โรคไอกรนเป็นโรคติดต่อที่สามารถพบได้ตลอดทั้งปี มักพบในเด็กแรกเกิด ติดต่อโดย การหายใจเอาเชื้อจากการไอ จามของบุคคลที่มีเชื้อโรคในร่างกาย ทั้งที่มีอาการป่วยหรือไม่แสดง อาการ หากโรคไอกรนเกิดกับเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ที่พบบ่อยคือไอหนักจนตัวเขียวหรือไอจนหยุดหายใจ ทำให้สมองขาดออกซิเจน และอาจเสียชีวิตได้
จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไอกรน ตั้งแต่ต้นปี 2563 พบผู้ป่วยแล้ว 6 ราย และในปี 2562 ที่ผ่านมา มีรายงานผู้ป่วย “โรคไอกรน” 83 รายเสียชีวิต 2 ราย พบมากที่สุดในกลุ่มอายุแรกเกิด ถึง 4 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
โดยการพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพในสัปดาห์นี้ คาดว่าในช่วงนี้จะยังพบผู้ป่วยโรคไอกรนได้ ซึ่งเด็กที่ป่วยด้วยโรคไอกรนส่วนใหญ่ติดเชื้อจากสมาชิกในครอบครัวที่ไม่แสดงอาการป่วย ดังนั้น ผู้ที่มีอาการไอ จาม ไม่ควรคลุกคลีกับเด็กแรกเกิด หากจําเป็นต้องใกล้เด็กควรสวมหน้ากากอนามัย หรือไม่ควรพาเด็กเล็กไปในสถานที่ชุมนุมหรือแออัด หากพบเด็กมีอาการไอเป็นชุดๆ ไอมาก หายใจไม่ทัน หรือไอมีเสียงวีป ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที
โดยโรคไอกรมสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ดังนั้นพ่อแม่จึงควรพาลูกไปฉีดวัคซีนตามช่วงเวลาที่กําหนดคือ เข็มแรกจะได้รับเมื่ออายุ 2 เดือน ถึงแม้วัคซีนจะไม่ได้ป้องกันโรคได้ทั้งหมด แต่ทําให้อัตราการเกิดโรคและความรุนแรงของโรคลดลงได้
อ้างอิงจาก
https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=11317&deptcode=brc&news_views=299