fbpx

โรคไอกรน อันตรายถึงชีวิตคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกต

Writer : OttChan
: 3 มีนาคม 2564

บางครั้งแต่ละอาการของลูกน้อยที่เรามองว่าอาจเป็นเรื่องปกติหรือไม่ได้น่ากลัวอะไรมากอย่างนอนแล้วหายใจแรง หรือมีเสียงกรนออกมาบ้างเวลานอน สำหรับผู้ใหญ่นั้นอาจดูเป็นเรื่องปกติแต่สำหรับเด็กเล็กแล้ว นี่คืออากาารที่อาจส่งผลถึงการเสียชีวิตได้เลยค่ะ และเพรราะอะไรการนอนกรนของเด็กถึงอันตรายได้ขนาดนี้ เราไปดูด้วยกันเลย

โรคไอกรนคืออะไร

โดยปกติแล้วอาการไอกรนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัยซึ่งอาการนี้ เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bordetella Pertussis เข้าสู่ปอด โดยสามารถติดได้จากการจาม, ไอ หรือหายใจรดกันจนทำให้เชื้อสามารถติดลามกันได้ซึ่งโรคนี้สามารถพบเจอได้มากสุดในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบ และอาจอันตรายยิ่งกว่าหากเกิดขึ้นในเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบเพราะอาการแทรกซ้อนหลังเป็นโรคนี้แล้วจะทำให้ร่างกายของทารกหรือเด็กเล็กต้านกับความรุนแรงของโรคไม่ไหวจนเสียชีวิตในที่สุด

ในค่าเฉลี่ยแล้วจำนวนผู้คนในแสนคนจะมีการเสียชีวิตจากอาการไอกรน 76 คนต่อปี และส่วนมากมักเป็นเด็กที่อายุไม่ถึง 3 ขวบ

อาการของการไอกรนในเด็กเล็ก

อาการไอกรนนั้นแทบจะไม่ต่างอะไรเลยกับอาการเป็นหวัดจึงทำให้แยกได้ยากมากๆ ว่านี่คืออาการของการไอกรนหรือหวัดทั่วไป โดยอาการจำแนกได้ดังนี้

  • ไอแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน 2-3 สัปดาห์
  • หายใจเข้าและออกแรงจนมีเสียงวู้บ
  • ต้องพยายามหายใจจนหน้าแดง, เขียวโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ
  • มีน้ำมูก, ตาแดง

และยิ่งในกรณีที่เป็นเด็กเล็กอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 ขวบอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้อาทิ อาการ

  • ภาวะหยุดหายใจชั่วขณะ
  • ปอดบวมหรือติดเชื้อในปอด
  • น้ำท่วมปอด
  • มีปัญหาระบบสั่งการสมอง
  • เสียชีวิต

วิธีรักษาโรคไอกรน

หากลูกน้อยถูกคุณหมอวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคไอกรนแล้วแน่ๆ การรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นว่าไแขั้นไหนเพราะการรักษานั้นต้องรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นกับเด็กแต่ละคน ซึ่งแต่ละอาการนั้นจะสามารถรักษาได้ตามนี้

  • รักษาตามอาการด้วยการลดการแพร่กระจายของเชื้อ
  • ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อประคองสุขภาพของลูกไม่ให้ทรุดลง
  • ให้ยามาทานเพื่อหยุดสารก่อความระคายเคืองอย่างน้ำมูก หรือสารก่อภูมิแพ้

วิธีป้องกันโรคไอกรน

การป้องกันก่อนที่ลูกเราจะมีอาการหรือติดโรคไอกรน คือการฉีดวัคซีนให้ตั้งแต่ช่วงยังเล็ดซึ่งการฉีดวัคซีนั้นจะมีด้วยกันทั้ง หมด 5 เข็ม สามารถฉีดได้ตามตารางอายุดังนี้

  • เข็มแรก – อายุ 2 เดือน
  • เข็มที่ 2 – อายุ 4 เดือน
  • เข็มที่ 3 – อายุ 6 เดือน
  • เข็มที่ 4 – อายุ หลัง 18 เดือนเป็นต้นไป
  • เข็มที่ 5 – ฉีดกระตุ้นอีกครั้งหลังอายุ 4 ปี

ซึ่งตัววัคซีนสามารถฉีดกระตุ้นได้ทุกๆ 10 ปี ในเวลาเดียวกันแม้แต่คุณพ่อคุณแม่หรือบุคคลในบ้านหากมีโอกาสก็อยากให้ฉีดเช่นกันเพราะบางครั้งแม้เด็กๆ ในบ้านจะไม่ได้เป็นแต่ผู้ใหญ่ก็อาจเป็นตัวนำเชื้อมาสู่พวกเขาได้ อย่างไรสุขภาพที่ดีคือสิ่งที่ทุกคนต้องมี เพราะฉะนั้น หากมีโอกาส อย่าลืมไปฉีดป้องกัน กันไว้ด้วยนะคะ

ที่มา : thaichildcare , pobpad , sikarinrama

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
จะรู้ได้ยังไง ว่าลูกเป็น “สมาธิสั้น”
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save