fbpx

คุณแม่อย่าตกใจ!! ปากแหว่งเพดานโหว่ในเด็ก เป็นได้ก็หายได้

Writer : Mneeose
: 19 เมษายน 2562

หลายๆ คนคงเคยได้ยินโรค “ปากแหว่งเพดานโหว่” กันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ ถ้าดูจากรูปแล้วค่อนข้างน่าหวาดเสียวนิดหน่อย แต่ว่าไม่ต้องตกใจไปค่ะ เพราะโรคนี้หากเด็กคนไหนเป็นแล้ว ก็สามารถรักษาให้หายได้เช่นกันค่ะ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคปากแหว่งเพดานโหว่กันดีกว่าว่ามันเกิดจากอะไร และมีวิธีการรักษาให้หายได้อย่างไร

รู้จักกับ “โรคปากแหว่งเพดานโหว่”

เป็นความพิการที่เกิดร่วมกับภาวะผิดปกติอื่นๆ ของศีรษะและใบหน้า ในประเทศไทย พบโรคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด คือ มีประมาณ 2.49 รายต่อเด็กรกเกิด 1,000 ราย ซึ่งมีอัตราสูงถึงประมาณ 700-800 รายต่อปี

อาการปากแหว่งเพดานโหว่เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ชนิดหนึ่งที่มีโอกาสเกิดซ้ำได้ในลูกคนต่อไปสูงประมาณ 3-15 % ขึ้นอยู่กับชนิดของปากแหว่งเพดานโหว่ โดยเฉพาะทารกเพศชาย มีโอกาสที่จะเกิดเพดานโหว่สูงกว่าทารกเพศหญิง

  • ปากแหว่ง คือ  อาการที่ริมฝีปากบนแยกออกจากกัน เกิดจากการที่สองซีกของใบหน้าไม่สามารถประกบกันได้พอดีในช่วงที่ทารกอยู่ในครรภ์
  • เพดานโหว่  คือ  การที่มีช่องเปิดระหว่างเพดานปากและฐานจมูก เกิดจากการที่ขากรรไกรบนของทารกไม่สามารถปิดได้สนิทในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดช่องว่าง ซึ่งอาการเพดานโหว่จะมีความรุนแรงกว่าอาการปากแหว่ง

สาเหตุของการเกิดโรค

  • เกิดจากพันธุกรรม เป็นการสืบทอดกรรมพันธุ์ในผู้ที่มีประวัติการเกิดโรคปากแหว่งเพดานโหว่กับสมาชิกในครอบครัว
  • สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์
  • โรคอ้วนในระหว่างตั้งครรภ์
  • ขาดกรดโฟลิกขณะตั้งครรภ์
  • การสัมผัสไวรัส หรือสารเคมีขณะตั้งครรภ์
  • การใช้ยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์ เช่น ยากันชัก สเตอรอยด์ ยารักษาสิวที่มีส่วนประกอบของ  Accutane ยาเคมีบำบัดเมโธเทรกเซท รวมถึงยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ และโรคสะเก็ดเงิน

ผลกระทบต่อเด็กในการใช้ชีวิตประจำวัน

1.  มีปัญหาในการดูดนมแม่ : เด็กไม่สามารถดูดนมแม่ได้ดีเหมือนเด็กปกติทั่วไปค่ะ ซึ่งนมอาจไหลย้อนขึ้นไปที่จมูกผ่านช่องเพดานโหว่ อาจทำให้อาหารและของเหลวขึ้นจมูก และเกิดการสำลักขึ้นได้ ทำให้พ่อแม่อย่างเราเลี้ยงลูกลำบากกว่าเดิมค่ะ
2. เสี่ยงในการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง หรือหูน้ำหนวก : หากปล่อยไว้และไม่ทำการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อการได้ยิน หรือสูญเสียการได้ยินของเด็กได้
3. มีปัญหาเรื่องฟัน และการพูด : เด็กที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่มีแนวโน้มที่ทำจะทำให้ฟันผุ ฟันขึ้นผิดตำแหน่ง ฟันซ้อน เรียงตัวไม่สวย คุณพ่อคุณแม่จึงต้องใส่ใจในช่องปากของลูกเป็นพิเศษเลยค่ะ ส่วนเด็กที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด เด็กจะพูดไม่ชัด อาจมีเสียงขึ้นจมูกได้ และฟังยาก เนื่องจากมีปัญหาในบริเวณด้านในของปากและเพดาน อาจทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อยได้นั่นเองค่ะ
4. มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กคนอื่น : เพราะมีความลำบากในการดูดกลืนอาหาร จึงส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ช้าได้ค่ะ

การรักษา

ความพิการ ปากแหว่งเพดานโหว่สามารถผ่าตัดแก้ไขได้ แต่การรักษาจะได้ผลดีต้องทำในช่วงอายุที่เหมาะสม หากพบว่าลูกเป็นแล้ว ควรรีบพบแพทย์โดยด่วนค่ะ สำหรับการผ่าตัดรักษาปากแหว่งมีด้วยกันหลายวิธี แพทย์จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นกับว่าเด็กมีความพิการของปากและจมูกเป็นลักษณะไหนนั่นเอง

การป้องกัน

1. คุณแม่ตั้งครรภ์ควรงดสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์
2. หากจะทานยาระหว่างตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
3. ทานวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อการตั้งครรภ์ : คุณแม่ควรได้รับวิตามิน บีวิตามินบี 12 ธาตุสังกะสี และกรดโฟลิก ก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 2 เดือน จนกระทั่ง 3 เดือนหลังการตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณแม่และลูกได้รับสารอาหารและวิตามินที่ครบถ้วนค่ะ
4. ลดความเครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

หากครอบครัวไหนที่มีลูกเป็นโรค “ปากแหว่งเพดานโหว่” อย่าปล่อยทิ้งไว้นะคะ ควรรีบรักษาและไปพบแพทย์ค่ะ เพราะลูกอาจเกิดปัญหาทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ทำให้คุณภาพชีวิตของเด็กยิ่งแย่ลงได้นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก  : โรงพยาบาลยันฮี
pobpad

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
ข้อมูลทางแพทย์ ข้อมูลทางแพทย์
27 กรกฏาคม 2560
วิธีการสอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวัง
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save