fbpx

จะรู้ได้ยังไง ว่าลูกเป็น "สมาธิสั้น"

Writer : Jicko
: 26 พฤศจิกายน 2561

โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) คือกลุ่มอาการผิดปกติทางพฤติกรรมและอารมณ์ โดยความซนของเด็กนั้นบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดา เพราะยังไงเด็กทุกคนก็ต้องซนมากเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ค่อยมีสมาธิซะส่วนใหญ่แต่ถ้าเด็กๆ เป็น “โรคสมาธิสั้น” ก็มีผลเสียต่อผลกระทบกับคนรอบข้างและเรื่องการเรียนได้เช่นกัน

วันนี้ทาง Parents One จึงได้นำความรู้เกี่ยวกับ “โรคสมาธิสั้น” มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้ศึกษากันเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่กังวลอยู่นั้นเอง ไปดูกันเลยค่ะ

โรคสมาธิสั้นเกิดจากอะไร

ความผิดปกติของสมองซึ่งมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมของเด็กๆ ซึ่งกลุ่มอาการผิดปกตินี้ จะเริ่มมีอาการตั้งแต่ช่วงอายุ 3-6 ปี  อาการจะแสดงออกอย่างชัดเจนและสามารถวินิจฉัยได้ในช่วงอายุ 6-12 ปีนั้นเองค่ะ

 

เด็กมีสมาธิได้นานแค่ไหนบ้าง

บอกไว้ก่อนเลยนะคะว่า เด็กๆ โดยปกติในแต่ละวัยจะสมาธิไม่เท่ากันอยู่แล้วค่ะ ซึ่งเด็กเล็กจะมีสมาธิสั้นกว่าเด็กโตนั้นเอง

  • ช่วงขวบแรกจะมีสมาธิไม่เกิน 2-3 นาที
  • 1-2 ขวบ จะมีสมาธิประมาณ 3-5  นาที
  • วัยอนุบาล จะมีสมาธิประมาณ 5-15 นาที
  • ช่วงประถมต้น จะมีสมาธินานถึง 15-30 นาทีขึ้นไป

สาเหตุของโรค

  • ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน (Dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) เป็นต้น ซึ่งเกี่ยวกับสารสร้างสมาธินนั้นเองค่ะ
  • ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว ซึ่งอยู่ที่สมองส่วนหน้า (Frontal Cortex)
  • พันธุกรรม
  • ปัจจัยเรื่องอื่นๆ เช่น สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู เป็นต้น

 

อาการของโรคประกอบด้วย

  • อาการขาดสมาธิ (Attention Deficit) : คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้จากเมื่อเรียกชื่อเขาแล้วไม่หัน มีอาการเหม่อลอย ให้ทำอะไรไม่ทำตามคำสั่งหรือทำได้ไม่ครบตามคำสั่ง เนื่องจากเขาฟังประโยคยาวๆ ได้ไม่จบ จะสามารถจับประโยคแรกๆ เท่านั้น ทำให้เมื่อเวลาไปเรียนเขาจะไม่สามารถรับความรู้ได้เต็มที่ ทำให้ลืมนั้นลืมนี่บ่อยๆ นั้นเองค่ะ

 

  • อาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม (Impulsivity) : คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้จาก เมื่อเวลาพูดหรือคุยอยู่ เด็กๆ จะชอบพูดสวนขึ้นมาหรือโพล่งขึ้นมากลางการสนทนา เขาจะไม่รู้จักการรอคอย และจะต้องโต้ตอบทันที หรือบางครั้งอาจจะแซงคิวเวลามีการให้รอคอยการต่อแถวเข้าคิวรออะไรสักอย่างค่ะ

 

  • อาการซน ไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) : คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้จากที่ลูกๆ จะชอบวิ่งในแต่ละวันแบบไม่หยุดหย่อน ไม่รู้จักความเหนื่อย ชอบเล่นอะไรแผลงๆ เล่นแรง ยุกยิกๆ ตลอดเวลา หรือไม่ก็ต้องขยับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเสมอ นั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ต้องลุกไปไหนตลอดเวลา หรือบางครั้งอยู่ที่โรงเรียน คุณครูก็จะบอกว่าเด็กๆ ไม่ยอมเรียนเลย ลุกเดินตลอดเวลา และมักจะเล่นแรงๆ กับเพื่อนที่โรงเรียน ทำให้ไม่มีใครเล่นด้วยนั้นเองค่ะ

 

การรักษา

  • การใช้ยาเพิ่มสมาธิ

เป็นมาตรฐานในการรักษา สำหรับการใช้ยาที่มีความปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น สงบขึ้นและควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ส่งผลให้เด็กๆ มีสมาธิในการเรียนและการเรียนที่ดีขึ้นนั้นเองค่ะ

  • การฝึกฝนการควบคุมตัวเอง

โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะจัดกิจวัตรประจำวันของลูก ให้เป็นเวลาโดยให้เขาทำอย่างสม่ำเสมอ และควรฝึกให้เขามีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำ ให้นานประมาณ 20-30 นาที โดยไม่ลุกเดินไปไหน โดยที่มีคุณพ่อคุณแม่ควบคุมอย่างใกล้ชิดนะคะ คอยให้กำลังใจและช่วยเหลือเด็กๆ ให้ทำสำเร็จค่ะ พอเขาทำได้แล้ว อาจจะให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ กับเขา กอดเขาให้กำลังใจกับลูกๆ และไม่ควรดุด่า เปรียบเทียบ เมื่อเขาทำไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความอดทนก่อนนะคะ

  • สร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

การสร้างสิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศ ควรสร้างทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนโดยสิ่งแวดล้อมต่างๆ ต้องไม่กระตุ้นเด็กๆ จนมากเกินไป ควรจัดเก็บของต่างๆ ให้เข้าที่เพื่อไม่ให้รบกวนสายตาของเด็ก มีมุมสงบให้เด็กๆ เวลาทำการบ้าน และไม่ควรมีสิ่งมารบกวนในห้องเช่นทีวี หรือมือถือให้เด็กได้วอกแวกไปสนใจสิ่งอื่นค่ะ

  • พยายามมองหาจุดเด่นและความสามารถของเด็กในด้านอื่นๆ

ลองให้เขาได้ลองสิ่งที่ๆ ที่หลากหลาย เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ หรือด้านการแสดงออก ให้เด็กๆ ได้มีโอกาสได้แสดงออกในสิ่งที่ดีๆ เช่น มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยคุณครูแจกสมุด ลบกระดานบ้าง หรืองานที่ได้รับมอบหมายพิเศษอื่นๆ ก็ได้นะคะ เพื่อถ้าเด็กๆ ชอบเขาก็ได้มีสมาธิกับสิ่งๆ นั้น เป็นการฝึกสมาธิให้เด็กๆ อีกทางด้วยค่ะ

  • ปรึกษาแพทย์

โรคสมาธิสั้นจำเป็นต้องทำการรักษา หากปล่อยไว้อาจจะส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว การอยู่ร่วมกับคนอื่นที่โรงเรียนและด้านการเรียนของเด็กๆ อีกด้วย และยิ่งไปกว่านั้น ถ้าโตขึ้น ความซับซ้อนของอารมณ์ก็จะมากขึ้นไปด้วยค่ะ และก็จะกลายเป็นปมด้อยของเด็กๆ ในอนาคตต่อไปเลยนะคะ โดทยทางคุณหมอก็จะมีการสื่อสารและประสานงานกับคุณพ่อคุณแม่และคุณครูที่โรงเรียนอย่างใกล้ชิด หรือบางครั้งที่เป็นมาก หรือมีโรคร่วมด้วยก็ต้องมีการใช้ยาในการรักษาด้วยนั้นเองค่ะ

 

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้

  • งดการเลี้ยงลูกด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยี

โดยหลีกเลี่ยงให้ลูกอายุต่ำกว่า 2 ขวบดูโทรทัศน์ เล่นคอมพิวเตอร์ หรือเล่นเกมเลยค่ะ แต่ถ้าเด็กๆ อายุได้มากกว่า 2 ขวบ ก็สามารถให้เล่นได้แต่ต้องไม่เกิน 1-2  ชั่วโมงนะคะ

  • สร้างวินัยให้ลูก

โดยให้คุณพ่อคุณแม่สร้างกิจวัตรประจำวันอย่างเป็นเวลา ให้เด็กๆ รู้ว่าควรทำอะไรตอนไหน เผื่อเป็นการฝึกให้เขาได้รู้จักควบคุมตัวเอง ให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนีอย่างจดจ่อ ให้เกิดสมาธินั้นเองค่ะ

  • เข้าใจธรรมชาติของโรค

โดยคุณพ่อคุณแม่ควรจะเข้าใจและนำข้อดีของโรคให้เป็นประโยชน์ เช่น เด็กๆ ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบทำกิจกรรมต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ก็พาเขาออกนอกบ้านไปเล่นกีฬาบ่อยๆ ช่วยให้เขาได้จับนั้นจับนี่ช่วยทำโน้นนี่บ่อยๆ ได้นะคะ

ที่มา : พญ.สุพาพรรณวดี ฟู่เจริญ แพทย์โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, honestdocs

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save