล้ายโคล่า อุจจาระซีดลง
  • ทารกแรกเกิดจะตัวเหลือง ตาเหลือง หลังคลอดเพียงไม่กี่วัน
  • อาการเหลืองจัด หรือมากกว่าผิดปกติ หรือมีภาวะซีดร่วมด้วย

ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น

  • โรคติดต่อ : ที่เกิดจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือรา เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคปอดอักเสบ โรคไข้ไทฟอยด์ เป็นต้น นอกจากนี้การติดเชื้อบางอย่าง เช่น ไข้หวัด หรือหลอดลมอักเสบ ก็อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้
  • อาหารบางชนิด : เช่น ถั่วบางชนิด โดยเฉพาะถั่วปากอ้า บลูเบอร์รี่ รวมทั้งสารอาหารหรือสารปรุงแต่งอื่น ๆ ที่เติมลงไปในอาหาร เช่น ในขนมขบเคี้ยว อาหารหรือน้ำผลไม้บรรจุกระป๋อง ไส้กรอก เป็นต้น
  • ยาบางชนิดที่กระตุ้นให้เกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชัน
  • สารเคมีบางอย่างเช่น การบูร ลูกเหม็น เมนทอลที่พบในขนมลูกอม และยาสีฟัน เป็นต้น

เมื่อลูกเป็น จะต้องทำยังไง

  • ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ออกกำลังหายให้พอดีและเหมาะสม
  • หากมีอาการตัวเหลือง ซีด ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  • ไม่ควรซื้อยาทานเอง
  • หลีกเลี่ยงอาหารตระกูลถั่ว
  • สอนลูกสังเกตอาการผิดปกติของตัวเอง
  • แจ้งให้โรงเรียนและครูทราบถึงอาการของลูก

 

อ้างอิงจาก : organicloveskinbccgroup-thailand, tsh.or.th

 

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
นวด นวด นวด มานวดลูกน้อยกันเถิด
เด็กวัยแรกเกิด
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save