fbpx

คุณแม่ไม่สบาย ให้นมลูกได้หรือไม่ ?

Writer : Jicko
: 1 กรกฏาคม 2562

บางครั้งร่างกายของคุณแม่ๆ ก็เหนื่อยล้าจนล้มป่วยขึ้นมา เจ็บออดๆ แอดๆ แต่ก็ยังมีลูกน้อยที่ต้องดูแลและยังให้นมอยู่ จนบางครั้งก็ทำให้คุณแม่ๆ หลายคนเกิดข้อสงสัยว่า หากเราไม่สบายแล้ว ต้องกินยา จะสามารถให้นมกับลูกได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า  วันนี้ ParentsOne มีคำตอบมาให้คุณแม่ๆ กัน เพื่อให้หายข้อสงสัย ไปดูกันเลยค่ะ

ข้อเท็จจริงจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า แท้จริงแล้วกระบวนการผลิตน้ำนมของคุณแม่ๆ ถูกธรรมชาติรังสรรค์มาให้โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงติดมาด้วย นั่นก็คือ น้ำนมของคุณแม่นั้นจะออกมาได้ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผนังถึง 2 ชั้น คือ ผนังหลอดเลือดฝอย และผนังต่อมน้ำนม เมื่อคุณแม่กินยา ปริมาณยาจะผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้ไม่ถึง 1% เท่านั้น

นอกจากนี้ ร่างกายของเด็กๆ เองก็มีระบบป้องกันพื้นฐาน เช่น น้ำลาย น้ำย่อย หรือเนื้อเยื้อคัดกรองต่างๆ ที่คอยสกัดกั้นยาไว้อีกระดับหนึ่ง ดังนั้นให้คุณแม่สบายใจได้เลยว่า หากวันใดเมื่อเราไม่สบาย เป็นหวัดขึ้นมา หรือเป็นแค่การเจ็บป่วยธรรมดา คุณแม่สามารถให้นมลูกได้นั้นเองค่ะ

 

หากคุณแม่เจ็บป่วยรุนแรงจนต้องรับยาล่ะ ?

ยาบางชนิดเท่านั้นที่เมื่อคุณแม่ๆ เกิดป่วยขึ้นมาและต้องได้รับยาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็ควรงดให้นมลูก แต่ถ้าจำเป็นต้องกินยาในระหว่างให้นมลูก มีวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องและปลอดภัยดังนี้

ยาที่รับประทานได้

ยาที่ใช้รักษาโรคทั่วไป : เมื่อคุณแม่ๆ ไม่สบายยาที่สามารถรับประทานได้ เช่น ยาลดไข้ แก้ปวด ยาลดน้ำมูก ยาแก้คัดจมูก วิตามิน และยาปฏิชีวนะที่ปลอดภัยเพียงพอสำหรับคุณแม่และลูกที่กินนมแม่อยู่ แต่ยกเว้นยาปฏิชีวนะชื่อ ” เตตร้าซัยคลิน ” ซึ่งจะมีผลทำให้ฟันของทารกเปลี่ยนสี เป็นสีเทาจุดๆ นั้นเองค่ะ

ยาที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง : เช่น อินซูลิน (ยารักษาโรคเบาหวาน) จะไม่ขับออกมาทางน้ำนม หรือยาที่ใช้ป้องกันการแข็งตัวของเลือดชื่อ ” วอร์ฟาริน ” จะจับตัวกับโปรตีนในกระแสเลือด จึงไม่ถูกขับมาทางน้ำนมของคุณแม่ๆ เช่นเดียวกันค่ะ

ยาที่ใช้รักษาอาการเจ็บปวด : เช่น ยาปฏิชีวนะ และยาลดไข้แก้ปวด ไม่มีผลต่อการให้นมลูกเลย แต่ยังไงก็ต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของแพทย์ทุกครั้งนะคะ และต้องบอกคุณหมอเสมอว่ากำลังให้นมลูกอยู่ คุณหมอจะได้พิจารณนาเลือกใช้ตัวยาที่ถูกขับออกมาทางน้ำนมได้น้อยนั้นเองค่ะ

ยาที่กินแล้ว ต้องงดให้นม

  • ยารักษาโรคซึมเศร้า เช่น ยาโปรแซค ซึ่งจะทำให้ทารกซึม หรือ ลิเธียม ซึ่งจะถูกขับออกมาทางน้ำนมถึง 1/2 หรือ 1/3 ของระดับยาในกระแสเลือด หากลูกได้รับยาเป็นระยะเวลานานอาจะมีผลต่อระบบประสาทได้นั้นเองค่ะ
  • ยาต้านมะเร็ง และยากดภูมิคุ้มกันอื่นๆ เช่น ไซโคลฟอสฟาไมด์ หรือไซโคลสปอริน ยาเหล่านี้จะฆ่าเซลล์มะเร็ง อาจจะเป็นอันตรายต่อเซลล์ในร่างกายของลูกได้
  • เออร์โกทามีน เป็นยารักษาโรคปวดไมเกรน ทำให้ทารกท้องเสีย อาเจียน และชักได้
  • อะทีนอล เป็นยาลดความดันโลหิตและป้องกันไมเกรน ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจของทารกช้าลง ต้องระวังให้มากๆ โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือไตทำงานผิดปกติ
  • การรักษาโรคด้วยสารกัมมันตรังสีต่างๆ เช่น ไอโอดีน 131
  • โบรโมคริปทีน เป็นยายั้บยั้งฮอร์โมนโปรแล็กติน ทำให้ร่างกายผลิตน้ำนมน้อยลงนั้นเองค่ะ

 

ข้อควรระวังในการใช้ยา

ถึงแม้ว่ายาจะผ่านเข้าสู่ร่างกายของลูกได้ในปริมาณที่น้อยมาก แต่ถ้าทำได้ คุณแม่ๆ ก็ควรเลือกยาด้วยความระมัดระวังจะดีกว่านะคะ เรามาดูกันดีกว่าว่า ข้อควรระวังในการใช้ยาของคุณแม่มีอะไรบ้าง

 

  • หากคุณแม่เป็นหวัด คัดจมูก

ควรบรรเทาอาการด้วยตัวเองก่อน อย่างเช่น รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง ดื่มน้ำให้มากๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งในขณะที่ให้นมลูกได้ตามปกติเช่นเดิมนั้นเองค่ะ

 

  • ควรแจ้งให้คุณหมอทราบว่ากำลังให้นมลูกอยู่

ถ้าคุณแม่ๆ ต้องไปพบคุณหมอ ควรจะแจ้งให้คุณหมอทราบว่ากำลังให้นมลูกอยู่ และอาจจะสอบถามคุณหมออีกครั้งว่าไม่สบายให้นมลูกได้หรือไม่ เพื่อให้คุณหมอยืนยันคำตอบที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อคุณหมอจะได้จัดยาที่มีผลต่อการให้นมน้อยที่สุด นั้นเองค่ะ

 

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ อย่างเคร่งครัด

ยาบางตัวจำเป็นต้องกินติดต่อกันจนหมด บางตัวต้องกินหลังอาหาร ในระหว่างนั้นก็ควรสังเกตอาการของลูกด้วยว่าผิดปกติหรือไม่นั้นเองค่ะ

 

  • กินยาหลังจากให้ลูกกินนมเสร็จ หรือเลือกช่วงเวลาที่ลูกหลับนานที่สุด

เพราะปกติยาจะมีปริมาณสูงสุดในกระแสเลือดหลังจากกินไปแล้วประมาณ 1-3 ชั่วโมง ฉะนั้นควรเลือกช่วงเวลาที่ไม่ต้องให้นมลูกหรือช่วงเวลาที่ลูกนอนหลับนานที่สุด เพื่อลดโอกาสที่ยาจะผ่านน้ำนมไปสู่ลูกนั้นเองค่ะ

 

  • ดื่มน้ำ

คุณแม่ๆ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อช่วยขับยาออกจากร่างกายได้ดีขึ้น ลดโอกาสที่เมื่อกินยาแล้ว ยาจะผ่านน้ำนมไปสู่ลูกด้วยนั้นเองค่ะ

 

  • ใช้ยาทาภายนอกแทนยากิน

หากมีอาการข้ออักเสบ เคล็ด ขัดยอก หรือพกช้ำ คุณแม่ๆ ควรใช้ยาทาภายนอกแทนยากินจะดีกว่าค่ะ

 

  • บีมหรือปั๊มน้ำนมเก็บแช่แข็งไว้ให้ลูกล่วงหน้า

หากต้องใช้ยาที่ห้ามใช้ในขณะที่ต้องให้นมลูกอยู่ คุณแม่ๆ ควรจะบีมหรือปั๊มน้ำนมเก็บแช่แข็งไว้ให้ลูกล่วงหน้า ให้พอดีกับช่วงเวลาที่รักษา และระหว่างที่ต้องกินยาพร้อมกับหยุดให้นมชั่วคราว ควรบีมหรือปั๊มน้ำนมในขณะนั้นทิ้งก่อน เพื่อให้เต้านมยังคงผลิตน้ำนมต่อไปค่ะ

 

  • หยุดให้น้ำนมก่อนชั่วคราว

หากจำเป็นต้องรักษาในระยะยาว ลองปรึษากับคุณหมอว่าจะหยุดให้นมแม่ชั่วคราวก่อนเพื่อรักษา แล้วค่อยกลับมาให้นมลูกอีกครั้ง หรือเลื่อนการรักษาไปก่อนแล้วรอให้ลูกหย่านม (ในกรณีที่สามารถเลื่อนการรักษาได้)

สรุปสั้นๆ ก็คือ การให้นมลูกขณะที่คุณแม่ๆ กำลังป่วยอยู่และทานยาไปด้วย ไม่เป็นอันตรายกับลูกแต่อย่างใด แต่หากป่วยร้ายแรงจริงๆ คุณแม่ๆ ควรจะใช้ยาให้น้อยที่สุด และควรปรึกษาแพทย์อย่างละเอียดทุกครั้งนั้นเองค่ะ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยของเรานะคะคุณแม่ๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก : Enfababy , women.kapook

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
แม่จ๋า! น้ำร้อนลวกหนู ทำอย่างไรดี
ข้อมูลทางแพทย์
วิธีการสอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวัง
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save