fbpx

สอนลูกใช้สื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ผ่านหลักสูตร Be Internet Awesome โดย Google

Writer : Mneeose
: 17 กุมภาพันธ์ 2563

“ยิ่งห้าม เหมือนยิ่งยุ”

การห้ามไม่ให้เด็กเล่นสื่อโซเชียลเป็นเรื่องยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่อย่างเรากันใช่ไหมล่ะคะ เผลอๆ อาจจะทะเลาะกันเป็นเรื่องใหญ่โต เพราะเรื่องเล็กๆ แบบนี้อีก ดังนั้น เมื่อเราห้ามเขาไม่ได้ ก็ควรสอนให้เด็กรู้จักการคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจให้รอบคอบ เพื่อให้พวกเขาท่องโลกออนไลน์ได้อย่างมั่นใจ สร้างสรรค์ และปลอดภัย ผ่านหลักสูตร Be Internet Awesome ซึ่งจัดทำโดย Google

หลักสูตร Be Internet Awesome คืออะไร?

หลักสูตร Be Internet Awesome เป็นหลักสูตรที่ได้จัดทำโดย Google ช่วยให้เด็กๆ รู้จักการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะข้อมูลต่างๆ ในโลกอออนไลน์ว่าจริงหรือเท็จ รวมทั้งรู้จักการตัดสินใจอย่างรอบคอบก่อนจะโพสต์สิ่งต่างๆ ลงไปในโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย ไม่โดนมิจฉาชีพหลอก

โดยหลักสูตร Be Internet Awesome จะแทรกผ่านสื่อการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การใช้สื่อออนไลน์อย่างเหมาะสม พร้อมความสนุกผ่านการเล่นเกมขึ้นอีกครั้งนั่นเองค่ะ

เด็กๆ จำเป็นต้องรู้จักและเรียนรู้การตัดสินใจอย่างรอบคอบ เพื่อให้ท่องโลกออนไลน์ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย เมื่อเด็กๆ ชาญฉลาด ระแวงระวัง เข้มเเข็ง ใจกว้าง และกล้าหาญ

พวกเขาก็จะกลายเป็นสุดยอด “นักท่องอินเทอร์เน็ต”

หลักสูตร Be Internet Awesome มีทั้งหมด 5 บทเรียน

ซึ่งหลักสูตร Be Internet Awesome มีทั้งหมด 5 บทเรียนด้วยกัน ที่ใช้สอนให้เด็กๆ ให้เรียนรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงโลกออนไลน์ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย นั่นคือ

  • คิดก่อนแชร์
  • ไม่ตกหลุมพรางกลลวง
  • เก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ
  • เป็นคนดีเท่จะตาย
  • สงสัยเมื่อไหร่ ก็ถามได้เลย

โดยมีจุดประสงค์หลัก คือเพื่อให้เด็กๆ กลายเป็นพลเมืองดิจิทัลอย่างยั่งยืนในอนาคต

Google ประเทศไทย เปิดตัวหลักสูตร  Be Internet Awesome ในเวอร์ชั่นภาษาท้องถิ่นเป็นประเทศแรก

  • หลักสูตร Be Internet Awesome เหมาะกับเด็กที่มีอายุ 7 – 12 ปี โดยเนื้อหาจะนำมาประยุกต์ และปรับใช้รวมกับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
  • Google ประเทศไทย เปิดตัวหลักสูตร Be Internet Awesome ในเวอร์ชั่นภาษาไทยเป็นประเทศแรกก่อนใครในเอเชีย – แปซิฟิก
  • ผจญภัยในอาณาจักร INTERLAND ง่ายๆ เพียงกดที่ลิงก์นี้เลย : เกม INTERLAND

 

หลักสูตร Be Internet Awesome มีไว้สำหรับใคร?

  • สำหรับคุณครู : แหล่งข้อมูล Educators

แหล่งข้อมูล Educators ได้รับการรับรองโดยสมาคมเทคโนโลยีการศึกษานานาชาติ (ISTE) มีการฝึกอบรมของคุณครู เพื่อนำไปต่อยอดและพัฒนาเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเน้นไปที่บทบาท และการมีส่วนร่วมของนักเรียนผ่านการสนทนา และกิจกรรมต่างๆ ภายในห้องเรียน

เพื่อส่งเสริมให้พวกเขามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ และการเป็นพลเมืองดิจิทัลให้กับเด็กๆ รวมทั้งการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไม่ถูกต้อง

  • สำหรับนักเรียน : เกม INTERLAND

เกมออนไลน์เอาใจเด็กๆ ที่เต็มไปด้วยการผจญภัยในรูปแบบต่างๆ ปลูกฝังให้เด็กๆ รู้จักป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลตัวเองในโลกออนไลน์ให้กลายเป็นเรื่องสนุกสนาน ซึ่งมีทั้งหมด 4 เกมแสนสนุก อัดแน่นไปด้วยความรู้ โดยเกม INTERLAND ได้เปิดให้เล่นกันแบบฟรีๆ ไม่ต้องลงทะเบียนอะไรด้วยนะ คลิกที่นี่เลย

  • สำหรับครอบครัว : คู่มือ Families

เนื้อหาได้นำเสนอเกี่ยวกับบทสนทนาของผู้ปกครองที่สร้างสรรค์กับลูก เราควรพูดคุยกับลูกอย่างไร ให้ลูกเข้าใจและตระหนักถึงเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้องและถูกวิธี เพื่อสร้างความปลอดภัยให้ชีวิตพวกเขาเอง ช่วยให้ทุกคนในครอบครัวได้เปิดใจ และมีแนวทางปฏิบัติร่วมกัน

 

ชวนลูกผจญภัยในอาณาจักร INTERLAND กับ 5 บทเรียนแสนสนุก

บทที่ 1 : หุบเขาแห่งความใส่ใจ (Be Internet Smart) = สอนเด็กๆให้คิดก่อนแชร์

การทำสิ่งต่างๆ ในโลกโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ข้อมูลต่างๆ เราต้องเช็คให้รอบคอบก่อนว่าเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ เพราะการแชร์เรื่องต่างๆ อาจจะส่งผลกระทบต่อตัวเด็กได้ในอนาคต เพราะความรู้ไม่เท่าทัน

บทเรียนนี้ได้สอนให้เด็กๆ รู้จักการคิด วิเคราะห์ก่อนที่จะกดปุ่มแชร์ลงไป เพราะเมื่อเราแชร์ข้อมูลต่างๆ ลงไปในโลกโซเชียลแล้ว มันจะเผยแพร่อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดไป ถึงแม้ว่าเราจะลบข้อมูลทั้งหมดไปแล้วก็ตาม เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าข้อมูลต่างๆ อาจจะถูกส่งต่อ คัดลอก หรือปรากฏในที่ต่างๆ ไปแล้วนั่นเอง

  • พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะแชร์ข้อมูลต่รางๆ และดูคนที่แชร์ด้วย
  • เข้าใจผลที่จะเกิดจากการแชร์ข้อมูล
  • ไม่แชร์ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนมากแก่ผู้อื่น

 

บทที่ 2 : แม่น้ำแห่งความจริง (Be Internet Alert) = อย่าหลงเชื่อคำหลอกลวงจากคนบนโลกออนไลน์

เกมนี้จะเด็กๆ จะต้องสร้างสะพาน เพื่อข้ามแม่น้ำไปให้ได้ ด้วยคำถามที่ชวนคิดเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สื่อออนไลน์ในประเด็นต่างๆ

  • เรียนรู้และแยกแยะความแตกต่างระหว่างข้อมูลจริงและเท็จ
  • เข้าใจว่า “ฟิชชิง” คืออะไร และรู้วิธีรายงาน
  • ตรวจจับความไม่ชอบมาพากลที่อาจเป็นสแปมได้

 

บทที่ 3 : หอคอยแห่งขุมทรัพย์ (Be Internet Strong) = เก็บข้อมูลของตัวเองให้ปลอดภัยและเป็นความลับสุดยอด

การเก็บความลับเป็นอีกสิ่งที่เราต้องสอนเด็กๆ ให้รู้จักเก็บความลับให้อยู่ และไม่เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง รวมทั้งครอบครัวให้ผู้อื่นรู้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายไม่ว่าจะเป็นทั้งอุปกรณ์ ชื่อเสียง และความสัมพันธ์นั่นเอง

  • ปกป้องข้อมูลที่สำคัญ
  • สร้างรหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกัน และจำได้
  • สร้างรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา โดยใช้ตัวเลขและตัวอักษร หรือใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน

 

บทที่ 4 : อาณาจักรแห่งความเมตตา (Be Internet Kind) = เป็นคนดีเท่จะตาย

  • รู้จักใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการส่งผ่านพลังบวกให้คนรอบข้าง
  • บล็อกพฤติกรรมที่น่ารังเกียจและไม่เหมาะสม
  • รู้จักต่อต้านผู้ที่ชอบรังแกผู้อื่น และรายงานเหตุการณ์ทุกครั้ง

 

บทที่ 5 : สงสัยเมื่อไหร่…ก็ถามได้เลย (Be Internet Brave) = อย่าเก็บความสงสัยไว้เพียงคนเดียว

เมื่อใดที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นบนโลกออนไลน์ว่าดีหรือไม่ดี ถ้าเด็กๆ ไม่รู้ เราควรสอนให้พวกเขาขอคำปรึกษาจากคุณพ่อคุณแม่ รวมทั้งกล้าปรึกษากับคุณครูค่ะ

  • ไม่นิ่งเฉย เมื่อพบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
  • ไม่ปล่อยผ่าน เมื่อพบเจอสิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจ
  • รายงานเมื่อพบว่ามีผู้ถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์

 

การใช้สื่อออนไลน์ของลูก เป็นสิ่งที่พ่อคุณแม่ห้ามมองข้ามความสำคัญ เราต้องสร้างพื้นฐานทางด้านออนไลน์ที่ดีให้กับลูก และคอยปกป้องลูกโดยการสอนให้เขารู้เท่าทันการใช้สื่อออนไลน์ต่างๆ การสอนลูกด้วยเกมสนุกๆ มีประโยชน์มากกว่าที่คิด คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมชวนลูกๆ ไปลองเล่นกันนะคะ : เกม INTERLAND

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save