fbpx

ทันโรคไข้เลือดออก รู้ก่อนป้องกันได้

Writer : Jicko
: 8 พฤศจิกายน 2561

โรคไข้เลือดออกในเด็กถือว่าเป็นโรคที่น่ากลัวอีกโรคหนึ่งซึ่ง โรคไข้เลือดออกนี้มาพร้อมกับฤดูฝนและน้ำขัง ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายนั้นเอง  ซึ่งเมื่อติดเชื้อ จะมีอาการแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน ซึ่งผู้ปกครองครัวเฝ้าระวัง ไม่ควรละเลย อาการป่วยของเด็กๆ เลย เพราะเจ้าโรคนี้มีความอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ ไม่ควรปล่อยให้เด้กๆ โดยยุงลายกัด โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนหรือช่วงที่มันกำลังระบาดนั้นเอง วันนี้เรามาทำความรู้จักเจ้าโรคนี้กัน ว่ามีอาการอย่างไร และมีวิธีดูแลรักษากันอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

โรคไข้เลือดออกคืออะไร

ไข้เลือดออก คือโรคซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) อาการของโรคคล้ายๆ กับโรคไข้หวัดในช่วงแรก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าลูกเป็นเพียงไข้หวัดเท่านั้น จึงทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในทันทีนั้นเอง ซึ่งอาการและความรุนแรงของโรคมีหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการ ไปจนถึงเกิดภาวะซ็อก ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตลงได้นั้นเองค่ะ

 

โรคนี้ติดต่อกันอย่างไร

เกิดจากยุงที่เป็นพาหะ ที่มีชื่อว่า Aedes aegypti โดยเจ้ายุงชนิดนี้จะออกหากินตอนกลางวัน จากนั้นจะกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่จากผู้ที่กำลังป่วยเป็นไข้เลือดออก เมื่อยุงลายไปกัดคนใหม่ ก็จะถ่ายทอดเชื้อให้กับคนที่ถูกยุงกัดต่อไปเรื่อยๆ  โดยยุงชนิดนี้อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น  ซึ่งประเทศไทยก็เป็นอีกบริเวณหนึ่งที่มีการระบาดของโรคนี้ค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน  และพบการระบาดที่สุดในฤดูฝน ช่วงอายุของคนที่พบว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด คือ อายุ 10 – 14 ปี , 15 – 24 ปี และอายุ 5- 9 ปี ตามลำดับ  ส่วนช่วงอายุ 0 – 4 ปี และมากกว่า 25 ปีจนถึง 65 ปี เป็นช่วงอายุที่พบว่าเป็นไข้เลือดออกน้อยที่สุด

 

ไข้เลือดออก แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

เมื่อเด็กๆ ป่วยเป็นไข้เลือดออก จะมีอาการที่แสดงออกมา 3 ระยะ ซึ่งอาการเหล่านี้จะสามารถแบ่งบอกได้ว่าเด็กๆ อาจจะกำลังป่วยเป็นไข้เลือดออกก็ได้นะคะ

  • ระยะไข้สูง

ระยะนี้ถึงแม้จะกินยาลดไข้ หรือเช็ดตัวแล้วไข้ก็ยังไม่ลด  เนื้อตัวและใบหน้า มักจะแดงกว่าปกติ  บางคนอาจจะมีเยื่อบุตาอักเสบ หรือ มีผื่นขึ้น  มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง  และพบว่ามีจุดเลือดออกตามผิวหนัง  หรือบางคนก็อาจจะมีเลือดกำเดาออก

  • ระยะวิกฤติ

หลังจากระยะไข้สูงระยะหนึ่งแล้ว ไข้จะลดอย่างรวดเร็ว ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในกรณีที่รุงแรงมาก ผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการช็อกได้ และควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันทีค่ะ

  • ระยะพักฟื้น

จะมีอาการโดยทั่วไปดีขึ้น  ผู้ป่วยจะเจริญอาหารมากขึ้น  บางรายอาจจะพบผื่นตามร่างกาย บริเวณ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เรียกว่าผื่นพักฟื้น  มีการปัสสาวะออกมากขึ้น ซึ่งเป็นการบอกว่าร่างกายจะกลับสู่ภาวะปกติ  ระยะนี้หมอจะเร่ิมหยุดการให้สายน้ำต่างๆ เพื่อป้องกันการแทรกซ้อนจากภาวะน้ำเกิน

 

การรักษา

การรักษาโรคนี้ จึงเป็นการรักษาตามอาการเป็นสำคัญ นั้นก็คือการใช้ยาลดไข้ เช็ดตัว และการป้องกันภาวะช็อกนั้นเอง

  • ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ซึ่งในเด็ก จะเป็นชนิดน้ำในปริมาณ 10 – 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรรมต่อครั้ง ทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมง โดยรับประทานไม่เกินวันละ 5 ครั้ง หรือ 2.6 กรัม หากไม่มีไข้ก็สามารถหยุดใช้ยาได้ทันทีค่ะ  ในกรณีทารก การป้อนยาทำได้ค่อนข้างยาก จึงมีผลิตภัณฑ์ยาที่จำหน่ายโดยบรรจุในขวดพร้อมหลดหยด เวลาใช้ก็ใช้เพียงหลอดดูดยาออกจากขวดและนำไปป้อนเด็กได้เลย แต่ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำสำหรับเด็ก มีความแรง คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะอ่านฉลากก่อนใช้ให้ดีๆ นะคะ
  • แอสไพรินและไอบูโปรเฟน เป็นยาลดไข้เช่นเดียวกันค่ะ แต่ห้ามนำมาใช้ในโรคไข้เลือดออก เนื่องจากยานี้ ยิ่งทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติจนอาจจะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้นั้นเอง
  • ในภาวะช็อก  ทำได้โดยการชดเชยน้ำให้ร่างกาย เพื่อไม่ให้ปริมาณเลือดลดต่ำลงจนทำให้ความดันโลหิตตก โดยที่มีแพทย์จะให้สารน้ำตามความรุนแรงของอาการ โดยอาจให้ผู้ป่วยดื่มเพียงสารละลายเกลือแร่ ORS  หรือบางรายอาจได้รับน้ำเกลือเข้าทางหลอดเลือดดำ
  • ในกรณีที่เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติจนภาวะเสียเลือด อาจจะต้องได้รับเลือดเพิ่มเติม แต่ยังไงก็ต้องเฝ้าระวังภาวะช็อกดังกล่าว เนื่องจากมีความเสียงต่อชีวิตของผุ้ป่วยเป็นอย่างมากเลยค่ะ

 

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

  • หากมียุงมากผิดปกติ ให้ฉีดหรือพ่นยากันยุง โดยเฉพาะฤดูฝนและฤดูหนาว
  • ติดตั้งมุ้งลวดที่ประตูหน้าต่าง และควรปิดประตูหน้าต่างทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงเข้าบ้าน
  • หากมียุงในบ้าน ควรนอนในมุ้งเพื่อป้องกันยุงกัดเด็กๆ นั้นเอง
  • วรใส่เสื้อผ้าที่มีแขนขายาวและมีความหนาพอสมควรเพื่อป้องกันยุง เมื่ออยู่ในสถานที่ที่คาดว่าจะมียุง
  • หากไม่มีมุ้งหรือมุ้งลวด ควรใช้ยากันยุงชนิดทาผิว ซึ่งสกัดจากธรรมชาติ ทาบริเวณผิวหนัง ใช้เป็นยาทากันยุง
  • ควรจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย  โดยการขจัดแหล่งน้ำที่ขังอยู่ในบริเวณบ้าน
  • ใส่ผงกำจัดยุงลายลงในน้ำเพื่อกำจัดยุงลายตั้แต่เป็นลูกน้ำ ในบริเวณส่วนที่ไม่จำเป็นต้องมีน้ำ เช่น บ่อน้ำเล็กๆ ในสวน
  • ปิดภาชนะเก็บน้ำด้วยฝาปิด เช่น มีฝาปิดโอ่งน้ำ หรือถังเก็บน้ำบริเวณบ้าน หรือถ้าไม่มีฝา ก็ควรจะคว่ำไว้หากยังไม่ได้ใช้งาน

ที่มา : pharmacymahidolkasemrad, konthong

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ป้อนข้าวลูกยังไงให้ทานได้เยอะ?
ข้อมูลทางแพทย์
ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
วิธีการสอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวัง
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save