Parents One

แมลงก้นกระดก เจ้าตัวร้ายที่มาพร้อมหน้าฝน

ปลายฝนแบบนี้ก็มักจะมีแมลงที่ชอบที่ชื้นๆ ออกมาเต็มไปหมดค่ะ “แมลงก้นกระดก” ถือเป็นหนึ่งในแมลงที่คนมักจะเจอกันในหน้าฝนเป็นจำนวนมาก โดยพิษของมันอาจทำให้เกิดแผลพุพองได้เพียงแต่เผลอปัด วันนี้เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าแมลงตัวนี้มาฝาก เผื่อเจอจะได้ป้องกันลูกรักและตัวเองได้ถูกต้อง แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะพิษนี้ไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิตค่ะ 🙂

แมลงก้นกระดกคือตัวอะไร

แมลงขนาดเล็กประมาณ 7-8 มม. ส่วนหัวมีสีดำ ปีกน้ำเงินเข้มขนาดเล็ก และส่วนท้องมีสีส้ม แมลงชนิดนี้มักจะงอส่วนท้ายเมื่อเกาะอยู่กับพื้น

แมลงนักปล่อยพิษ

เมื่อถูกบีบหรือตบจะปล่อยสารที่เรียกว่า Pederin ทางก้น ก่อให้เกิดความระคายเคืองกับผิวหนังมาก มีอาการแสบร้อนหรือ คันได้เล็กน้อย แต่ถ้าโดนความเข้มข้นของสารมากก็จะเกิดการอักเสบของผิวหนัง โดยจะเกิดผื่นและรอยไหม้เป็นทางยาว เพราะเกิดจากการปัดด้วยมือ หรือบางรายจะเกิดผื่นที่บริเวณซอกรอยพับที่ประกบกัน (Kissing lesion) มีตุ่มพอง สามารถหายเองได้ใน 7-10 วัน หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้

เมื่อโดนควรทำอย่างไร

รีบล้างด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำสบู่ และประคบเย็นในบริเวณที่สัมผัสโดนแมลง โดยรอยแดงเพียงเล็กน้อยสามารถหายได้เองใน 2-3 วัน แต่ถ้าผื่นเป็นมากขึ้นหรือมีตุ่มน้ำพองเกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ โดยถ้าผื่นมีตุ่มน้ำพองเป็นบริเวณกว้างหรือแผลไหม้ควรทำการประคบด้วยน้ำเกลือครั้งละ 5-10 นาที วันละ  3-4 ครั้งจนแผลแห้ง

สถานที่และช่วงที่พบบ่อย

ที่ชื้นๆ ตามพงหญ้า โดยแมลงก้นกระดกชอบออกมาเล่นไฟตามบ้าน มีมากในปลายฤดูฝน

วิธีการหลีกเลี่ยงแมลงก้นกระดก

 

ขอบคุณข้อมูลจาก