ปัจจุบันเราจะเห็นข่าวเกี่ยวกับเด็กถูกทำร้ายร่างกายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน อาจจะเป็นเพราะปัจจุบันสื่อสามารถเข้าถึงเราได้ง่ายขึ้น ทำให้เราเห็นข่าวเด็กถูกทำร้ายจากพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิดกันแทบจะทุกวัน
ซึ่งรู้ไหมว่าการกระทำร้ายแรงเช่นนี้ถือเป็นการละเมินสิทธิเด็ก และเด็กๆ ก็ควรได้รับความคุ้มครองและดูแลจิตใจหลังได้รับบาดแผลทางจิตใจด้วยนั่นเองค่ะ
สิทธิเด็กของประเทศไทยที่สำคัญ 4 ข้อ
1.สิทธิในการดำรงชีวิต
เป็นสิทธิพื้นฐานทั่วไปของเด็ก ที่ครอบคลุมสิทธิในการมีชีวิตอยู่ สิทธิที่จะได้รับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน สิทธิที่จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีพอ รวมถึงสิทธิในการมีชื่อและสัญชาติด้วย
2.สิทธิในการได้รับการคุ้มครองจากการถูกเอารัดเอาเปรียบทางเพศ
กาคุ้มครองนี้รวมไปถึงการใช้แรงงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือพัฒนาการของร่างกาย สมอง จิตใจ ศีลธรรมและสังคมของเด็กจากการถูกทรมานหรือถูกลงโทษ หรือกระทำในลัษณะที่โหดร้าย ตลอดจนการปกป้องคุ้มครองเด็กที่มีชีวิตอยู่ในภาวะยากลำบาก เช่น เด็กพิการ เด็กผู้ลี้ภัย เด็กกำพร้า เป็นต้น
3.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา
สิทธินี้ครอบคลุมถึงสิทธิที่จะได้เล่นและพักผ่อน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรม สิทธิที่จะได้รับการศึกษาทุกประเภททั้งในและนอกระบบโรงเรียน และสิทธิที่จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่พอเพียงกับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ ความรู้สึกนึกคิด ศีลธรรมและสังคม
4.สิทธิในการมีส่วนร่วม
สิทธินี้ครอบคลุมสิทธิในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีในทุกๆ เรื่อง ที่มีผลกระทบต่อตัวเอง สิทธิในการแสดงออกและได้รับข้อมูลข่าวสารรวมถึง ทัศนะคติของเด็กจะต้องมีการให้ความสำคัญอย่างเหมาะสมด้วย
สิ่งที่ไม่ควรทำต่อเด็กไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26
1.ห้ามการกระทำการทารุณกรรมต่อร่างกายและจิตใจของเด็ก
2.ห้ามจงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต หรือการรักษาพยาบาลของเด็กที่อยู่ในความดูแลของตนจนน่าเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
3.ห้ามบังคับ ขู่เข็น ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร หรือน่าจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำผิด
4.ห้ามโฆษณาหรือเผยแพร่ด้วยประการใดเพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาติจากทางราชการแล้ว
5.ห้ามบังคับ ขู่เข็น ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อนหรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด หรือการะทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก
6.ห้ามใช้ จ้าง หรือวานให้เด็กทำงาน หรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบ หรือขัดขวางต่อการพัฒนาการของเด็ก
7.ห้ามบังคับ ขู่เข็น ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใดเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้า อันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก หรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก
8.ห้ามใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใด หรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณีหรือสถานที่ห้ามมิให้เด็กเข้า
9.ห้ามบังคับ ขู่เข็น ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด
10.ห้ามจำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบติทางการแพทย์
วิธีดูแลจิตใจเมื่อลูกถูกทำร้าย
1.พ่อแม่ต้องทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ทั้งเรื่องคำพูดไปจนถึงการกระทำ อาจจะด้วยการกอดเมื่อลูกรู้สึกหวาดกลัว หรือบอกลูกว่าเราจะอยู่ใกล้ๆ ไม่ทิ้งไปไหน
2.หลีกเลี่ยงคำพูดที่บอกว่าเหตุการณ์นั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่น แค่นี้เองไม่เป็นไรหรอก เป็นต้น
3.รับฟังและแสดงออกถึงความเข้าใจ โดยไม่ตัดสิน
4.ทำให้ลูกมั่นใจว่าเหตุการณ์ไม่ดีนั้นจะไม่เกิดขึ้นอีก ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยอย่างชัดเจน
5.ให้เวลาช่วยเยียวยาจิตใจโดยไม่บังคับให้ลูกไปเจอกับสิ่งกระตุ้นความกลัวของลูก เช่นหากลูกกลัวเด็กผู้ชาย แม้แต่พ่อของตัวเองก็ไม่จำเป็นต้องรีบเร่งให้เด็กเข้าใกล้พ่อ พยายามให้เขาค่อยๆ ปรับสภาพจิตใจ และทำความเข้าใจว่าพ่อไม่ใช่คนที่อันตราย
อ้างอิงจาก : rama.mahidol, Thairath.co.th, Thaihealth.or.th