fbpx

Checklist! ว่าเราเป็นพ่อแม่ที่ทำให้ลูกเกิดปมด้อยขาดความอบอุ่น หรือไม่?

Writer : OttChan
: 30 เมษายน 2564

” ไม่ชอบผู้หญิงนิสัยเหมือนแม่ ”

” ไม่อยากมีแฟนเหมือนพ่อ ”

” อยากอยู่กับแม่มากกว่าอยู่กับพ่อ/ อยากอยู่กับพ่อมากกว่าอยู่กับแม่​ ”

บางครั้งตัวเราเองก็ไม่อาจรู้ได้ว่า คำของลูกนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร และทำไมจึงได้พูดออกมาเช่นนั้นซึ่งเป็นไปได้ว่า บุตรหรือหลานในบ้านของเรากำลังมีภาวะเกิดปมด้อยหรือมีศัพท์เฉพาะว่าอาการ Daddy/ Mommy issue หรือที่เรียกว่าภาวะการขาดความอบอุ่นจากครอบครัวจนส่งผลไปถึงพัฒนาการทางด้านความคิดและการกระทำในตอนโต ซึ่งภาวะนี้ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กอย่างมากในทางที่ไม่ดี และภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากการเลี้ยงดูและพฤติกรรมของคนเป็นผู้ปกครอง ซึ่งภาวะนี้คืออะไรและเราเข้าข่ายที่จะเป็นพ่อแม่แบบ Daddy issue หรือ mommy issue หรือไม่

 

 

ชอบตะคอก, โวยวายเสียงดัง : ลูกรู้สึกกลัวคนที่เสียงดัง ตื่นตระหนกง่าย หรืออาจกลายเป็นคนชอบโวยวายเหมือนกัน

บางครั้งทำไมถึงรู้สึกว่าลูกเราไม่ค่อยสู้คน ดูหวาดกลัวและตื่นกับเสียงดังๆ หรือในทางตรงกันข้าม กลับเป็นเด็กที่ขี้โวยวาย ตะโกนเสียงดัง ไม่ได้ดั่งใจก็จะตะคอกหรือแสดงความฉุนเฉียวผ่านการใช้เสียงดังๆซึ่งนั่นก็อาจเป็นเพราะ มีผู้ปกครองซักคนหรืออาจทั้งคู่ที่ชอบใช้เสียงดังในการพูดคุย และทะเลาะให้เขาเห็น บางครั้งอาจตั้งใจ หรืออาจไม่ต้งใจ แต่ภาพจำนั้นก็อาจฝังอยู่ในความรู้สึกและการเรียนรู้ของลูกจนทำให้เกิดการพัฒนาการที่ไม่เหมาะสมและกลายเป็นปมด้อย อาทิ

  • ลูกรู้สึกกลัวทุกครั้งที่มีคนทำเสียงดังแบบพ่อรึแม่, หวาดกลัวต่ออะไรก็ตามที่ทำให้เกิดเสียทงี่น่าตกใจ และซ้ำร้ายอาจส่งผลให้เวลาคบเพื่อนหรือคนรักก็จะไม่สามารถเข้ากับคนมีลักษณะเสียงดังได้
  • ลูกเกิดการจดจำและเลียนแบบการตะคอก ทำให้ชอบพูดจาเสียงดังใส่คนรอบข้าง, ใช้อำนาจเสียงกับผู้อื่นโดยรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องปกติ อาจทำให้อยู่ในสังคมได้ยาก

ชอบทุบตี, แสดงความุรนแรงให้เห็น : ลูกจะรู้สึกโหยหาความเมตตาหรือความอ่อนโยนจากผู้อื่น , ติดนิสัยชอบทำร้ายไปใช้กับผู้อื่น

ความรุนแรงนั้นไม่ว่าอย่างไรก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำต่อหน้าลูก ยิ่งหากทะเลาะกับคนรักและถึงขั้นทำร้ายร่างกายเองนั้น ย่อมส่งผลไม่ดีต่อตัวเด็กที่เข้ามารับรู้เหตุการณ์อย่างแน่นอน โดยเฉพาะการที่เห็นพ่อและแม่ทำร้ายกันเอง, ทำลายของที่สำคัญต่อความรู้สึก, ทำร้ายบุคคลอื่นอย่างทารุณ ไม่ว่าจะเป็นในทางไหนก็สามารถส่งผลอบ่างแน่นอนซึ่งอาการหลักๆ ของปมด้อยที่เกิดจากการจดจำพฤติกรรมนี้คือ

  • ลูกจะโหยหาความอ่อนโยนหรือเซฟโซนจากโลกภายนอก มากกว่าในครอบครัว รู้สึกรักและอบอุ่นกว่าเมื่อได้มีชีวิตอยู่กับคนอื่น หรือถ้าในกรณีมีคนใดคนนึงเท่านั้นที่ชอบทุบตี เด็กก็จะเลือกติดอีกคนไปโดยปริยาย ไม่ยอมเข้าใกล้คนดุร้าย
  • ลูกจะเลียนแบบการวางอำนาจ และการกระทำนี้ไปจนโต อาจส่งผลให้ชอบใช้ความรุนแรงกับเพื่อน, คนที่คบรึเมื่อโตขึ้นมากๆ และมีภาวะสะสม อาจทำให้วกกลับมาทำร้ายคนที่เริ่มต้นพฤติกรรมเหล่านี้ให้เขาเองอย่างผู้ปกครองก็เป็นได้ ยิ่งหากพ่อแม่คือคนที่เคยทุบตีก็จะยิ่งมีเปอร์เซ็นทำมากขึ้น

ชอบสัมผัสเกินเลยโดยที่ไม่ได้ขออนุญาต : ลูกจะรู้สึกระแวงการถูกสัมผัสจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นใคร, เสพติดการถูกลูบจับจนปล่อยตัว หรืออาจติดนิสัยไปทำกับผู้อื่น

เพราะเป็นพ่อเป็นแม่เราจึงมักคิดว่ามีสิทธิ์ในร่างกายของลูกทุกอย่าง ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้น ลูกมีสิทธิ์ที่จะไม่ให้เราแตะต้องหรือสัมผัสมากเกินไปหากเขาไม่ยินยอม เช่นชอบลูบจับในจุดที่ไม่สมควรอย่างช่วงขาอ่อน, อวัยวะเพศ, หน้าอก บั้นท้าย บางครั้งในมุมพ่อแม่เองอาจคิดว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน ทำไปก็ไม่เสียหายและไม่ผิดเพราะลูกยังเล็กหรือแม้จะโตแล้วแต่ก็ยังจับได้เพราะมีสิทธิ์ในตัวลูก แต่ในความจริง หากลูกรู้สึกถูกคุกคามจากการกระทำเช่นนี้โดยครอบครัวของคน ก็จะก่อให้เกิดปมด้อยกับเขาได้ซึ่งสามารถเกิดได้ดังนี้

  • ลูกจะกลัวการสัมผัสจากคนแปลกหน้าขั้นหวาดระแวง ปฎิเสธการเข้าใกล้หรือมีเวลาส่วนตัวกับคนในบ้านเพราะรู้สึกไม่ปลอดภัย เช่นถูกพ่อจับในส่วนที่ไม่ชอบ อาจพาลให้รุ้สึกผู้ชายทุกคนน่ากลัว, ไม่น่าไว้ใจ
  • ลูกจะเคยชินกับการกระทำเช่นนี้ไปจนโต จนทำให้ไม่รู้ว่าในสังคมปกตินี่ไม่ใช่เรื่องที่สามารถทำได้ อาทิ การจับส่วนต้องห้ามของเพื่อนเพศตรงข้าม ไม่ให้เกียรติคนรัก มือไวใจเร็วและอาจกลายเป็นคนมีความผิดปกติเรื่องการล่วงละเมิดในที่สุด

 

ชอบใช้อำนาจ เอาความเป็นพ่อแม่มาข่ม : ลูกจะรู้สึกถูกกดทับอยู่ตลอดเวลา, ไม่มีความมั่นใจในตัวเองและไร้ค่า, ลูกอาจแสวงหาที่ที่ตนได้มีพื้นที่และตัวตนจนทำให้ไม่ต้องการอยู่กับครอบครัว

พอขึ้นชื่อว่าพ่อแม่สิ่งที่เรามักพบเห็นได้ประจำคือการใช้อำนาจความเป้นผู้ใหญ่ในการคอยจัดการและดูแลทุกอย่าง แน่นอนว่ารวมไปถึงการควบคุมชีวิตของลูกให้ไปในทิศทางที่ต้องการด้วยแต่ทว่าการใช้อำนาจนี้เหมือนดาบสองคม ถ้าใช้อย่างพอดี มีอิสระหรือช่วงเวลาที่ให้คนในครอบครัวได้มีพื้นที่แสดงความเห็นหรือสิทธิ์ในการคิดเองบ้างคงไม่เป็นไร แต่หากมีคนใดคนนึงตั้งตนเป็นคนที่มีอำนาจสูงสุด ก็อาจทำให้เกิดความอึดอัดและรู้สึกไม่สบายใจจนสุดท้ายบ้านที่แสนอบอุ่นและปลอดภัยก็จะไม่เกิดขึ้นเพราะเกิดผลกระทบเหล่านี้

  • ลูกรู้สึกไม่มั่นใจเวลาต้องตัดสินใจอะไรเพราะถูกจดให้เป็นคนต้องคอยตามตลอด ส่งผลให้ตอนโตแล้วไม่มีภาวะความเป็นผู้นำ, กลัวการมีตัวตนหรือเสนอความเห็นใดๆ ก่อให้เกิดความลำบากในการใช้ชีวิต
  • ลูกจะมองหาพื้นที่ที่อื่นที่ททำให้เขามีความสุขได้โดยไม่พึ่งพาที่บ้านซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาติดเพื่อน, ไม่ยอมอยู่กับที่บ้านและร้ายแรงสุดอาจหันไปพึ่งพาสิ่งที่ไม่สมควรอย่างสิ่งของมึนเมา, ยาเสพติดเอาได้ในอนาคต

 

ชอบใช้คำพูดทำร้ายจิตใจ, ลดทอนคุณค่าของลูก : ลูกจะเป็นคนเชื่อมั่นใจตัวเองต่ำ, ไม่มีความกล้าแสดงออกที่เหมาะสมต่อวัย

บางครั้งผู้ใหญ่มักชอบคิดว่าเด็กจำไม่ได้หรอกกับสิ่งที่ถูกเลยคิดว่าการพูดอะไรเชิงลบ เขาจะจำไม่ได้และไม่ใส่ใจเพราะเป็นเด็กซึ่งในความจริงมันไม่ใช่แบบนั้นเลย ความจำของลูกนั้นดีเป็นเลิศ หากโดนพ่อแม่ล้อว่า อ้วนหรือดำ หรือชอบพูดเพื่อลดทอนคุณค่าอย่างโง่, ไม่สวย, ทำไมซื่อบื้อ ตำหนิทีุกข้อผิดพลาดและคอยนำกลับมาขยี้ซ้ำๆเพื่อเยาะเย้ย เขาสามารถจดจำได้ไปจนถึงตอนโตเลยทีเดียว และเมื่อมีคำนั้นฝังอยู่ในใจก็จะทำให้ลูกกลายเป็นคน

  • ไม่มีความมั่นใจในตนเอง, มักย้ำคิดถึงปมด้อยตัวเองทั้งเรื่องรูปร่าง, ความสามารถ ทำให้กลายเป็นคนไม่กล้าที่จะเสนอความเห็นหรือพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นเพราะไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
  • เก็บตัว, เข้าสังคมยาก เพราะถูกบ่มเพาะว่าให้รู้สึกด้อยค่ากว่าคนอื่น จึงไม่อยากเข้าไปอยู่ในสังคมที่ตนรู้สึกว่ายิ่งด้อย

 

สิ่งที่ควรทำให้ลูกคือการเอาใจใส่และกำลังใจ ไม่ใช่การสร้างปมด้อย

หากลองดูแล้วเรามีสักข้อใดข้อหนึ่งในการกระทำก็เป็นไปได้ว่าเรากำลังสร้างปมด้อยและทำให้ลูกอยู่ในภาวะขาดความอบอุ่น ฉะนั้นเมื่อไม่อยากทำร้ายคนที่เรารักและห่วงเขาที่สุดในชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องปรับตัวและใส่ใจกับความรู้สึกของลูกและคนในครอบครัวให้มากกว่าที่เป็นซึ่งสิ่งเหล่านี้เริ่มต้นได้ที่ตัวเราเอง โดยการปฏิบัติตนเพียงไม่ข้อเท่านั้น

  • หากมีการทะเลาะหรือด่าทอกัน ไม่ควรทะเลาะให้ลูกหรือเด็กเล็กๆ เห็น หรือให้ดีที่สุดเมื่อรู้ว่ากำลังโกรธอยู่แล้วแน่ๆ ให้ต่างคนต่างมีมุมส่วนตัวเพื่อรออารมณ์เย็นจึงค่อยกลับมาคุยกันใหม่
  • ไม่ตะคอกหรือลงโทษลูกอย่างรุนแรง อาศัยการใช้เหตุผลให้มากในการพูดคุย หากลูกทำผิด การลงโทษควรให้เป็นการเพิ่มความรับผิดชอบต่างๆ แทนการทำร้ายร่างกายเพราะอาจทำให้พัฒนาการของลูกถดถอย
  • ให้เกียรติลูกเสมอ อย่ามองว่าลูกเป็นเพียงแค่เด็ก แต่ให้มองว่านี่คือมนุษย์คนหนึ่งที่มีความรู้สึกและจิตใจเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการกอดหอมโดยที่ลูกไม่ยิมยอม หรือการพยายามรู้เรื่องส่วนตัวของลูก ทุกอย่างควรเกิดจากความสมัครใจของลูก ไม่ใช่ความชอบใจจะทำของพ่อแม่
  • มองลูกเป็นสมาชิกครอบครัวคนหนึ่งแทนการเป็นผู้ขออยู่อาศัย ลูกมีสิทธิ์มีเสียงที่จะพูดคุยและแสดงความเห็นภายในบ้าน อย่ามองว่าเป็นเด็กเลยช่วอยะไรไม่ได้หรือต้องอยู่แต่ในโอวาทของผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ต้องมองให้ลึกลงไปว่ายิ่งเราให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการคิดและแสดงความเห็น จะเป็นการช่วยลดการใช้อำนาจกับลูกลงโดยไม่จำเป็น แถมยังทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดีขึ้นอีกด้วย
  • ชื่นชมลูกและสร้างพลังบวกให้ลูกสม่ำเสมอ เพราะคำชมนั้นคือแรงผลักดันชั้นดีที่ทำให้ลูกได้มีกำลังใจ, และกล้าที่จะแสดงออกถึงสิ่งที่เขาชื่นชอบ ยิ่งได้รับคำชมที่จริงใจและมาจากใจจริง ยิ่งส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการดีอย่างก้าวกระโดด ลูกจะมีความมั่นใจตัวเอง, รักตัวเองและรักครอบครัวที่คอยอยู่เคียงข้างเขา

เมื่อคนเป็นพ่อแม่ได้เลือกแล้วว่าจะดูแลลูกให้ดีที่สุด ต้องไม่จบเพียงการได้กินอาหารดีๆ อยู่ในที่ที่สบายแต่เราต้องเลี้ยงจิตใจของลูกเราเองด้วยให้สามารถเติบโตไปเป็นคนที่มีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี

ที่มา wikipedia , thefamilyinthai

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



กำลังใจที่ไม่เคยสังเกต
ชีวิตครอบครัว
ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save