องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ได้เปิดเผยว่า มีเด็กว่า 800 ล้านคนทั่วโลก คิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนเด็กทั่วโลก มีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ในเลือดระดับสูง โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา
ซึ่งเด็กๆ ได้รับสารตะกั่วเหล่านี้จากเหมืองตะกั่วหรือท่อประปา รวมไปถึงการเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์ แต่สาเหตุที่ใหญ่ที่สุดมาจากการรีไซเคิลแบตเตอรี่รถยนต์ที่ผิดวิธีซึ่งคิดเป็น 85% เลยทีเดียว
โดยสารตะกั่วที่ปนเปื้อนนั้นอยู่ในระดับที่เป็นพิษต่อระบบประสาท และเป็นอันตรายต่อสมองของเด็กๆ จนไม่สามารถเยียวยาได้ โดยปริมาณสารตะกั่วที่มากจะมีผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้รับรู้ของเด็ก
และเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ถือเป็นกลุ่มที่อันตรายมากเป็นพิเศษ เนื่องจากร่างกายในช่วงอายุนี้สามารถซึมซับสารตะกั่วได้ดีกว่าในช่วงอายุอื่นๆ และจากการสำรวจของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ระบุว่าเด็กที่ได้รับสารตะกั่วจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวและสมาธิสั้นอีกด้วย
อ้างอิงจาก