fbpx

เตรียมตัวยังไงให้พร้อม ก่อนพาหนูน้อยไปถอนฟัน

Writer : Jicko
: 5 ตุลาคม 2561

อีกหน้าที่ที่สำคัญของคุณแม่ๆ ก็คือพาลูกน้อยไปพบคุณหมอฟันนั้นเอง แต่อย่างที่รู้ๆ กันเลยนะคะว่า คุณหมอกับเด็กๆเนี่ยไม่ค่อยถูกกันเอาซะเลย เพราะเด็กๆ จะไม่ชอบเจ้าเครื่องมือที่หน้าตาแปลกๆ และคนแปลกหน้าที่ไหนไม่รู้ที่บอกให้เค้าอ้าปาก ทำโน้นทำนี่ และนั้นแหละค่ะเราถึงต้องมาเตรียมความพร้อมให้คุณแม่ๆ กัน  ทั้งความรู้ต่างๆ และสิ่งที่คุณแม่ต้องเตรียมก่อนพาเจ้าตัวน้อยไปพบคุณหมอว่าต้องทำยังไงบ้าง ไปดูกันเลยยยย

สาเหตุที่หนูน้อยฟันผุเกิดจากอะไรบ้าง

  • เกิดจาการที่ให้หนูน้อยหลับไปพร้อมกับขวดนม เนื่องจากในน้ำมีน้ำตาาลที่เป็นของเหลวที่สามารถไปเคลือบฟัน ทั้งน้ำนมแม่และนมผง จึงทำให้ฟันเจ้าตัวน้อยผุได้นั้นเอง
  • ไม่ยอมแปรงฟัน หรือบ้วนปาก หลังจากรับประทานขนมต่างๆ
  • ให้หนูน้อยเดินถือขวดนมเดินเล่นขณะกำลังดื่มนม
  • กินอาหารที่มีกรดแล้วแปรงฟันทันที หลังทานอาหารไม่ควรแปรงฟันทันทีนะคะ เพราะอาหารที่มีรสเปรี้ยว หรือมีส่วนผสมของกรด ทำให้เกิดฟันผุง่ายๆ เลยค่ะ
  • เกิดจากสัมผัสน้ำลายของผู้ที่มีฟันผุ ดัผ งนั้นคุณแม่ๆ ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อไปสู่เด็ก เช่น การป้อนข้าวโดยใช้ภาชนะร่วมกัน ซึ่งจะนำเชื้อแบคทีเรียตามมาด้วยค่ะ

 

พาหนูน้อยไปหาหมอฟันได้เมื่ออายุเท่าไหร่

คุณแม่ๆ สามารถพาหนูน้อยมาพบแพทย์ได้ก่อนก่อนที่จะฟันผุเสียอีก ควรพามาพบคุณหมอตั้งแต่เห็นฟันซี่แรกเริ่มขึ้น(อายุประมาณ 6 เดือน) หรืออย่างช้าก็ไม่เกิดอายุ 1 ปี  และคุณหมอแนะนำว่าคุณแม่ๆ ควรพาหนูน้อยมาตรวจสุขภาพฟันและเคลือบฟลูออไรด์ทุกๆ 6 เดือนนะคะ

เมื่อฟันน้ำนมผุ ควรจะถอนทิ้งดีไหม

คุณหมอแนะนำว่า เมื่อไหร่ที่เด็กมีฟันน้ำนมที่ผุเอามากๆ มากจนทะลุโพรงประสาทฟัน มีการรักษาด้วยกัน 2 วิธีค่ะ

1.รักษารากฟันร่วมกับครอบฟันน้ำนม

ข้อดี : หนูน้อยยังเก็บฟันน้ำนมไว้เคี้ยวข้าวได้ และยังช่วยกันที่ให้ฟันแท้ขึ้นมาในตำแหน่งที่เหมาะสมอีกด้วย

ข้อเสีย : ราคาสูงเลยทีเดียว และใช้ระยะเวลารักษาที่นานอีกด้วย

2.ถอนฟัน

ข้อดี : ราคาไม่สูง ใช้เวลารักษาไม่นานค่ะ

ข้อเสีย : หนูน้อยไม่มีฟันไว้เคี้ยวข้าว และไม่มีฟันน้ำนมกันที่ให้ฟันแท้ และเมื่อถอนฟันแล้วควรใส่เครื่องมือกันที่ฟันไว้ด้วยนะคะ

 

คุณหมอจะทำอะไรกับเจ้าตัวน้อยบ้างในการพามาครั้งแรก

  • คุณหมอจะทำการตรวจฟัน และให้คำแนะนำในการดูแลและทำความสะอาดช่องปากและฟันของเจ้าตัวน้อย
  • คุณหมอจะให้การดูแลทางทันตกรรมป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน
  • คุณหมอจะสอนและเสริมสร้างทัศนคติให้เด็กๆ มีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำฟัน เพื่อลดความหวาดกลัว
  • หากพบว่าเจ้าตัวน้อยฟันผุ หรือมีโรคอื่นๆ เกี่ยวกับช่องปาก คุณหมอจะทำการวางแผนการรักษา อธิบายทางเลือกการรักษา และนัดมารักษา พร้อมคำแนะนำในการเตรียมตัวทำฟันในครั้งต่อๆ ไปค่ะ

 

คุณแม่ๆ จะต้องเตรียมตัวก่อนลูกน้อยมาทำฟันยังไงบ้าง

เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เลยสำหรับคุณแม่ๆ เพราะว่าคุณแม่นี่แหละ คือคนแรกและคนสำคัญในการสร้างทัศนคติเกี่ยวกับการทำฟันที่ดีก่อนที่เด็กๆ จะมาคุณหมอโดยสามารถทำได้คือ

  • หาหนังสือนิทานเกี่ยวกับการทำฟันในแบบการ์ตูนน่ารักๆ เล่าให้เด็กๆ ฟันก่อนที่จะมาพบคุณหมอ
  • ไม่แนะนำให้คุณแม่ใช้คำที่อาจทำให้เด็กๆ กลัว และห้ามขู่เด็กๆ เรื่องการทำฟัน เช่น “ถ้าร้องไห้จะให้หมอฉีดยาเลยนะ” , “ถอนฟันแปปเดียวเอง เลือดไม่ไหลมากหรอก” เป็นต้น เหล่านี้จะทำให้เด็กๆ กลัว
  • ไม่ควรตั้งสินบนหรือคำสัญญาเกี่ยวกับของรางวัลที่จะให้เด็กๆ เนื่องจากการพาเด็กๆ มาทำฟันเป็นเรื่องที่ควรจะทำเป็นปกติ หากคุณแม่ๆ ให้รางวัลกับเค้าทุกครั้ง เด็กๆ อาจจะติดนิสัยการทำอย่างหนึ่งเพื่อแลกกับของรางวัล แต่คุณแม่ๆ ควรเปลี่ยนมาเป็นคำชมเชยและให้กำลังใจจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าค่ะ
  • ไม่บอกข้อมูลเกี่ยวกับการทำฟันในวันนั้น หากคุณแม่ๆ ยังไม่ได้พูดคุยและปรึกษาเกี่ยวกับแผนการรักษากับคุณหมอมาก่อน เช่น “วันนี้คุณหมอไม่ฉีดยานะคะ ทำแปปเดียวเดี๋ยวก็กลับเลยค่ะ” “แม่ไม่ให้คุณหมอฉีดยาหรอก ถ้าหมอทำเจ็บคุณแม่จะตีมือคุณหมอเลย” เป็นต้น
  • คุณแม่ๆ ควรจะตอบคำถามกับเด็กๆ เป็นคำตอบที่กลางๆ เช่น “แม่คิดว่าคุณหมอน่าจะทำไม่นานนะคะ เดี๋ยวเราไปถามคุณหมอก่อนทำด้วยกันนะคะ” , “ถ้าหนูเป็นเด็กดี ช่วยกันกับคุณหมอ น่าจะทำเสร็จเร็วนะคะ” เป็นต้น

 

ในระหว่างการทำฟัน คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยอะไรคุณหมอได้บ้าง

คุณพ่อคุณแม่ควรนั่งรออยู่บริเวณโถงด้านหน้า แต่หากต้องการเข้ามาอยู่ในห้องทำฟัน ให้แจ้งคุณหมอหรือเจ้าหน้าที่ด้านหน้าก่อน สำหรับเด็กเล็กอายุตำ่กว่า 3 ปี โดยส่วนใหญ่ คุณหมอจะอนุญาตให้คุณพ่อคุณแม่ 1 ท่านเข้ามานั่งอยู่ในห้องทำฟันด้วยอยู่แล้ว และถ้าเมื่อไหร่ที่เข้ามาแล้วควรปฏิบัติดังนี้

  • ไม่พูดคุย หรือช่วยสั่งหรือบอกเด็ก เนื่องจากเด็กจะได้สนใจฟังคุณหมอเพียงคนเดียว
  • ไม่ควรถ่ายภาพหรือบันทึกวีดีโอ
  • ไม่หลับตา ปิดตา แสดงท่าทีหวาดกลัวแทนลูกๆ หากทำท่าอย่างงั้นไปเด็กๆ เห็นคงจะกลัวมากขึ้นแน่ๆ

 

วิธีป้องกันฟันน้ำนมผุ

  • ฝึกให้เด็กๆ เข้านอนโดยไม่ติดขวดนม
  • เติมน้ำเปล่าแทนเมื่อจำเป็นในกรณีที่เด็กเข้านอนแล้วยังดื่มนม น้ำผลไม้ หรือน้ำหวานจากขวดนม
  • ไม่อนุญาตให้เด็กเล็กเดินไปพร้อมมือยังถือขวดนมอยู่
  • ฝึกลูกๆ ให้ใช้แก้วน้ำแทนขวดนมตั้งแต่อายุ 6 – 12 เดือน และเปลี่ยนจากขวดนมเป็นการใช้แก้วน้ำแทนตอนอายุ 1 ปี
  • ควรไปพบคุณหมอฟันเพื่อตรวจสอบว่าลูกๆ ได้รับปริมาณฟลูออไรด์เพียงพอหรือไม่ในแต่ละวัน

ที่มา : dent.nu,sanook,healthcarethai

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



มีบุตรยาก แก้ไขอย่างไรได้บ้าง
ข้อมูลทางแพทย์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save