fbpx

Checklist อาการซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้

Writer : nunzmoko
: 9 สิงหาคม 2561

ช่วงเวลาหลังคลอด น่าจะเป็นช่วงเวลาแห่งความภูมิใจ ความตื่นเต้น และน่ายินดี แต่ไม่น่าเชื่อว่า 40- 80% ของผู้หญิงหลังคลอดจะมีอาการซึมเศร้า เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่าฉับพลัน ทั้งทางอารมณ์และทางกายภาพ แต่จะอาการอยู่ประมาณ 7-10 วันเท่านั้น ไม่เกิน 2 สัปดาห์ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ คุณแม่ที่ใกล้คลอดหรืออยู่ในช่วงหลังคลอด ลองเช็คลิสต์กันดีกว่าว่ามีอาการอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าคุณแม่กำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้า รวมถึงจะมีวิธีป้องกันอาการนี้อย่างไรค่ะ

1. ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ

ภายหลังคลอด ร่างกายจะถูกกระตุ้นด้วยระดับฮอร์โมนที่ลดลงตามธรรมชาติอย่างทันทีทันใด นอกจากนั้นยังมีความรู้สึก “ว่างเปล่า” หลังจากคลอด การที่ต้องดูแลเด็กทารกทั้งกลางวันและกลางคืน ความรับผิดชอบแบบใหม่ของคุณซึ่งเป็นแม่ จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าใจว่าทำไมคุณแม่ถึงรู้สึกหดหู่ จนร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ

2. หงุดหงิดง่าย

หงุดหงิดง่าย วิตกกังวลกับเรื่องทุกอย่าง แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม ไม่ว่าจะเรื่องงานบ้าน เรื่องสามี และเรื่องอื่นๆ

3. คิดถึงตัวเองในแง่ลบ

มีความรู้สึกไร้ค่า ไม่ชอบใจตัวเอง คิดถึงตัวเองแต่ในแง่ลบ เพราะคุณแม่หลังคลอดต้องปรับตัวหลายอย่าง ทั้งสุขภาพร่างกายและการดูแลลูกน้อยที่เพิ่งเกิด คุณแม่เกือบทุกคนที่ตั้งครรภ์ต้องเจอภาวะอ้วนขึ้นหลังคลอดลูก ซึ่งอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล คิดว่าตัวเองอ้วน ไม่สวยสามีจะไม่รัก เกิดอาการน้อยใจจนกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้

4. เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย

ร่างกายเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไร รู้สึกภายในจิตใจว่างเปล่า ความสนใจ ความรู้สึกสนุก และความพึงพอใจในการทำกิจวัตรต่างๆ ที่เคยชอบทำ ลดลงอย่างมาก

5. หวาดกลัวเรื่องต่างๆ

มีความหวาดกลัวในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม เช่น ความกังวลเรื่องลูก เรื่องสุขภาพหรือเรื่องงานก็ตาม การได้พูดหรือปรึกษาคนใกล้ชิดจะทำให้คุณแม่สบายใจขึ้นค่ะ

6. นอนไม่หลับ

มีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนมากตลอดวัน ความคิดความอ่าน สมาธิ ความสามารถในการจดจ่อสนใจสิ่งที่ทำลดลง จนบางทีไม่สามารถทำงานได้

 

วิธีป้องกันและรักษาอาการซึมเศร้าหลังคลอด

• สามี คือส่วนสำคัญ ควรมีการวางแผนปรึกษาการดำเนินชีวิต หลังลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว โดยตกลงกันไว้ก่อนว่า ใครต้องทำอะไรบ้าง เข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของภรรยา คอยถามและเอาใจใส่ภรรยาต้องการ หรือไม่ต้องการอะไร

ดูแลและเอาใจใส่ตัวเอง คุณแม่อย่าเป็นกังวลในสิ่งที่ไม่ควรกังวล เช่น ถ้าบ้านจะสกปรก หรือรกไปบ้าง ก็ให้ใจเย็นๆ และค่อยๆ ทำไปทีละน้อย ต้องปล่อยวางบ้าง อย่าทำให้ตัวเองต้องเครียดไปเสียทุกเรื่อง

• หาคนช่วยเหลือ และหากำลังใจ อาจให้คนในครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ เพื่อน หรือผู้ให้บริการดูแลเด็ก เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลลูก หรือช่วยทำงานบ้าน เตรียมอาหาร หรือหาที่พึ่งทางใจ เช่น โทรหาเพื่อนและสมาชิกในครอบครัวเพื่อขอกำลัง

• ระบายความรู้สึกบ้าง ถ้าคุณแม่รู้สึกหงุดหงิด หรือรู้สึกอึดอัดใจเรื่องอะไร อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรพูดเพื่อระบายความรู้สึกที่อัดอั้นนั้นออกมา กับใครสักคนที่วางใจได้ ถ้าไม่มีที่ระบาย คุณแม่อาจเขียนระบายความรู้สึกลงในกระดาษ แล้วฉีกทิ้งก็ได้ จะทำให้รู้สึกสบายใจ และมีอารมณ์ที่ดีขึ้น

เลิกวิตกกังวล อาการเจ็บปวด สับสน อ่อนเพลียในช่วงหลังคลอดเป็นเรื่องธรรมดา คุณแม่ไม่ควรเป็นกังวลมากจนเกินไป เมื่อรู้ตัวว่ามีอาการซึมเศร้า พยายามดูแลรักษาตนเอง อดทน รู้จักผ่อนคลาย และมีความเชื่อมั่นว่าจะต้องหายเป็นปกติได้ ไม่ว่าจะต้องใช้เวลานานเพียงใด

• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผักผลไม้สด รวมถึงน้ำผลไม้คั้นสด เป็นแหล่งวิตามินที่ช่วยให้คุณแม่รู้สึกสดชื่นได้ อีกทั้งยังช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกาย ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรลดอาหารพวกขนมหวาน หรือของกินจุบจิบ และไม่ควรอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก

• ออกกำลังกายเบาๆ คุณแม่อย่ามัวหมกมุ่นอยู่กับการเลี้ยงลูกมากจนเกินไป ควรหาเวลาออกไปเดินเล่นกับลูก หรือออกกำลังกายเบาๆ นอกบ้านบ้าง การออกกำลังกาย จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกกระปรี้กระเปร่า และมีอารมณ์แจ่มใสยิ่งขึ้น

• พักผ่อนให้เพียงพอ ในช่วงกลางวัน คุณแม่ควรพยายามงีบหลับบ้าง และหาคนมาช่วยดูแลลูกในตอนกลางคืนด้วย เพื่อที่จะได้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น ทำให้รู้สึกสดชื่น เพราะร่างกายที่อ่อนเพลีย จะทำให้อาการซึมเศร้าที่เป็นอยู่เลวร้ายลง

อย่างไรก็ดี อาการภาวะซึมเศร้าหลังคลอดหรือ “Baby Blue” ถ้าหากเป็นนานกว่า 2 สัปดาห์ แนะนำว่าควรพบจิตแพทย์ เพื่อตรวจและวินิจฉัยต่อไป เพราะมีความเป็นไปได้ว่า อาจจะเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไปค่ะ

ที่มา – www.gedgoodlife.com

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



5 เคล็ดลับทำให้ลูกชอบกินผัก
เด็กอายุ 2-5 ขวบ
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save