พยาธินอกจากจะพบในกระเพาะอาหารแล้ว ยังมีการพบอยู่ที่บริเวณผิวหนังอีกด้วย โดยจะเรียกว่า โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง อาจเกิดกับคนที่ชอบเดินเท้าเปล่า หรือเล่นดินเล่นทราย โดยเฉพาะในเด็กที่ต้องระวังเป็นพิเศษ
โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง (Cutaneous larva migrans) คือโรคผิวหนังที่เกิดจากพยาธิตัวกลมระยะตัวอ่อน (ส่วนมากเป็นพยาธิปากขอหรือพยาธิเส้นด้าย) ของสัตว์ พยาธิระยะตัวอ่อนจะไชไปตามผิวหนัง ชั้นหนังกำพร้าทำให้เกิดผื่นมีลักษณะเป็นเส้นนูนสีแดงคดเคี้ยวใต้ผิวหนังตาม ทางที่พยาธิไชผ่าน
แต่พยาธิตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตในร่างกายคนได้ จึงได้แต่เดินทางไปตามเนื้อเยื่อผิวหนังจนทำให้เกิดรอยนูนแดงเป็นทางยาว และตายลงในที่สุด แต่รอยแดงที่ผิวหนังจะหายไป เมื่อได้รับยาฆ่าพยาธิ
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันจึงควรระมัดระวัง อย่าให้ลูกวิ่งเล่นเท้าเปล่าในดินหรือทรายที่เราไม่มั่นใจในเรื่องของความสะอาด หรือมีการปนเปื้อนมูลสัตว์ และให้ทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังเล่นทราย
อ้างอิงจาก