กว่า 2 ปีแล้วที่ภาพเด็กเล็กสะพายกระเป๋าไปโรงเรียน หัวเราะสนุกสนานกับเพื่อนๆ ถูกแทนที่ด้วยภาพเจ้าตัวน้อยใช้เวลาทั้งวันเรียนหน้าจอ อุดอู้ในบ้านไม่ได้ออกไปไหน
แม้การเรียนออนไลน์จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดแล้วในสถานการณ์โรคระบาดครั้งยิ่งใหญ่ แต่ทราบไหมคะว่า การเรียนออนไลน์มีผลกระทบหลายด้านกว่าที่เราคิด โดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ
วันนี้เรามาย้อนมองผลกระทบจากการเรียนออนไลน์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมลูกรักกลับสู่โลกกว้างอีกครั้งหนึ่งไปด้วยกันนะคะ
เด็กวัยอนุบาลที่ไม่ได้ไปโรงเรียนสูญเสียการเรียนรู้ถึง 98% เมื่อเทียบกับวันที่ไปโรงเรียนปกติ มีภาวะการเรียนรู้ถดถอย พัฒนาการไม่เป็นไปตามวัย
นอกเหนือไปจากผลกระทบด้านการเรียนรู้ ก็ยังมีผลกระทบอีกหลายด้าน ดังนี้เลยค่ะ
ผลกระทบด้านร่างกาย
- เมื่อยล้า ปวดตามร่างกาย
- ปวดหัว
- ปวดตาจากการจ้องหน้าจอมากเกินไป
- เสี่ยงสายตาสั้น
- น้ำหนักเกินจากการไม่ได้ขยับตัว
- ขาดการออกกำลังกาย
- รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
ผลกระทบด้านจิตใจและพฤติกรรม
- เครียด
- เบื่อหน่าย ไม่มีแรงจูงใจในการเรียน
- สมาธิสั้น
- ก้าวร้าว แสดงออกด้วยพฤติกรรมรุนแรง
- เสพติดสื่อออนไลน์ เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมไม่ดีต่างๆ
ผลกระทบด้านสังคม
- ขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
- ขาดทักษะการเข้าสังคมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ขาดระเบียบวินัย
ผลกระทบต่างๆ เหล่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องในระยะยาว ผู้ปกครองทุกท่านควรหมั่นสังเกตพฤติกรรม และช่วยเหลือเด็กๆ ปรับตัวกลับสู่สถานการณ์ปกติตามวิธีด้านล่างได้เลยค่ะ
เตรียมพร้อมลูกรักกลับสู่โรงเรียน
- รับฟังความรู้สึก : พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับการเปิดเรียน พ่อแม่เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลกับลูกมาก ยิ่งเราใช้เวลาอยู่กับเขา เป็นที่พึ่งพาทางใจให้เขา เด็กจะยิ่งมีความมั่นคง และพร้อมกลับไปเรียนมากขึ้นค่ะ
- ให้เวลาลูกปรับตัว : ให้เวลากับเขาสักนิดนะคะ ใช้วิธีการแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่บังคับ เพราะมีแต่จะทำให้เด็กไม่อยากไปโรงเรียนมากขึ้นไปอีก
- วางแผนกิจวัตรประจำวัน : จัดตารางกิจวัตรประจำวันให้ลูกทำตามอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ มีระเบียบวินัยโดยธรรมชาติ และไม่ว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนไปไปอย่างไร เด็กก็จะสามารถปรับตัวได้ดี และควบคุมตัวเองได้ค่ะ
- ฝึกการคิดยืดหยุ่น พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา : วันนี้มีการผ่อนคลายความเข้มงวด เปิดให้เด็กๆ กลับไปเรียน ในวันพรุ่งนี้ อาจต้องกลับไปเรียนออนไลน์อีกครั้ง เพราะฉะนั้นควรฝึกฝนเด็กๆ ให้มีความยืดหยุ่น เช่น การบอกกับลูกเสมอว่าสถานการณ์อาจมีการเปลี่ยนแปลง ลูกจะได้ไม่มีความรู้สึกสับสน หรือตื่นกลัวตามมา
อ้างอิงจาก