fbpx

ซึมเศร้าหลังคลอดกับโรคซึมเศร้าแตกต่างกันยังไง พร้อมวิธีดูแลและป้องกันซึมเศร้าหลังคลอด

Writer : giftoun
: 23 เมษายน 2562

คุณแม่หลายคนอาจเคยได้ยินมาว่าเมื่อคลอดเสร็จแล้วอาจจะมีอาการซึมเศร้าได้ เลยสงสัยว่าซึมเศร้าหลังคลอดกับโรคซึมเศร้าแตกต่างกันยังไง มาดูกันเลยค่ะ

สาเหตุแตกต่างกัน

  • ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตร นั้นสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยในระหว่างที่ตั้งครรภ์ จะมีฮอร์โมนเพศหญิงที่เรียกว่าเอสโตรเจนกับโปรเจสเตอโรนสูงมาก แต่พอคุณแม่คลอดลูกแล้ว ฮอร์โมนสองตัวนี้จะต่ำลงไปทันที ในคุณแม่บางคนที่มีความไวต่อความรู้สึกหรือมีประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาไม่ค่อยดีนักจึงเกิดอาการได้ง่ายค่ะ
  • โรคซึมเศร้า ความเจ็บป่วยทางจิตเวชซึ่งเกิดความผิดปกติของสมอง ส่งผลกระทบต่อความนึกคิดอารมณ์ ความรู้กสึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพร่างกาย คนส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคซึมเศร้าหายเองได้ แต่ความจริงต้องอาศัยการบำบัดรักษาทางจิตเวชอย่างจริงจังค่ะ

ระยะเวลาไม่แน่นอนเหมือนกัน

  • ระยะเวลาของอาการภาวะซึมเศร้าหลังคลอดขึ้นกับคุณแม่แต่ละราย บางคนอาจเป็นแค่สัปดาห์เดียว แต่บางคนอาจเป็นถึงหนึ่งเดือน แต่โดยส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นไม่เกิน 6 สัปดาห์ โดยอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาหลังคลอด และหากมีการตกไข่เมื่อไร ก็จะเข้าสู่วงจรปกติ อาการก็จะหายขาดค่ะ
  • ส่วนระยะเวลาของโรคซึมเศร้านั้นก็ไม่แน่นอนเช่นกัน ขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละคน บางคนอาจเป็นแค่ช่วงเวลาหนึ่ง บางคนใช้เวลารักษาเป็นหลักปีก็มีค่ะ

วิธีสังเกตอาการซึมเศร้าหลังคลอด

  • รู้สึกมีภาระมากขึ้นหลังจากเลี้ยงลูก
  • ไม่มั่นใจในตัวเอง
  • รู้สึกอิสรภาพเริ่มหายไป
  • ซึมเศร้า หม่นหมอง หดหู่ รู้สึกภายในจิตใจว่างเปล่า อาจบอกออกมาเอง หรือจากการสังเกตของคนรอบข้าง
  • ความสนใจ ความรู้สึกสนุก และความพึงพอใจในการทำกิจวัตรต่าง ๆ ที่เคยชอบทำ ลดลงอย่างมาก
  • อยากอาหารลดลง หรือ อยากกินตลอดเวลา ตลอดทั้งวัน
  • นอนไม่หลับ หรือนอนมากตลอดวัน
  • เชื่องช้า เคลื่อนไหวช้าลง หรืออยู่ไม่สุข
  • เหนื่อยง่าย ไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไร
  • รู้สึกไร้ค่า ไม่ชอบใจตัวตนของตัวเอง
  • ความคิดความอ่าน สมาธิ ความสามารถในการจดจ่อสนใจสิ่งที่ทำลดลง
  • มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย ไม่รู้สึกกลัวความตาย

วิธีรักษาซึมเศร้าหลังคลอด

  • คุณพ่อและคนในครอบครัวให้กำลังใจคุณแม่ว่ารักษาหายได้
  • หมั่นหาความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงเด็ก จะได้มั่นใจมากยิ่งขึ้น
  • หาคนช่วยผลัดเปลี่ยนดูแลเด็ก โดยเฉพาะตอนกลางคืน คุณแม่จะได้นอนหลับบ้าง
  • อย่าตำหนิหรือโมโห เวลาคุณแม่แสดงอารมณ์แปลกๆ
  • คอยสังเกตอาการของคุณแม่ หากมีอาการผิดสังเกตมากกว่า 2 สัปดาห์ ให้รีบพาไปพบแพทย์
  • ให้คุณแม่ทำกิจกรรมอื่นบ้างนอกจากการเลี้ยงลูก

ป้องกันซึมเศร้าหลังคลอด ตั้งแต่ก่อนคลอด

  • วางแผนกับคุณพ่อตั้งแต่ก่อนคลอดว่าจะช่วยดูแลกันในส่วนไหนบ้าง จะให้ญาติคนไหนช่วยดูหลานหรือไม่
  • ดูแลและเอาใจใส่ตัวเอง อย่าเครียดจนเกินไป
  • ถ้าคุณแม่รู้สึกรู้สึกอึดอัดใจไม่ว่าเรื่องอะไร อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรพูดเพื่อระบายความรู้สึกที่อัดอั้นนั้นออกมาให้ใครสักคนที่วางใจได้ฟัง จะลดความเครียดลงได้
  • อาการเจ็บปวด สับสน อ่อนเพลียในช่วงหลังคลอดเป็นเรื่องธรรมดา คุณแม่ไม่ควรเป็นกังวลมากจนเกินไป
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • เดินเล่นกับ หรือออกกำลังกายเบา ๆ นอกบ้านบ้าง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และในช่วงกลางวันคุณแม่ควรพยายามงีบหลับบ้าง

ไม่ว่าคุณแม่จะอยู่ในซึมเศร้าหลังคลอดหรือโรคซึมเศร้าก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือกำลังใจทั้งจากตัวของคุณแม่เองหรือคนรอบข้างก็ตาม เมื่อคุณแม่มีจิตใจที่แข็งแกร่งแล้ว ไม่ว่าปัญหาจะหนักหนาแค่ไหนก็จะไม่กังวลเลย อย่างไรก็ตามถ้าเกิดความรู้สึกหนักหนาเกินรับไหวแล้วละก็อย่าเก็บไว้คนเดียวนะคะ พูดคุยกับคนรอบข้างบ้างจะช่วยได้มากเลยทีเดียวค่ะ

ที่มา

Writer Profile : giftoun


  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



7 อาหารเสี่ยงท้องเสียสำหรับคุณเเม่
เตรียมตัวเป็นแม่
12 ข้อดีจากการให้นมแม่
เตรียมตัวเป็นแม่
20 คำที่ไม่ควรพูดกับลูก
กิจกรรมของครอบครัว
5 ข้อดีของการมีลูกคนเดียว
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
12 ตุลาคม 2567

12 ตุลาคม 2567
12 ตุลาคม 2567
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save