อาการแพ้อาหารในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายอาการ บางคนแพ้นม บางคนแพ้ถั่ว แต่ก็มีอีกอาการที่พ่อแม่บางคนอาจจะยังไม่เคยรู้นั้นก็คือ “อาการแพ้ไข่” ซึ่งสร้างความกังวลใจไม่น้อยให้คุณพ่อคุณแม่เกี่ยวกับเรื่องอาหารการกินของลูกไปเลย เพราะเด็กๆ ต้องการอาหารที่ครบ 5 หมู่ในการสร้างร่างกายให้เจริญเติบโตสมวัย
วันนี้ Parents One จึงมาบอกวิธีดูแลเด็กๆ ที่มีอาการแพ้ไข่มาฝากกันค่ะ มาดูพร้อมกันเลยดีกว่าว่าเราต้องดูแลเด็กๆ ยังไง อาหารแบบไหนที่สามารถทดแทนได้บ้างไปดูกันเลยค่ะ
อาการแพ้ไข่คืออะไร
แพ้ไข่ (Eg Allergy) คืออาการแพ้อาหารชนิดหนึ่งที่คล้ายๆ กับการแพ้อาหารชนิดอื่นๆ การแพ้ไข่ในเด็กเป็นอาการที่จะเกิดขึ้นหลังจากเด็กๆ ได้รับประทานไข่หรืออาหารที่มีส่วนผสมของไข่ โดยเด็กๆ ที่แพ้อาจจะแสดงอาการหลังรับประทานไข่เพียงไม่กี่นาทีจนถึงเป็นชั่วโมงได้ ซึ่งแต่ละคนก็มีความรุนแรงที่แตกต่างกันค่ะ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ไข่ในเด็กหลักๆ ก็คือ
- เด็กมีการแพ้อาหารอื่นๆ ทำให้เกิดอาการแพ้ไข่ได้เช่นกัน
- พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีอาการแพ้ไข่ ทำให้เด็กมีอาการแพ้ได้ถึง 40%
อาการแพ้ไข่ในเด็ก
เด็กๆ ที่มีอาการแพ้ไข่มักแสดงอาการตั้งแต่อายุน้อยๆ โดยอาจจะมีอาการแพ้รุนแรงที่สุดในช่วงประมาณ 6-15 เดือน ซึ่งเด็กๆ อาจะจะเกิดปฏิกิริยาของผิวหนังหลังการสัมผัส มีอาการหน้าแดง หรือเกิดลมพิษบริเวณรอบปากได้ค่ะ
- ผิวหนังบวม ลมพิษ ผื่นแดง ผิวหนังอักเสบ
- ไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
- น้ำมูกไหล ไอ จาม คัดจมูก
- ปวดท้อง ท้องเสีย
- น้ำตาไหล คันตา ตาบวม
- จะเป็นลม วิงเวียนศีรษะ
- หัวใจเต้นเร็ว อาจเป็นอันตราย
- ถึงชีวิตได้
- คลื่นไส้ อาเจียน
การวินิจฉัยอาการ
คุณหมอจะประเมินโดยดูจากประวัติทางการแพทย์และหาสาเหตุด้วยวิธีต่างๆ คือ
- งดกินไข่และติดตามอาการ โดยให้พ่อแม่จดบันทึกการรับประทานอาหารของลูกในแต่ละวัน
- ทดสอบโดยให้รับประทานไข่ในปริมาณน้อย เพื่อดูปฏิกิริยา หากไม่มีอาการใดๆ คุณหมออาจให้รับประทานไข่ได้มากขึ้น แต่วิธีนี้ต้องได้รับการดูแลจากคุณหมออย่างใกล้ชิดด้วยนะคะ
- ทดสอบทางผิวหนัง (Skin Prick Test: SPT) โดยคุณหมอจะนำโปรตีนจากไข่มาวางไว้ที่ผิวหนังของเด็กที่ป่วย และใช้ปลายเข็มสะกิดผิวหนัง หากเด็กคนนั้นแพ้จะมีตุ่มนูนขึ้นมาในเวลา 15 นาที นั่นเองค่ะ
- ตรวจเลือด โดยการตรวจดูแอนติบอดีในกระแสเลือด (Serum Specific IgE)
หากแพ้ไข่ต้องทานอะไรแทน?
- เนื้อจากสัตว์ปีก
- เนื้อปลา
- เห็ด
- ถั่วต่างๆ
- ผักผลไม้
- ตับ
วิธีป้องกันเบื้องต้นหากรู้ว่าลูกแพ้ไข่
- อ่านฉลากอาหารให้ละเอียดทุกครั้งว่ามีส่วนประกอบของไข่หรือไม่
- แจ้งร้านอาหารทุกครั้งว่าเป็นโรคแพ้ไข่ เพราะห้ามปนเปื้อนหรือมีส่วนผสมเด็ดขาด
- รับประทานอาหารอื่นๆ ทดแทนไข่ เช่น เนื้อสัตว์ ถั่ว และธัญพืชอื่นๆ
- แจ้งคนรอบตัวให้ทราบถึงการแพ้ของลูก เช่น โรงเรียน คุณครู พี่เลี้ยง
- หากแม่ยังให้นมลูกอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานไข่ เพราะสามารถส่งต่อโปรตีนจากไข่ผ่านน้ำนมแม่ได้
- หากมีอาการไม่รุนแรงสามารถรับประทานยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการได้
- หากมีอาการรุนแรงต้องรีบรับยาฉีดอิพิเนฟริน และรีบไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด
อ้างอิงจาก : pobpad, thaichildcare, story.motherhood.co.th, hd.co.th