โรคประจำถิ่นอย่างโรคไข้เลือดออกยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ข้อมูลตั้งแต่วันที่ จากรายงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 24 สิงหาคม 2563 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว 47,738 ราย เสียชีวิต 32 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15-24 ปี รองลงมาคือ 10-14 ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับ
โดยอาการของโรคจะมี 3 ระยะคือ
- ระยะแรก เป็นไข้สูงฉับพลัน 38-41 องศา และสูงลอยเกิน 2 วัน ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน อาจมีผื่น หน้าแดง ปวดท้อง หรือท้องเสีย มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด แต่มักจะไม่มีน้ำมูกและไม่ไอ ใช้เวลา 2-7 วัน
- ระยะที่สอง โดยหากมีภาวะช็อกจะมีอาการมือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็วกระสับกระส่าย ความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะออกน้อย ถ้าเป็นเด็กเล็กจะสังเกตได้จากเด็กอาจซึมลง ทานอาหารได้น้อย
- ระยะที่สาม ระยะฟื้นตัว ชีพจรเต้นดีขึ้น กินข้าวได้ ปัสสาวะดี อุณหภูมิกลับมาเป็นปกติที่ 37 องศาก็แสดงว่าหายเป็นปกติ
สำหรับวิธีการป้องกันคือใช้มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ดังนี้
- เก็บบ้านให้สะอาด เช่น พับเก็บเสื้อผ้าใส่ในตู้หรือแขวนให้เรียบร้อย
- เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้านเก็บภาชนะใส่อาหารหรือน้ำดื่มที่ทิ้งไว้ใส่ถุงดำ และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
- เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำเพื่ออุปโภค บริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ และเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่
ทั้งนี้หากลูกมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีจุดแดงที่ผิวหนัง ตับโต อาจกดเจ็บบริเวณชายโครงขวา ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อรับการวินิจฉัยโรคและรับการรักษา หากมีอาการรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกอาจเสียชีวิตได้
อ้างอิงจาก