“โรงเรียนอีลิท (Elite)” เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นแนวนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) อาจเป็นการแบ่งชนชั้นหรือไม่ ?
จากกรณีที่มีการเสนอแนวนโยบายของนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ที่ให้มีการสร้าง “โรงเรียนอีลิท (Elite)” ขึ้นเพื่อเป็นไปตามข้อเสนอแนะของ กพฐ. ที่ต้องการให้มีการเปิดรับเฉพาะนักเรียนที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการโดยการสอบเข้า 100% เพื่อคัดกรองเด็กที่เรียนเก่งมีความเป็นเลิศเข้าเรียนโดยตรงนั้น ทางสพฐ.ได้ออกมาชี้แจงแล้วว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะเท่านั้น
โดยรศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงแนวคิดการเน้นโรงเรียนที่มีคุณภาพสูง (High Quality School) เพื่อสร้างเด็กเก่งให้เป็นอนาคตของประเทศว่า ไม่เกี่ยวกับการเป็นโรงเรียนสำหรับอภิสิทธิ์ชน หรือการแบ่งแยกชนชั้น
นอกจากนี้นายพีระ รัตนวิจิตร รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่าแนวปฏิบัติของ สพฐ. ต้องดูแลนักเรียนทั้งหมด ทั้งเด็กปกติ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ เด็กเรียนช้า เด็กด้อยโอกาส และเด็กพิการ อีกทั้งขณะนี้มีโรงเรียนบางประเภทที่เปิดสอนเฉพาะทางอยู่แล้ว โดยคำว่าเด็กเก่ง ไม่ใช่เก่งแต่ทักษะวิชาการ ด้านทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตก็เป็นเรื่องที่ สพฐ. ให้ความสำคัญ
และยังย้ำอีกว่า “โรงเรียนอีลิท” เป็นเพียงข้อเสนอแนะที่ยังไม่ได้ข้อยุติ และไม่ได้เป็นมติของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ซึ่ง สพฐ. จะต้องศึกษาข้อมูลทุกด้านและสอบถามผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
อ้างอิงจาก