Parents One

ทันโรคไข้เลือดออก รู้ก่อนป้องกันได้

โรคไข้เลือดออกในเด็กถือว่าเป็นโรคที่น่ากลัวอีกโรคหนึ่งซึ่ง โรคไข้เลือดออกนี้มาพร้อมกับฤดูฝนและน้ำขัง ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายนั้นเอง  ซึ่งเมื่อติดเชื้อ จะมีอาการแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน ซึ่งผู้ปกครองครัวเฝ้าระวัง ไม่ควรละเลย อาการป่วยของเด็กๆ เลย เพราะเจ้าโรคนี้มีความอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ ไม่ควรปล่อยให้เด้กๆ โดยยุงลายกัด โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนหรือช่วงที่มันกำลังระบาดนั้นเอง วันนี้เรามาทำความรู้จักเจ้าโรคนี้กัน ว่ามีอาการอย่างไร และมีวิธีดูแลรักษากันอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

โรคไข้เลือดออกคืออะไร

ไข้เลือดออก คือโรคซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) อาการของโรคคล้ายๆ กับโรคไข้หวัดในช่วงแรก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าลูกเป็นเพียงไข้หวัดเท่านั้น จึงทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในทันทีนั้นเอง ซึ่งอาการและความรุนแรงของโรคมีหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการ ไปจนถึงเกิดภาวะซ็อก ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตลงได้นั้นเองค่ะ

 

โรคนี้ติดต่อกันอย่างไร

เกิดจากยุงที่เป็นพาหะ ที่มีชื่อว่า Aedes aegypti โดยเจ้ายุงชนิดนี้จะออกหากินตอนกลางวัน จากนั้นจะกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่จากผู้ที่กำลังป่วยเป็นไข้เลือดออก เมื่อยุงลายไปกัดคนใหม่ ก็จะถ่ายทอดเชื้อให้กับคนที่ถูกยุงกัดต่อไปเรื่อยๆ  โดยยุงชนิดนี้อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น  ซึ่งประเทศไทยก็เป็นอีกบริเวณหนึ่งที่มีการระบาดของโรคนี้ค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน  และพบการระบาดที่สุดในฤดูฝน ช่วงอายุของคนที่พบว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด คือ อายุ 10 – 14 ปี , 15 – 24 ปี และอายุ 5- 9 ปี ตามลำดับ  ส่วนช่วงอายุ 0 – 4 ปี และมากกว่า 25 ปีจนถึง 65 ปี เป็นช่วงอายุที่พบว่าเป็นไข้เลือดออกน้อยที่สุด

 

ไข้เลือดออก แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

เมื่อเด็กๆ ป่วยเป็นไข้เลือดออก จะมีอาการที่แสดงออกมา 3 ระยะ ซึ่งอาการเหล่านี้จะสามารถแบ่งบอกได้ว่าเด็กๆ อาจจะกำลังป่วยเป็นไข้เลือดออกก็ได้นะคะ

ระยะนี้ถึงแม้จะกินยาลดไข้ หรือเช็ดตัวแล้วไข้ก็ยังไม่ลด  เนื้อตัวและใบหน้า มักจะแดงกว่าปกติ  บางคนอาจจะมีเยื่อบุตาอักเสบ หรือ มีผื่นขึ้น  มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง  และพบว่ามีจุดเลือดออกตามผิวหนัง  หรือบางคนก็อาจจะมีเลือดกำเดาออก

หลังจากระยะไข้สูงระยะหนึ่งแล้ว ไข้จะลดอย่างรวดเร็ว ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในกรณีที่รุงแรงมาก ผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการช็อกได้ และควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันทีค่ะ

จะมีอาการโดยทั่วไปดีขึ้น  ผู้ป่วยจะเจริญอาหารมากขึ้น  บางรายอาจจะพบผื่นตามร่างกาย บริเวณ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เรียกว่าผื่นพักฟื้น  มีการปัสสาวะออกมากขึ้น ซึ่งเป็นการบอกว่าร่างกายจะกลับสู่ภาวะปกติ  ระยะนี้หมอจะเร่ิมหยุดการให้สายน้ำต่างๆ เพื่อป้องกันการแทรกซ้อนจากภาวะน้ำเกิน

 

การรักษา

การรักษาโรคนี้ จึงเป็นการรักษาตามอาการเป็นสำคัญ นั้นก็คือการใช้ยาลดไข้ เช็ดตัว และการป้องกันภาวะช็อกนั้นเอง

 

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

ที่มา : pharmacymahidolkasemrad, konthong