fbpx

โรคเอ็นข้อหย่อน เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

Writer : Mookky TCN
: 13 พฤศจิกายน 2560

โรคเอ็นข้อหย่อน คือ ภาวะที่เส้นเอ็นทั่วร่างกายของเด็กหย่อนตั้งเเต่กำเนิด ทำให้ร่างกายยืดเหยียดได้มากกว่าเด็กปกติทั่วไป บางรายพับนิ้วหัวเเม่มือได้ทั้งนิ้ว หรือบางคนยืดขาประสานกับหัวได้เลย ฟังดูเป็นเรื่องดีใช่ไหมคะ เเต่ความจริงเเล้วโรคนี้ทำให้เด็กกลายเป็นเด็กที่มีพัฒนาการช้ามาก เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันค่ะ

สาเหตุของโรคนี้เป็นเรื่องพันธุกรรมที่เด็กเป็นมาตั้งเเต่กำเนิด ส่งผลให้มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวที่ช้ามาก ไม่ว่าจะเป็นการ นั่ง คลาน ยืน เดิน นอกจากนั้นยังทำให้เด็กยังเล่นกีฬากับเพื่อนไม่ค่อยได้ ในชั่วโมงพละเด็กที่เป็นโรคเอ็นข้ออ่อนจะทำกินกรรมได้ไม่มากนัก เพราะกิจกรรมในวิชาพละจะเน้นการเคลื่อนไหว จึงอาจกระทบจิตใจเด็กๆ ด้วย

จุดสังเกตว่าลูกเราเป็นโรคนี้หรือเปล่า

  • เด็กเดินเองได้ไม่นานก็ร้องให้อุ้ม
  • เวลาเดินขาจะบิดเล็กน้อย (มีทั้งแบบบิิดเข้าด้านใน หรือบิดออกด้านนอก)
  • เด็กล้มบ่อย เดินเเล้วหกล้มง่ายมาก
  • มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติประมาณ 2-6 เดือน เมื่อเทียบกับเด็กปกติ
  • เด็กชอบนั่งพับขาเป็นรูป W
  • เวลาวิ่งสะโพกจะบิดไปบิดมา
  • ชอบเล่นตีลังกาม้วนตัว

วิธีรักษา

ถึงเเม้จะเป็นโรคที่ติดตัวมาตั้งเเต่เกิด เเต่ก็สามรถรักษาให้มีอาการดีขึ้นจนใช้ชีวิตปกติได้ ด้วยวิํิธีต่อไปนี้

  • ใช้อุปกรณ์เสริม เวลาที่ต้องเขียนหนังสือเด็กที่เป็นโรคเอ็นข้อหย่อนมักจับดินสอไม่ถูกวิธี จนเขียนออกมาไม่ดี เเละทำให้ถูกครูตำหนิ คุณพ่อคุณเเม่ควรหาอุปกรณ์เสริมให้ลูกที่เรียกว่า pencil grips มาเป็นตัวช่วยให้เด็กจับดินสอง่ายขึ้น
  • ปกป้องข้อเเละเอ็น พยายามอย่าให้เกิดการกระเทกที่บริเวณข้อต่อเเละเอ็น ถ้าทำกิจกรรมที่เสี่ยงก็ควรใส่อุปกรณ์ป้องกันช่วงข้อต่อไว้

  • ทำกิจกรรมเพิ่มความเเข็งของกล้ามเนื้อ ให้เด็กทำกิจกรรมที่ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อ โดยเลือกที่ไม่เกิดเเรงกระเเทกกับข้อต่อ เช่น ว่ายน้ำ ปั้นดินน้ำมัน รถน้ำต้นไม้แบบใช้กระบอกฉีดน้ำ บีบลูกบอล

  • ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  โรคนี้ทำร่างกายส่วนที่หย่อนจะรู้สึกเมื่อยมากกว่าส่วนอื่น เพราะต้องใช้กล้ามเนื้อมากกว่าปกติ เช่น ตอนจับดินสอ ตอนเดิน (สะโพกจะบิดมากกว่าปกติ) จึงต้องพยายามผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น นอนพัก อาบน้ำอุ่น

ถ้าพบว่าลูกมีอาการเข้าข่ายที่จะเป็นโรคเอ็นข้อหย่อนควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด เพราะถ้าตรวจเจอโรคตั้งเเต่ 2 ปีเเรก จะช่วยให้เด็กได้รับการรักษาที่ถูกวิธี เเละทำให้มีพัฒนาการได้ตามวัย ดีกว่าปล่อยไว้แบบไม่ได้รับการรักษา

ขอบคุณ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
gotoknow

 

 

Writer Profile : Mookky TCN

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
10 วิธี ฝึกลูกให้เข้มแข็ง
ไลฟ์สไตล์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save