fbpx

ทำความรู้จักอาการโคลิก (Colic) การแผดเสียงร้องของทารกที่หาสาเหตุไม่ได้

Writer : Lalimay
: 28 มีนาคม 2562

หากลูกร้องไห้บ่อยในช่วงเย็นถึงหัวค่ำอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะทำยังไงก็หาสาเหตุไม่ได้ว่าลูกร้องเพราะอะไร นั่นอาจจะเป็น อาการโคลิก (Colic) ภาวะการร้องไห้จ้าที่เกิดขึ้นกับเด็กแรกเกิดจนถึง 3 เดือน แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะอาการโคลิกจะหายได้เองเมื่อเด็กมีอายุ 3 เดือนขึ้นไป และได้ได้เป็นอันตรายแต่อย่างใดค่ะ

โคลิก (Colic) มาจากคำว่าอาการปวดท้องจากลำไส้บีบตัว เนื่องจากในตอนแรกมีการสังเกตพบว่าอาการร้องของเด็กกลุ่มนี้มีอาการคล้ายเวลาเด็กปวดท้องลำไส้บิด ซึ่งจะร้องเสียงดังและร้องไม่หยุด แต่ต่อมาเมื่อรู้ว่าสาเหตุของการร้องคืออะไร ก็ถือว่าเป็นการร้องเพราะโรคนั้นๆ ไม่ใช่อาการโคลิก ดังนั้นอาการโคลิกคือการร้องไห้จ้าที่หาสาเหตุไม่ได้ เกิดขึ้นกับเด็กแรกเกิดจนถึง 3 เดือน เราไปดูอาการ สาเหตุและวิธีการดูแลเด็กที่เป็นโคลิกกันดีกว่าค่ะ

อาการของโคลิก

  • ร้องไห้อย่างรุนแรงเรียกได้ว่าแผดเสียงจ้า
  • เวลาร้องไห้จะกำมือแน่น หน้าแดง ชูขาสูงขึ้นมาถึงหน้าอก
  • ร้องไห้ในช่วงเวลาเดิมๆ คือ ช่วงหัวค่ำ ประมาณ 5 โมงเย็นถึง 2 ทุ่ม
  • ร้องไห้นานกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องนานกว่า 3 สัปดาห์
  • เวลาอื่นๆ จะอารมณ์ดี
  • ปลอบยังไงก็ไม่หายร้อง
  • ตรวจร่างกายแล้วไม่มีความปกติ

สาเหตุที่ทำให้เกิดโคลิก

หากพบว่าลูกร้องไห้หนักอาจลองดูจากสาเหตุเหล่านี้ค่ะ เพราะอยากให้เข้าใจกันก่อนว่า อาการโคลิกนั้นยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ถ้าลูกร้องหนักอาจเป็นเพราะปัจจัยอื่น

  • มีอากาศในท้องมากเกินไป เช่น หากลูกดูดนมจากขวดแล้วปล่อยให้ลูกดูดไปเรื่อยๆ ถึงแม้ว่านมจะหมดแล้วก็ตาม ก็จะทำให้มีอากาศเข้าไปในท้องมาก
  • แพ้นมวัว เพราะนมผงบางยี่ห้อจะมีส่วนผสมจากนมวัว ซึ่งหากเด็กแพ้นมวัวก็จะทำให้ไม่สบายท้องและร้องไห้แบบปวดท้องได้ ควรเปลี่ยนไปใช้นมที่ปราศจากนมวัวหรือให้ดูดนมแม่ตั้งแต่แรก
  • ลำไส้ของลูกน้อยกำลังทำงานหนักเกินไปเพื่อจะขับของเสีย ออกและเริ่มเป็นตะคริว

หากพบสาเหตุที่ทำให้ลูกร้องไห้ได้แล้วก็ให้รักษากันไปตามอาการ ถ้าหาสาเหตุไม่พบ นั่นถึงเรียกว่าอาการโคลิก แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะอาการโคลิกจะหายได้เองเมื่อเด็กมีอายุ 3 เดือนขึ้นไป และเมื่อลูกโตขึ้นก็จะเป็นปกติดี มีความสุขและอารมณ์ดี มีพัฒนาการตามปกติไม่แตกต่างจากเด็กที่ไม่เป็นโคลิกแต่อย่างใด

วิธีการดูแลอาการโคลิก

  •  อาบน้ำอุ่นให้ลูกน้อย แล้วเอาผ้าห่อตัวลูกไว้ให้อบอุ่น
  •  นวดท้องให้ลูกอย่างนุ่มนวล โดยนวดตามเข็มนาฬิกา
  •  ขยับขาให้ลูกโดยหมุนเป็นวงกลม
  •  อุ้มลูกไปที่เงียบๆ พร้อมโยกตัวลูกไปมาเบาๆ เพราะการเคลื่อนไหวจะช่วยให้ลูกน้อยสงบลง (เป็นการอุ้มพาดบ่า หรือวางบนตัก)

** ข้อห้าม : ห้ามเขย่าหรือสั่นทารกแรงๆ พ่อแม่บางคนที่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ อาจเขย่าหรือสั่นตัวทารกอย่างรุนแรงเพื่อให้หยุดร้องไห้ ทำให้เกิดอันตรายรุนแรงต่อสมองของทารก จอประสาทตาหลุดลอกและบางคนเสียชีวิต

ที่สำคัญที่สุดคือจิตใจของคุณพ่อ – คุณแม่ค่ะ เพราะว่าการปลอบให้ลูกหยุดร้องไห้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย ถึงแม้ว่าเราจะปลอบจนลูกหยุดร้องได้แล้ว แต่อีกสักพักเขาก็จะแผดร้องขึ้นมาเหมือนเดิม ทำให้เรารู้สึกกระวนกระวายใจ กลัวว่าลูกจะเป็นอันตราย พาลทำให้เราคิดว่าเป็นพ่อแม่ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นในการดูแลลูกที่เป็นโคลิกนั้น จะต้องรู้เท่าทันว่านี่เป็นโรคที่ไม่ได้สร้างอันตรายอะไรให้กับลูกของเรา และอาการเหล่านี้จะหายได้เองค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



นวด นวด นวด มานวดลูกน้อยกันเถิด
เด็กวัยแรกเกิด
Update
12 ตุลาคม 2567

12 ตุลาคม 2567
12 ตุลาคม 2567
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save