fbpx

รู้ทันโรค วางแผนดูแลสุขภาพลูกตามฤดูกาล

Writer : Mneeose
: 30 มกราคม 2562

โรคต่างๆ ที่เด็กมักเป็นส่วนใหญ่มีสาเหตุจากสภาพแวดล้อม หรือฤดูกาลที่กำลังใกล้เข้ามา ทั้งลมหนาวและฝุ่นละอองต่างๆ คุณพ่อคุณแม่อย่างเราจึงต้องรู้ทันโรคที่สามารถเกิดขึ้นกับลูกได้เสมอ เมื่อฤดูกาลเปลี่ยน การวางแผนดูแลสุขภาพลูกตามฤดูกาลนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะลูกกำลังอยู่ในช่วงเติบโตและมีพัฒนาการในทุกๆ วัน หากเราละเลยก็จะทำให้ลูกหมดสนุกในวัยของเขานั่นเองค่ะ

โรคที่พบบ่อยในฤดูหนาว (กลางเดือนตุลาคม – กลางเดือนกุมภาพันธ์)

ฤดูหนาวเป็นช่วงที่อุณหภูมิลดลง อากาศแห้งและเย็นมากกว่าปกติ ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ง่าย ลูกน้อยก็อาจเสี่ยงเป็นโรคได้นั่นเองค่ะ จะมีโรคอะไรบ้างที่คุณพ่อคุณแม่ควรป้องกันไปดูกันเลยค่ะ

  • ไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดธรรมดา เกิดจาก เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ แต่ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่
อาการ :  มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ไอ ไม่มีแรง
การดูเเลเบื้องต้น
 : ให้ลูกนอนพักผ่อนเยอะ ๆ ดื่มน้ำบ่อย ๆ ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัว กินยาลดไข้ ถ้าใน 2-7 วัน ยังไม่ดีขึ้น ให้รีบพาไปพบแพทย์ค่ะ

  • ปอดบวม

อาการ :  เริ่มมีอาการไอ แน่นหน้าอก ไข้สูง และหายใจหอบ เป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตถึงอาการหอบได้ โดยนับอัตราการหายใจ หากผู้ป่วยมีอัตราการหายใจเร็วกว่าปกติตามเกณฑ์อายุ และมีอาการไม่กินนม หายใจแรง ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กมาพบแพทย์ทันที
การดูเเลเบื้องต้น
 : พาลูกไปพบแพทย์ เพื่อให้สารน้ำ (หรือน้ำเกลือ) ให้เพียงพอ หรือให้ยาขยายหลอดลม

  • โรคหัด

อาการ :  มีไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง มีผื่นขึ้นภายหลังมีไข้ประมาณ 4 วัน จากนั้นผื่นจะกระจายทั่วตัว โดยผื่นจะจางหายไปภายใน 2 สัปดาห์ 
การดูเเลเบื้องต้น
 : ควรแยกเด็กที่ป่วยเป็นหัดออกจากเด็กอื่น ๆ ประมาณ 1 สัปดาห์ค่ะ

  • หัดเยอรมัน

อาการ :  โรคนี้เป็นได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็กเล็ก มีอาการไข้ ออกผื่นคล้ายโรคหัด (บางรายอาจไม่มีผื่นขึ้น) 
การดูเเลเบื้องต้น
 : รักษาตามอาการก่อน เช่น กินยาลดไข้ ถ้าคันทายาแก้ผดผื่นคัน โดยทั่วไปมักจะหายภายใน 3-5 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์ค่ะ

  • อีสุกอีไส

อาการ :  เริ่มด้วยไข้ต่ำ ๆ ต่อมาจะมีผื่นแดง ตุ่มนูนขึ้นทั่วตัว แล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มพองใสหลังมีไข้ 2-3 วัน จากนั้น ประมาณ 5-20 วัน ตุ่มจะเป็นหนองและแห้งตกสะเก็ดหลุดออกเองค่ะ
การดูเเลเบื้องต้น
 : ควรหยุดเรียนประมาณ 1 สัปดาห์ เด็กเล็กที่ป่วยควรตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการอักเสบจากการเกาผื่นค่ะ

  • อุจจาระร่วง

อาการ :  ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า โรต้าไวรัส มักเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ติดต่อโดยการดื่มน้ำ หรือกินอาหารที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อน และมีอาการถ่ายเหลวบ่อยครั้ง
การดูเเลเบื้องต้น
 : ควรให้กินอาหารเหลวชดเชย เช่น น้ำข้าวต้ม น้ำแกงจืด นมแม่ หรือผสมนมผงให้เจือจางลงครึ่งหนึ่งจนกว่าอาการจะดีขึ้น ส่วนใหญ่จะดีขึ้นใน  8-12 ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้นต้องรีบพาไปพบแพทย์เลยนะคะ

  • โนโรไวรัส

อาการ อาเจียนรุนแรง ปวดมวนท้อง ท้องเสีย ไข้ต่ำๆ อาการรุนแรงในเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุอาจก่อให้เกิดการขาดน้ำได้
การดูเเลเบื้องต้น
 :  ให้ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ หรือเครื่องดื่มสูตรพิเศษเพื่อเพิ่มระดับน้ำในร่างกาย วิธีจัดการกับปัญหาที่ดีที่สุด คือ การพักผ่อน และดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

  • มือ เท้า ปาก

อาการมีไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว 
การดูเเลเบื้องต้น
 : เนื่องจากในปัจจุบันโรคมือเท้าปากยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ การรักษาจึงเป็นการรักษาอาการทั่วๆ ไปตามแต่อาการของผู้ป่วย เช่น เช็ดตัวหรือกินยาลดไข้ เน้นทานอาหารเหลว และดื่มน้ำเยอะๆ

  • ตากุ้งยิง

อาการ :  ปวดหนังตา และมีอาการบวมแดงที่เปลือกตา คล้ายๆ มีตุ่มหนองที่ตา
การดูเเลเบื้องต้น : ประคบร้อนที่บริเวณดวงตา พร้อมกับนอนพักผ่อนให้เยอะๆ หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยามากินเอง

  • ภูมิแพ้

อาการมีผื่นคันที่บริเวณผิวหนังต่างๆ ของร่างกาย เมื่อเราไปกินหรือไปสัมผัสกับสิ่งที่แพ้ มีน้ำมูก ร่วมกับอาการจาม คัน เคืองตา  ไอ หอบหายใจไม่สะดวก
การดูเเลเบื้องต้น : อยู่ให้ห่างจากสิ่งที่ลูกแพ้ และพาลูกไไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี

 

โรคที่พบบ่อยในฤดูร้อน (กลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคม)

ฤดูร้อน สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดในประเทศไทย คงจะหนีไม่พ้น อากาศที่แสนร้อน ร้อนอบอ้าว ร้อนจนแสบผิว ซึ่งเป็นการทำลายผิวหนังของลูกๆ และทำให้เกิดอีกหลายๆ โรคตามมา ไปดูกันค่ะว่าจะมีโรคอะไรบ้างที่พบบ่อยในฤดูร้อน

  • อหิวาตกโรค

อาการ :  กินอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรีย ทำให้มีการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำคราวละมากๆ โดยไม่มีอาการปวดท้อง และมีอาการขาดน้ำอย่างรวดเร็ว อาจเกิดภาวะช็อกหมดสติ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงตายได้
การดูเเลเบื้องต้น
 : ดื่มน้ำเกลือผง สลับกับน้ำต้มสุก ถ้าเป็นเด็กเล็กควรปรึกษาแพทย์ค่ะ

  • อาหารเป็นพิษ

อาการ กินอาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ กระเพาะอาหารและลำไส้เกิดการอักเสบ ทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระ
การดูเเลเบื้องต้น
 : พยายามให้ลูกถ่ายพิษออกให้หมด แต่ถ้าลูกไม่ไหวให้กินเกลือแร่แล้วนอนพักผ่อน

  • โรคบิด

อาการ :  กินผักดิบหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค อุจจาระมีมูกหรือมูกปนเลือด มีไข้ ปวดท้องแบบปวดเบ่ง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้สูง
การดูเเลเบื้องต้น
 : เลือกอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย ดื่มน้ำที่สะอาด .เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลงวัน หนู หรือสัตว์อื่นๆ

  • ไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย

อาการมีไข้ ปวดหัว เมื่อย เบื่ออาหาร อาจท้องผูกหรือท้องเสีย มีเชื้อปนออกมากับอุจจาระและปัสสาวะ เป็นพาหะนำโรคได้
การดูเเลเบื้องต้น
 : ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ แต่รายที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับไข้ไทฟอยด์

  • ไวรัสตับอักเสบ A

อาการ :  มีไข้อ่อน ๆ (มักต่ำกว่า 39 องศาเซลเซียส) รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่สบาย ปวดหัว ไอ เจ็บคอ ไม่อยากอาหาร ท้องผูก หรือท้องร่วง ปวดบริเวณท้องขวาบน ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อ อาจมีผื่นลมพิษมีผดผื่นคัน
การดูเเลเบื้องต้น : ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการที่เด็ดขาดในการรักษาไวรัสตับอักเสบ เอ แต่จะเป็นการรักษาตามอาการที่ปรากฏ โดยอาการป่วยจะทุเลาลงและค่อย ๆ ฟื้นตัวภายในเวลาประมาณ 2 เดือน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เพิ่มเติม

  • โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน

อาการ มีผดผื่นขึ้นตามร่างกาย และเกิดอาการคันเป็นตุ่มตามมา รอยแดงตามมา เพราะเกิดจากการไม่รักษาความสะอาดที่ผิวหนังนั่นเองค่ะ
การดูเเลเบื้องต้น
 : ทายาแพ้ผดผื่น เมื่อเริ่มมีอาการ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อย่าปล่อยให้โรคลุกลาม ยาที่ใช้รักษาอาจจะใช้ทั้งยาทาและยากินร่วมกันขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ที่รักษา สำหรับยาทาเฉพาะที่ แพทย์จะให้ยาชนิดที่เหมาะกับสภาพของผื่น

  • ลมแดด (Heat Stroke)

อาการกระหายน้ำมาก  ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ หายใจเร็ว อ่อนเพลียและเบื่ออาหาร ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ความดันต่ำ
การดูเเลเบื้องต้น
 :  เมื่อเป็นลมแดดให้นอนราบ และยกเท้าทั้ง 2 ข้างขึ้น และถอดเสื้อผ้าออก จากนั้นให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็ง แล้วประคบตามตัว นำพัดลมมาเป่า เพื่อระบายความร้อน แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

  • โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ

อาการ :  ติดต่อได้ทั้งการโดนกัด หรือถูกเลียบริเวณที่มีแผลถลอก โรคนี้ยังไม่มียารักษาทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตทุกราย หลังแสดงอาการ จึงต้องรีบให้วัคซีนทันทีเมื่อได้รับเชื้อ
การดูเเลเบื้องต้น
 : การล้างแผลด้วยน้ำและสบู่อย่างหมดจดทันทีเมื่อรับเชื้อ (ภายใน 5 นาที) จะช่วยลดเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้นให้ไปพบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันค่ะ

 

โรคที่พบบ่อยในฤดูฝน (กลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนตุลาคม)

เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง ก็อาจจะทำให้ลูกของเราเจ็บป่วยได้ง่ายเช่นกันค่ะ เพราะมักจะมีการแพร่ของเชื้อโรคเต็มไปหมดในอากาศที่เรามองไม่เห็นนั่นเอง

  • ท้องเสีย 

อาการ :  ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระ ซึ่งมีหลายระดับด้วยกัน
การดูเเลเบื้องต้น
 :  พยายามให้ลูกถ่ายพิษออกให้หมด แต่ถ้าลูกไม่ไหวให้กินเกลือแร่แล้วนอนพักผ่อน

  • ไข้เลือดออก

อาการ :  ยุงลายจะเพาะพันธุ์ได้ดี ในหน้าฝน หากใครมีไข้สูงมาก ไข้ไม่ยอมลด เบื่ออาหาร รู้สึกอ่อนเพลีย เซื่องซึมให้รีบไปพบแพทย์ หากมีอาการรุนแรง คือเลือดออกผิดปกติ มือเท้าเย็น หรือช็อคได้ค่ะ
การดูเเลเบื้องต้น
 : ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อรักษาไข้

  • เยื่อตาอักเสบ (ตาแดง)

อาการ :  บริเวณตาขาวข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างกลายเป็นสีชมพูหรือสีแดง ปวดตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง โดยอาการปวดนั้นรวมถึงอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน หรือความรู้สึกระคายเคืองตา มีหนอง หรือของเหลวใสจากตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ซึ่งอาจทำให้เปลือกตาบนและล่างติดกันเวลาตื่นนอนตอนเช้า เปลือกตาบวม มีน้ำตาไหลมากผิดปกติ ตาแพ้แสง
การดูเเลเบื้องต้น : ใช้ยาหยอดตาหรือยาป้ายตาที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวินะ โดยทั่วไปมักเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นภายใน 3-4 วัน หรือใช้การประคบร้อน หรือประคบเย็น อาจช่วยบรรเทาอาการได้บ้าง

  • มือ เท้า ปาก 

อาการ :  มีไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว 
การดูเเลเบื้องต้น
 : เนื่องจากในปัจจุบันโรคมือเท้าปากยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ การรักษาจึงเป็นการรักษาอาการทั่วๆ ไปตามแต่อาการของผู้ป่วย เช่น เช็ดตัวหรือกินยาลดไข้ เน้นทานอาหารเหลว และดื่มน้ำเยอะ

  • ไข้หวัดใหญ่

อาการ :  มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ไอ ไม่มีแรง
การดูเเลเบื้องต้น :
ให้ลูกนอนพักผ่อนเยอะ ๆ ดื่มน้ำบ่อย ๆ ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัว กินยาลดไข้ ถ้าใน 2-7 วัน ยังไม่ดีขึ้น ให้รีบพาไปพบแพทย์ค่ะ

  • ปอดบวม

อาการ :  เริ่มมีอาการไอ แน่นหน้าอก ไข้สูง และหายใจหอบ เป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตถึงอาการหอบได้ โดยนับอัตราการหายใจ หากผู้ป่วยมีอัตราการหายใจเร็วกว่าปกติตามเกณฑ์อายุ และมีอาการไม่กินนม หายใจแรง ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กมาพบแพทย์ทันที
การดูเเลเบื้องต้น
 : พาลูกไปพบแพทย์ เพื่อให้สารน้ำ (หรือน้ำเกลือ) ให้เพียงพอ หรือให้ยาขยายหลอดลม

  • โรคฉี่หนู

อาการ :  มีไข้สูง ปวดตามตัว โดยเฉพาะน่อง และมีอาการเบื่ออาหาร อาจมีอาการรุนแรง เช่น ดีซ่าน ไตวาย หรือช็อคได้ โรคนี้เกิดที่บริเวณที่มีนํ้าขัง ผู้ป่วยจะได้รับเชื้อโรคจากมูลหนูที่ขังในนํ้า ผ่านทางผิวหนังที่เป็นแผล 
การดูเเลเบื้องต้น
 : รีบไปพบแพทย์ ควรได้รับยาภายใน 4-7 วันหลังเกิดอาการ และควรได้รับน้ำและเกลือแร่อย่างเพียงพอ

  • ผิวหนังอักเสบ

อาการ :  น้ำฝนที่ขังตามพื้นถนน เป็นแหล่งของเชื้อโรคหากโดนตัวเราจะทำให้เกิดแผลติดเชื้อ เชื้อรา คันตุ่มหนองและฝีได้ ควรล้างมือ ล้างเท้าบ่อยๆ หลังจากกลับเข้าบ้าน  แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

  • ระยะเฉียบพลัน จะมีลักษณะเป็นรอยแดง บวม ต่มแดง ตุ่มน้ำ มีน้ำเหลืองซึม ลอกเป็นขุย และตกสะเก็ด
  • ระยะเรื้อรัง จะมีลักษณะเป็นรอยหนา ผิวด้าน ลอกเป็นขุย มีอาการคันเรื้อรัง

การดูเเลเบื้องต้น : ทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างแผลหรือน้ำเกลือที่บริเวณตุ่มหนอง หรือแผลผุพองมีน้ำเหลือง โดยใช้ผ้าพันแผล หรือผ้าขาวบางพันประมาณ 3-4 ชั้น ชุบน้ำยาประคบผื่นไว้ 20 นาที วันละ 2 ครั้ง หลังการชะล้างซับให้แห้ง เมื่อผื่นพุพองแห้งแล้วให้หยุดประคบ มิฉะนั้นจะทำให้ผิวแห้งและตึงเกินไป เมื่อแห้งดีแล้วให้ทาครีมหรือขี้ผึ้งคอร์ติโคสเตียรอยด์จนกว่าจะหายดี

ในการป้องกันโรคในฤดูฝน ทำได้โดยออกกำลังกายสม่ำเสมอ สวมเสื้อผ้ารักษาร่างกายให้อบอุ่น เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค โดยเฉพาะเด็กกับผู้สูงอายุควรดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง หนาวเย็น จะทำให้ร่างกายที่มีระดับภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าคนวัยอื่น ๆ อยู่แล้วต่ำลงไปอีก จึงมีโอกาสติดเชื้อโรคทางเดินหายใจได้ง่าย ควรดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้ม รับประทานอาหารที่สะอาดปรุงสุกใหม่ ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง และควรใช้ช้อนกลางทุกครั้ง รวมทั้งการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูล: pr.prd.go.th
ข้อมูลโดย : แพทย์โรงพยาบาลเพชรเวช

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ป้อนข้าวลูกยังไงให้ทานได้เยอะ?
ข้อมูลทางแพทย์
ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
วิธีการสอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวัง
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save