เมื่อลูกน้อยไม่สบาย ความกังวลใจก็คงต้องตกอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ ยิ่งถ้าลูกมีอาการไข้ที่สูง ตัวร้อน ยิ่งน่าเป็นห่วง เพราะจะทำให้เด็กๆ เกิดอาการชักที่เกิดจากไข้ที่สูงได้ แล้วถ้าเด็กๆ ชัก คุณพ่อคุณแม่จะต้องเตรียมรับมืออย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ
อาการชักของเด็กๆ ที่มาจากไข้ที่สูง มักจะเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ และไข้ออกผื่น หรือการติดเชื่อจากไวรัสต่างๆ โดยมักจะพบในเด็กอายุ 6 เดือน จนถึง 15 ปี
ลักษณะอาการ
- เด็กจะมีไข้สูงใน อุณหภูมิ 37.2 องศาขึ้นไป
- เด็กๆ จะเริ่มไม่สบาย มีไข้ ซึมลง อาเจียน เบื่ออาหาร
- ตัวแข็งแกร็ง มือเท้ากระตุก
- ตาเหลือก
- กัดฟันแน่น
- น้ำลายฟูปาก ไม่รู้ตัว
- อาการชักจะไม่เกิน 15 นาที
- แต่หากชักนาน จะมีใบหน้า ริมฝีปาก มือเท้า จะเขียว (จากการขาดออกซิเจน)
การปฐมพยาบาลเด็ก
- คุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติ ต้องปฐมพยาบาลลูกทันที ไม่ตื่นตกใจหรือฟูมฟาย
- จับนอนตะแคง ไม่หนุนหมอน หันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก
- คลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อจะได้หายใจสะดวก
- ห้ามใช้วัตถุ หรือนิ้วงัดปาก
- เช็ดตัวด้วยน้ำประปา หรือน้ำอุ่น ไม่ควรเช็ดตัวด้วยน้ำเย็นหรือแอลกอฮอล์ เน้นบริเวณข้อพับ โดยเช็ดไปในทิศย้อนเข้าหาหัวใจ
- นำส่งโรงพยาบาล หรือพบแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าสาเหตุของการชักเกิดจากไข้สูง หรือจากสาเหตุอื่น
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเมื่อชัก
- เขย่าตัวให้เด็กตื่น จะได้หายจากการชัก
จริงๆ แล้วยิ่งเขย่าจะทำให้เด็กชักมากขึ้นกว่าเดิม และไม่ควรงัดแขนเด็ก ระหว่างอาการชัก จะทำให้กระดูกแขนหัก ข้อหลุดได้
- นำช้อนมางัดเข้าปาก เพื่อไม่ให้เด็กกัดลิ้นตัวเอง
ซึ่งการนำของแข็งต่างๆ ใส่เข้าปาก อาจทำให้เด็กพันหักได้ อีกทั้งยังจะหลุดเข้าไปในหลอดลม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตหรือพิการได้ค่ะ
- ป้อนยาระหว่างชัก
เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเลยระหว่าที่เด็กๆ ชัก เพราะจะทำให้เขาเสี่ยงต่อการสำลักได้
สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้เกี่ยวกับภาวะชักเมื่อไข้สูง
- อาการชักมีปัจจัยทางด้านพันธุกรรมเกี่ยวข้องด้วย เด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีประวัติชักการไข้ จะมีโอกาสชักมากกว่าเด็กที่ครอบครัวไม่มีประวัติชักการไข้
- การชักจากไข้สูง จะไม่ทำให้เด็กเกิดสมองพิการ เขาจะมีความสามารถในการเรียนและสติปัญญา (IQ) เหมือนเด็กทั่วไป
- มีโอกาสเกิดการชักซ้ำร้อยละ 30 และมักเกิดภายใน 2 ปีแรก
หน่วยฉุกเฉิน 1669
หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรศัพท์แจ้งหน่วยฉุเฉิน 1699 ในขณะที่กำลังปฐมพยาบาลเบื้องต้นอยู่ ให้เข้ามาช่วยเหลือได้ค่ะ
ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท, โรงพยาบาลเปาโล