ทักษะสมอง EF (Executive Function) เป็นสิ่งที่ช่วยจัดการการองค์ประกอบของสมองให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม อันเป็นพื้นฐานของการู้คิดและพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งนมแม่จะช่วยพัฒนา EF เพราะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรประสาทวิทยาศาสตร์และศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า พื้นฐานของ EF ด้านหนึ่ง คือ เรื่องการอดทนรอคอย การยับยั้งชั่งใจ ซึ่งเป็นกระบวนการการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่กระบวนการให้นมแม่ ซึ่งการดูดนมจากเต้านมแม่และการดูดนมขวดมีการไหลไม่เหมือนกัน
โดยพบว่าการดูดนมแม่จะยากกว่าการดูดนมขวด เนื่องจากเด็กต้องใช้แรงในการดูดมากกว่า เป็นการฝึก EF ในแง่ของการอดทนรอคอย และเมื่อโตขึ้นมาในช่วงอายุ 2 – 3 ปี เด็กส่วนใหญ่ในช่วงวัยนี้จะซนกันโดยธรรมชาติ ซึ่งหากได้รับการฝึกให้รู้จักการยับยั้งชั่งใจ จะทำให้พฤติกรรมในเรื่องซนของเขาดีขึ้นได้
สรุปแล้ว EF ต้องเริ่มฝึกกันตั้งแต่วัยก่อนเข้าเรียน แต่ปัญหาที่เราพบ คือ เด็กไม่เคยได้ฝึก จะมาฝึกกันก็ต่อเมื่อเด็กได้เรียนชั้นประถมขึ้นไปแล้ว ซึ่งจะฝึกได้ยากกว่า
ซึ่งนมแม่มีความสัมพันธ์กับทักษะสมอง EF โดยขณะที่ลูกดูดนมจะมีการสื่อสารระหว่างลูกกับแม่ และมีการสร้างความผูกพันเป็นพื้นฐานของการสร้างความเชื่อมั่นต่อคนอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งสารอาหารในน้ำนมแม่เพียงพอและเหมาะสมแล้วในการพัฒนาสมอง
อ้างอิงจาก