หลายบ้านมีปัญหาว่าทำไมพอเรามีลูกคนที่สอง ลูกคนเเรกถึงกลายเป็นไม่ติดเราเลย ในความจริงอาการแบบนี้เรียกว่า “พฤติกรรมถดถอยในลูกคนโต” เพราะเมื่อคุณเเม่มีลูกอีกคนก็ทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองถูกเเย่งความรักไป ในเด็กบางคนเเสดงออกด้วยการไม่ติดเเม่เลย เเต่หันไปติดพี่เลี้ยง คุณพ่อ คุณยายเเทน มาลองดูกันค่ะว่าอาการนี้มีสาเหตุจากอะไร เเล้วเราจะรับมืออย่างไรดีนะ
สาเหตุ
เรากำลังพูดถึงเด็กเล็ก ซึ่งเป็นวัยที่เด็กรู้สึกว่าทุกอย่างหมุนรอบตัวเอง พอมีความรู้สึกว่ามีน้องก็เหมือนมีคนมาเเย่งความรักจากเขาไป ทำให้เด็กต้องมองหาแหล่งปลอดภัยเเหล่งใหม่เพื่อความมั่นคงทางความรู้สึกนั่นเองค่ะ
วิธีรับมือ
1. แบ่งเวลา
คุณเเม่ต้องแบ่งเวลาให้เขาอย่างชัดเจนเลยถ้ามีน้องเเล้ว เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าเราให้ความสำคัญกับเขานะ เช่น กำหนดให้วันนี้เป็นวันของเขาเลยหนึ่งวัน ที่คุณเเม่จะไม่ทำงานเเล้วใช้เวลาอย่างเต็มที่กับลูกคนโต เรียกได้ว่าเป็นการให้เวลาคุณภาพกับเขาอย่างเต็มที่
2. อย่าเปลี่ยนแปลง
ไม่ควรเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันของลูกทันที ถึงเเม้ว่าจะเหนื่อยเพราะต้องเลี้ยงลูกสองคนก็ตาม เช่น ให้ลูกคนโตไปนอนกับพี่เลี้ยงเลยทันที หรือส่งลูกคนโตให้ไปโรงเรียนเลย เพราะเขาจะคิดว่าน้องเป็นคนที่ทำให้ตัวเองต้องออกจากบ้าน เเละยิ่งน้อยใจคุณพ่อคุณเเม่มากขึ้น
3.ให้ความสำคัญ
ความผิดพลาดส่วนใหญ่ที่พ่อเเม่มักทำกัน คือ ชอบบอกว่าคนพี่ต้องยอมน้อง หรือเป็นพี่ต้องเสียสละให้น้อง เเต่ความจริงพี่ก็ต้องการการยอมรับ เเละความรักเหมือนกัน ในสถานการณ์ที่เรามักเจอบ่อยอย่างการเเย่งของเล่น ถ้าน้องเข้ามาเเย่งของเล่นพี่ คุณพ่อคุณเเม่ไม่ควรบอกกับพี่ว่า “เป็นพี่ต้องเสียสละให้น้องนะ” เเต่ควรพูดคุยทำความเข้าใจกับลูกอย่างเหมาะสม เเละอีกอย่างที่สำคัญมากต้องอย่าพูดแกล้ง ประชด หรือเเหย่ลูกคนโตว่า รักน้องมากกว่า ไม่รักคนพี่แล้ว เพราะจะทำให้ลูกยิ่งอคติกับน้อง
4. เล่นกับลูกเยอะๆ
การเล่นกับลูกช่วยให้ลูกดีขึ้นเยอะ เพราะการเล่นมีค่าสำหรับเด็กมาก ช่วยทำให้เด็กรู้
5. สร้างความมั่นใจ
บางครั้งลูกอาจมมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารักบ้าง เด็กบางคนเวลาที่เห็นเเม่ทำอะไรให้น้องก็อยากให้ตัวเองได้แบบนั้นบ้าง เช่น เห็นเเม่ป้อนข้าวให้น้อง ก็อยากให้เเม่ป้อนตัวเองบ้าง ทั้งๆ ที่สามารถทานข้าวเองได้เเล้ว คุณเเม่ต้องค่อยๆ พูดกับเขาว่า “แม่เข้าใจว่าหนูกำลังโกรธ (การพูดว่าเข้าใจจะทำให้เด็กรับฟังคำสอนของเรามากขึ้น) และแม่ก็รู้ว่าหนูกินข้าวเองได้ แม่ก็ภูมิใจที่หนูทำได้นะ (เป็นการยืนยันว่าเราชอบที่ลูกช่วยตัวเหลือเองได้) ลุกมากินข้าวด้วยกันนะจ๊ะ ” การพูดเเบบนี้เช่วยสร้างความมั่นใจให้เด็กว่าถึงเเม้เราไม่ได้ดูเเลเขาทุกอย่างเเบบน้องที่เพิ่งเกิดมา เเละยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เเต่เราก็รักเขาเหมือนกัน
เวลาที่ลูกมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่าเพิ่งตกใจหรือกังวลมากเกินไปนะคะ เพราะเป็นภาวะตามธรรมชาติที่มีอยู่เเล้ว เพียงเเค่คุณเเม่ต้องทำความเข้าใจว่าสิ่งที่ลูกกำลังทำอยู่ เพราะเด็กอยากให้เรากลับมาใส่ใจเหมือนเดิม เเละเมื่อเราเข้าใจกับพฤติกรรมของลูกก็ทำให้พร้อมรับมือได้ด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ลูกกลับมามีพฤติกรรมที่น่ารักเหมือนเดิมค่ะ 😀