การดื่มสุราถือเป็นความรุนแรงต่อเด็กรูปแบบหนึ่ง โดยเด็กจะได้รับผลกระทบการพฤติกรรมการดื่มของพ่อแม่ หรือที่เรียกว่า ‘เหล้ามือสอง’
ซึ่งเด็กและเยาวชนไทย 24.6% เคยได้รับผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ของคนอื่น โดย 9.5% ได้รับผลกระทบรุนแรงโดยตรง เช่น 7.4% ถูกดุด่าอย่างรุนแรง 3.5% ถูกทอดทิ้งให้อยู่ในสถานการณ์ไม่ปลอดภัย 1.7% ถูกตี ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
10.7% อยู่ในสภาวะแวดล้อมเสี่ยงไม่เหมาะสม เช่น 7.4% เคยอยู่ในเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว 5.2% มีเงินไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูเด็กที่ดูแล และ 0.1% เด็กที่ดูแลเคยไปขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ การอยู่ในครอบครัวที่มีคนดื่มอย่างหนัก จะเพิ่มโอกาสเด็กได้รับผลกระทบมากขึ้นเป็น 3.3 เท่าของครอบครัวที่ไม่มีคนดื่มหนัก
สำหรับเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการดื่มพบว่า ส่วนใหญ่ 5.7% มาจากการดื่มของพ่อแม่ 5.7% มาจากการดื่มของคนในชุมชนหรือคนแปลกหน้า 3.5% มาจากการดื่มของญาติพี่น้อง และ 1.4% มาจากเพื่อน ทั้งนี้ผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นความรุนแรงต่อเด็กรูปแบบหนึ่ง ส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและใจ คุณภาพชีวิตและพัฒนาการของเด็ก ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
อ้างอิงจาก