Parents One

คุณแม่อย่าตกใจ!! ปากแหว่งเพดานโหว่ในเด็ก เป็นได้ก็หายได้

หลายๆ คนคงเคยได้ยินโรค “ปากแหว่งเพดานโหว่” กันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ ถ้าดูจากรูปแล้วค่อนข้างน่าหวาดเสียวนิดหน่อย แต่ว่าไม่ต้องตกใจไปค่ะ เพราะโรคนี้หากเด็กคนไหนเป็นแล้ว ก็สามารถรักษาให้หายได้เช่นกันค่ะ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคปากแหว่งเพดานโหว่กันดีกว่าว่ามันเกิดจากอะไร และมีวิธีการรักษาให้หายได้อย่างไร

รู้จักกับ “โรคปากแหว่งเพดานโหว่”

เป็นความพิการที่เกิดร่วมกับภาวะผิดปกติอื่นๆ ของศีรษะและใบหน้า ในประเทศไทย พบโรคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด คือ มีประมาณ 2.49 รายต่อเด็กรกเกิด 1,000 ราย ซึ่งมีอัตราสูงถึงประมาณ 700-800 รายต่อปี

อาการปากแหว่งเพดานโหว่เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ชนิดหนึ่งที่มีโอกาสเกิดซ้ำได้ในลูกคนต่อไปสูงประมาณ 3-15 % ขึ้นอยู่กับชนิดของปากแหว่งเพดานโหว่ โดยเฉพาะทารกเพศชาย มีโอกาสที่จะเกิดเพดานโหว่สูงกว่าทารกเพศหญิง

สาเหตุของการเกิดโรค

ผลกระทบต่อเด็กในการใช้ชีวิตประจำวัน

1.  มีปัญหาในการดูดนมแม่ : เด็กไม่สามารถดูดนมแม่ได้ดีเหมือนเด็กปกติทั่วไปค่ะ ซึ่งนมอาจไหลย้อนขึ้นไปที่จมูกผ่านช่องเพดานโหว่ อาจทำให้อาหารและของเหลวขึ้นจมูก และเกิดการสำลักขึ้นได้ ทำให้พ่อแม่อย่างเราเลี้ยงลูกลำบากกว่าเดิมค่ะ
2. เสี่ยงในการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง หรือหูน้ำหนวก : หากปล่อยไว้และไม่ทำการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อการได้ยิน หรือสูญเสียการได้ยินของเด็กได้
3. มีปัญหาเรื่องฟัน และการพูด : เด็กที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่มีแนวโน้มที่ทำจะทำให้ฟันผุ ฟันขึ้นผิดตำแหน่ง ฟันซ้อน เรียงตัวไม่สวย คุณพ่อคุณแม่จึงต้องใส่ใจในช่องปากของลูกเป็นพิเศษเลยค่ะ ส่วนเด็กที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด เด็กจะพูดไม่ชัด อาจมีเสียงขึ้นจมูกได้ และฟังยาก เนื่องจากมีปัญหาในบริเวณด้านในของปากและเพดาน อาจทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อยได้นั่นเองค่ะ
4. มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กคนอื่น : เพราะมีความลำบากในการดูดกลืนอาหาร จึงส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ช้าได้ค่ะ

การรักษา

ความพิการ ปากแหว่งเพดานโหว่สามารถผ่าตัดแก้ไขได้ แต่การรักษาจะได้ผลดีต้องทำในช่วงอายุที่เหมาะสม หากพบว่าลูกเป็นแล้ว ควรรีบพบแพทย์โดยด่วนค่ะ สำหรับการผ่าตัดรักษาปากแหว่งมีด้วยกันหลายวิธี แพทย์จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นกับว่าเด็กมีความพิการของปากและจมูกเป็นลักษณะไหนนั่นเอง

การป้องกัน

1. คุณแม่ตั้งครรภ์ควรงดสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์
2. หากจะทานยาระหว่างตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
3. ทานวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อการตั้งครรภ์ : คุณแม่ควรได้รับวิตามิน บีวิตามินบี 12 ธาตุสังกะสี และกรดโฟลิก ก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 2 เดือน จนกระทั่ง 3 เดือนหลังการตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณแม่และลูกได้รับสารอาหารและวิตามินที่ครบถ้วนค่ะ
4. ลดความเครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

หากครอบครัวไหนที่มีลูกเป็นโรค “ปากแหว่งเพดานโหว่” อย่าปล่อยทิ้งไว้นะคะ ควรรีบรักษาและไปพบแพทย์ค่ะ เพราะลูกอาจเกิดปัญหาทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ทำให้คุณภาพชีวิตของเด็กยิ่งแย่ลงได้นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก  : โรงพยาบาลยันฮี
pobpad