fbpx

ในการแข่งขันที่สูง เด็กวัย 5 ขวบ ควรอ่านออกเขียนได้จริงหรือ?

Writer : Jicko
: 9 กันยายน 2564

เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่พ่อแม่หลายคนกังวลใจอย่างมาก เกี่ยวกับเรื่องการอ่านหนังสือของเด็กๆ วัย 5 ขวบ ที่เรียกได้ว่าย่างเข้าชั้นวัยประถมกันแล้ว บางครั้งก็เห็นข่าวว่าเด็กวัยนี้ถูกคุณครูตี เพียงเพราะอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ ทำให้เป็นที่สงสัยนะคะว่า จริงๆ แล้วเด็กๆ วัยนี้หรือเรียกว่าวัยก่อนเรียน ตามหลักแล้วเขาควรเรียนตามตำราอย่างจริงจัง หรือควรพัฒนาทักษาอื่นๆ เป็นหลักกันแน่ วันนี้เราจะพาไปดูกันค่ะ

การเขียนการอ่านเป็นอีกหนึ่งทักษะที่ต้องอาศัยพัฒนาการตามวัย ซึ่งพ่อแม่หลายๆ คนมักบังคับลูก หรือเร่งเร้าเกินไป ซึ่งอาจไม่ถึงวัยที่เด็กจะได้รับ ทำให้เกิดการ “ต่อต้าน” เนื่องจากพอเขาทำไม่ได้เราก็ดุ หรือบังคับ ซึ่งจริงๆ แล้วเด็กแต่ละวัยจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันตามวัย มาดูกันเลยค่ะว่าแต่ละวัยนั้นต้องเป็นอย่างไร

อายุ 2-3 ปี

ด้านการอ่าน : สามารถเล่นนิทานจากรูปหรือหนังสือง่ายๆ ได้  สามารถพูดเป็นประโยคที่สมบูรณ์โดยใช้คำ 3-5 คำ

ด้านการเขียน : จับดินสอขีดเส้นต่างๆ แบบยุ่งๆ ไร้ทิศทาง

อายุ 3-4 ปี

ด้านการอ่าน : มีความสนใจเสียงต่างๆ โดยเฉพาะ “คำคล้องจอง (rhyme) ที่มีในเพลง สามารถบอกตัวอักษรได้ 10 ตัว โดยเฉพาะชื่อของตัวเอง

ด้านการเขียน : เขียนอย่างมีทิศทาง สามารถเขียนตามรอยเส้นประ แต่ยังบิดเบี้ยวอยู่

อายุ 4-5 ปี

ด้านการอ่าน : สามารถเล่าเรื่องและอธิบายรายละเอียดได้มากขึ้น รู้จักตัวเลขและตัวอักษะ

ด้านการเขียน : พยายามเขียนคำที่ได้ฟัง แต่มักจะสะกดไม่ถูกต้อง

เทคนิคกระตุ้นให้ลูกมีทักษะการอ่านและเขียนที่ดี

1. เริ่มจากเขียนชื่อตัวเองก่อน : เริ่มจากเราเขียนให้ลูกดูบ่อยๆ และฝึกให้เขาเขียนตามในช่วงแรก แล้วค่อยๆ เปลี่ยนไปชื่อพ่อกับแม่ ฝึกให้เขาอ่านออกเสียงทั้งตัวอักษะ และวรรณยุกต์ต่างๆ

2. ใช้ Flash Card : เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ ที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ เพราะด้วยสีสัน ภาพประกอบ สามารถสร้างการจดจำให้กับเด็กๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น

3. ชี้ชวนลูกดูหรืออ่านทุกครั้ง : เมื่อพ่อแม่เห็นคำไหนที่เคยสอนลูกไป หรือจะเป็นคำศัพท์ใหม่ๆ ให้พยายามชี้ชวนให้ลูกดู ชวนกันอ่านทุกครั้ง หรือพวกป้ายโฆษณาหรือแม้แต่กล่องนมที่ลูกถือ ก็ชี้ชวนให้เขาดูหรืออ่าน เพื่อให้เขาจดจำได้ง่ายขึ้นเช่นกันค่ะ

4. หานิทานเล่มที่ลูกชอบ : เด็กๆ มักจะจดจำหรือเรียนรู้ได้ในขณะที่มีความสุขหรือไม่กดดัน การเล่านิทานจึงช่วยให้เขาจดจำได้ ในขณะที่พ่อแม่เองต้องคอยบอกคอยสอนจากหนังสือนิทานนั่นแหละค่ะ พยายามแปลงร่างเป็นแบบฝึกหัดขนาดย่อมที่สนุก จะทำให้เขาเรียนรู้ได้มากกว่านั่นเอง

5. ลูกเบื่อแล้ว พ่อแม่ต้องไม่บังคับ ในทางตรงข้ามหากลูกแสดงความชอบมาก ให้เราอ่านหรือสอนลูกให้ได้เท่าที่เวลาเอื้ออำนวยสำหรับเด็กๆ

 

ยังไงก็ตามการฝึกก็ต้องย่อมอาศัยเวลาในการฝึกฝนเป็นธรรมดา หากคุณพ่อคุณแม่หวังว่าจะสอนวันเดียวแล้วลูกรู้เลยคงเป็นไปไม่ได้นะคะ เราเองต้องดูช่วงวัยของเขาด้วยว่าพร้อมรับสิ่งที่เราป้อนหรือไม่ พยายามอย่ากดดันเขา ให้กำลังใจเขา ไม่รีบไม่เร่งจนเกินไป ให้เขาได้พัฒนาอย่างสมวัยตามกิจกรรมที่เหมาะสมจะดีกว่านะคะ

อ้างอิงจาก : Dad Mom and Kidskroobannok

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
กำลังใจที่ไม่เคยสังเกต
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save