จากการสำรวจของเครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง “บลูลี่ กลั่นแกล้ง ความรุนแรง ในสถานศึกษา” ในกลุ่มเด็ก อายุ10-15 ปี จาก 15 โรงเรียน พบว่า 91.79% เคยถูกบูลลี่ ส่วนวิธีที่ใช้บูลลี่ คือ การตบหัว 62.07% รองลงมา ล้อบุพการี 43.57% พูดจาเหยียดหยาม 41.78% และอื่นๆ เช่น นินทา ด่าทอ ชกต่อย ล้อปมด้อย พูดเชิงให้ร้าย เสียดสี กลั่นแกล้งในสื่อออนไลน์
นอกจากนี้ 1 ใน 3 หรือ 35.33% ระบุว่า เคยถูกกลั่นแกล้งประมาณเทอมละ 2 ครั้ง ที่น่าห่วงคือ 1 ใน 4 หรือ 24.86% ถูกกลั่นแกล้งมากถึงสัปดาห์ละ3-4ครั้ง ส่วนคนที่แกล้งคือ เพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง
ในปัจจุบันด้วยเทคโนลียีที่เปลี่ยนไปทำให้รูปแบบของการบูลลี่ เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น แชร์การล้อเลียนอย่างรวดเร็ว ทำให้การถูกกลั่นแกล้งไม่ได้อยู่แค่ภายในโรงเรียน จนส่งผลให้เด็กที่ถูกบูลลี่เลือกใช้ความรุนแรง เพื่อป้องกันตนเองอีกด้วย
ทั้งนี้จากงานวิจัยของกรมสุขภาพจิตพบว่าการใช้ความรุนแรง การข่มเหงรังแกกันหรือการบูลลี่ในประเทศไทยติดอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหมายความว่าการบูลลี่ในไทยมีระดับความถี่ที่รุนแรง
นอกจากนี้ยังพบว่า อายุเด็กที่ถูกบูลลี่จะน้อยลงไปเรื่อยๆ จากงานวิจัยยังพบอีกว่าเด็กที่รังแกคนอื่น มีพื้นฐานด้านการขาดอำนาจบางอย่างในวัยเด็ก ถูกการเลี้ยงดูเชิงลบ รวมถึงพันธุกรรมทางสมอง จนนำไปสู่การรังแกกลั่นแกล้งคนอื่นในวัยที่โตขึ้น ซึ่งพฤติกรรมนี้จะเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นความเคยชิน ทำได้แนบเนียนและรุนแรงขึ้น ส่วนเด็กที่ถูกบูลลี่ จะมีอาการซึมเศร้า ไม่อยากไปโรงเรียน ในบางรายอาจถึงขึ้น คิดสั้น
ดังนั้นสังคมไทยต้องเลิกมองเรื่องบูลลี่ กลั่นแกล้งกัน เป็นเรื่องเด็กๆ ปกติธรรมดาแล้วปล่อยผ่าน ต้องให้ความสำคัญและทำให้ทุกคนเข้าใจอย่างถูกต้อง เร่งปลูกฝังให้เด็กๆ เคารพสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย การให้เกียรติกัน ทั้งในระดับครอบครัวและในสถานศึกษา
อ้างอิงจาก
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/861433