สุขภาพตาถือเป็นเรื่องหนึ่งที่แม่ๆ ต้องใส่ใจ เพราะด้วยพฤติกรรมต่างๆ ในปัจจุบันที่เป็นสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดอันตรายกับสุขภาพตาของลูกน้อยได้ ทั้งมือถือ แท็บเล็ต หรือตั้งแต่ในครรภ์ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมของแม่ๆ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพตาของลูกน้อยได้เช่นกัน
ทำให้การตรวจสุขภาพตาเด็กอย่างสม่ำเสมอถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กๆ ได้ในโรคตาบางประเภท เราไปดูกันเลยดีกว่าค่ะว่าเด็กแต่ละวัยมีปัญหาหรือโรคเกี่ยวกับตา และเราจะมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไปดูกันเลยค่า
เด็กวัยทารก (New Born)
ปัญหาสายตาที่มักพบ
หากแม่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดผลเสียต่อตาเด็กดังนี้
- เด็กคลอดก่อนกำหนด ทำให้เด็กมีปัญหาทางตาถาวร หรือตาบอดได้
- เด็กมีโอกาสป่วยเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่เยื่อหุ้มสมองเพิ่มขึ้น 5 เท่าจากปกติ และนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้
พัฒนาการทางสายตา
- เดือนแรก : สายตาทำงานประสานกันระหว่างสมองกับจอประสาทตา เด็กสามารถมองเห็นวัตถุที่ห้อยตรงหน้าได้
- อายุ 2 เดือน : เด็กเริ่มมองได้กว้างขึ้น แต่ยังโฟกัสได้ไม่ดี
- อายุ 3 เดือน : เด็กเริ่มมองตามและโฟกัสมาขึ้น แต่หากยังไม่มองตามต้องปรึษาแพทย์
- อายุ 5 เดือน : เริ่มเห็นภาพ 3 มิติ สามารพจำวัตถุได้แม้เห็นเพียงบางส่วน
- อายุ 9 เดือน : ดวงตาเริ่มมีสีที่ชัดเจนขึ้น เช่น ฟ้า น้ำตาล ดำ อาจเปลี่ยนแปลงได้ในช่วง 3 ปีแรก
ข้อแนะนำสำหรับเด็กวัยทารก
ช่วงวัยทารกเด็กยังไม่มีความสามารถในการโฟกัสวัตถุใกล้ไกลมากนักจากการศึกษาวิจัยต่าง ๆ พบว่า หากขอบเขตเหล่านี้ถูกปกปิดด้วยผ้าพันคอหรือหมวกอาบน้ำ ความชื่นชอบในการมองหน้าแม่ของทารกจะหายไป
ดังนั้น เพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสายตากับลูกแรกเกิด ควรจัดแต่งทรงผมให้เหมือนเดิมและหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงลักษณะของคุณในช่วงสองสามสัปดาห์แรกของชีวิตของทารก
เด็กวัยเตาะแตะหัดเดิน (Toddlers)
ปัญหาสายตาที่มักพบ
วัยนี้เด็กจะเริ่มแสดงความผิดปกติทางสายตาอย่างเห็นได้ชัด โดยหลักๆ เกิดจาก 2 สาเหตุ คือกรรมพันธ์และสิ่งแวดล้อม โดยมักพบปัญหาสายตาได้ดังนี้
- ตาเหล่ ตาเข ภาวะนี้ต้องรีบปรึกษาแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้จนอายุเกิน 8 ปีแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขการมองเห็นภาพโดยใช้ 2 ตา ที่จะทำให้เห็นภาพเป็น 3 มิติได้นั่นเอง
- โรคหัด ที่เป็นสาเหตุให้เกิดตาบอดในเด็กได้บ่อยสุด เพราะฉะนั้นควรพาลูกไปฉีดวัคซีนป้องกันอย่างตรงเวลาตามอายุที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
- อุบัติเหตุจากสารเคมีกระเด็นเข้าตา ทำให้ตาบอดได้ เพราะฉะนั้นควรเก็บให้พ้นมือเด็ก หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี น้ำยาทำความสะอาดต่างๆ ที่เป็นกรดหรรือด่างที่รุงแรง หากเกิดเหตุให้รีบส่งโรงพยาบาลทันที
พัฒนาการทางสายตา
เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่เด็กๆ ใกล้จะ 1 ขวบแล้ว มีการเริ่มหัดคลาน หรือดึงวัตถุหรือสิ่งของต่างๆ เพื่อประคองให้ตัวเองยืนขึ้นได้ ในวัยนี้การมองเห็นจะมีการทำงานประสานงานกับอวัยวะส่วนอื่นๆ ได้ดี สามารถหยิบจับวัตถุที่มองเห็นตรงหน้าอย่างแม่นยำนั่นเอง
ข้อแนะนำสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ
พ่อแม่อาจจะมีการคลานเล่นกับลูก หาของที่มีสีสันขอบมนกลม เอาไปวางไว้แล้วให้ลูกคลานไปหยิบ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อให้มีการเคลื่อนไหว และฝึกการทำงานของตาและส่วนอื่นๆ ที่มีการประสานงานกัน
เด็กวัยเรียน (School age children)
ปัญหาสายตาที่มักพบ
- ภาวะสายตายาว แต่ไม่ต้องใส่แว่น เพราะเด็กมีความสามารถของกล้ามเนื้อตาในการจับจ้องวัตถุที่ดี และเมื่ออายุมากขึ้นกระบอกตาจะใหญ่และยาวขึ้น ทำให้สายตากลับมาเป็นปกติได้นั่นเอง
- สายตายาวมาก ทำให้เกิดตาเหล่ หรือตาขี้เกียจเกียจได้
- สายตาสั้น ตาล้า เกิดจากการจ้องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ นานเกินไป
- อ่านหนนังสือไม่ต่อเนื่อง ตกหล่น ขาดหาย
- หมุนศีรษะ เอียงคอ เมื่อมองสิ่งต่างๆ ที่อยู่ตรงหน้าตัวเอง
- หยีตา วิ่งไปดูใกล้ๆ เมื่อต้องการมองสิ่งนั้นชัดๆ
- มีปัญหาการนอน เนื่องจากแสงสีฟ้า จึงไม่แนะนำให้เล่นก่อนนอนเลยเด็ดขาด
- ตาบอดสี พบมากในเด็กชาย ซึ่งจะสังเกตได้ยาก จะทราบได้ก็ต่อเมื่อถึงวัยที่สามารถแยกสีหรือความแตกต่างของเฉดสีได้นั่นเอง
พัฒนาการทางสายตา
เป็นวัยที่มีพัฒนาการของกล้ามเนื้อตาในการจับจ้องวัตถุได้ดี และยังเป็นช่วงที่เรียกได้ว่ามีการใช้สายตา ทั้งการดูจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอต่างๆ นาน ทำให้เด็กในวัยนี้มีปัญหาเรื่องตาอย่างชัดเจนและสังเกตได้โดยเฉพาะปัญหาสายตาสั้น
ข้อแนะนำสำหรับเด็กวัยเรียน
คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องดูเรื่องการใช้แสงสว่างให้เพียงพอกับสายตา เพื่อช่วยถนอมสายตาให้กับเด็กๆ คอยเตือนเขาเรื่องการดูโทรทัศน์หรือหน้าจอที่ใกล้เกินไป ทางที่ดีหากมีโอกาศควรพาลูกไปตรวจสุขภาพตาก่อนเข้าเรียนเพื่อป้องกันเรื่องสายตาเรื้อรังที่พบมากในช่วยวัยเรียนได้อีกด้วยค่ะ
อ้างอิงจาก : Siriwan Medical Clinic, Amarinbabyandkids