เรารู้กันดีนะคะว่า การให้ลูกเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนวัยที่เหมาะ หรือมีการใช้ที่มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อพัฒนาการของลูก ออทิสติกเทียม ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาค่ะ เรามรู้จักกับออทิสติกเทียมให้มากขึ้น ทั้งสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกัน เพื่อให้เรารู้ทันและห่างไกลจากออทิสติกเทียมกันค่ะ
ออทิสติกเทียม คืออะไร
การที่เด็กขาดการสื่อสารแบบสองทาง เกิดจากการให้ลูกเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือดูโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการรับสารทางเดียว ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสังคมที่ช้า เป็นความผิดปกติภายในสมองของเด็กวัยกำลังพัฒนา ไม่ใช่ความผิดปกติของร่างกาย โดยมีปัจจัย ภายนอกเป็นสิ่งเร้า
สาเหตุ
- การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน แทปเเล็ต ก่อนอายุ 2 ขวบ
- ดูโทรทัศน์มากกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
- การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกเลี้ยงลูก เพราะ ง่ายและสะดวกสบาย
เด็กเล็กยังไม่สามารถแยกแยะโลกจริงกับโลกเสมือนในหน้าจอ ทำให้ส่งผลต่อพัฒนาการ การที่เด็กไม่พูดโต้ตอบกับคนรอบข้างเพราะกำลังอยู่กับโลกส่วนตัวในหน้าจอ ในที่สุดจะพัฒนาไปปัญหาด้านการเข้าสังคม
อาการของออทิสติกเทียมในเด็ก
- 6 เดือน ไม่ยิ้ม ไม่แสดงอารมณ์สนุกสนาน
- 9 เดือน ไม่ส่งเสียง ไม่แสดงสีหน้าโต้ตอบ
- 12 เดือน ไม่หันตามเสียงเนียกชื่อ
- 18 เดือน ไม่ใช้ภาษาพูดร่วมกับท่าทาง
อาการเหล่านี้เข้าข่ายเสี่ยงเป็นออทิสติก หากต้องรู้ให้แน่ชัดว่าเด็กเป็นออทิสติกหรือแค่มีพฤติกรรมคล้ายยออทิสติก คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก
การป้องกันออทิสติกเทียม
- สังเกตลูกอย่างสม่ำเสมอ
เราจะเห็นความผิดปกติได้แบบทันท่วงที โดยเด็กที่เป็นออทิสติกเทียม หากได้รับการรักษาเเละการกระตุ้นอย่างถูกต้อง อาการก็จะดีขึ้นในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน
- พูดคุยกับลูกบ่อยๆ
การคุยกันน้อยวันละ 30 นาที – 1 ชั่วโมง ทำห้ลูกเรียนรู้การสื่อสารแบบสองทาง เด็กจะเข้าใจการโต้ตอบ สบตา คำศัพท์ เเละการให้ลูกออกไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ บ้าง ก็ช่วยสร้างทักษะด้านการปฎิสัมพันธ์
- เลี้ยงลูกให้ห่างจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ในช่วง 2 ปีเเรกของเด็กไม่ควรให้เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดูโทรทัศน์ และจะสามารถให้เล่นได้หลังจากอายุ 2 ขวบ แต่ก็ไม่ควรนานกว่า 1 ชั่วโมง/วัน นอกจากนั้นก็ควรหากิจกรรมอื่นๆ ให้ลูกทำ เช่น ต่อเลโก้ เล่นแป้งโดว์ วาดภาพระบายสี พับกระดาษ เป็นต้น