รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ออกมากล่าวถึงกรณีที่มีเด็กวัย 2 เดือนเสียชีวิตเนื่องจากพ่อแม่เห็นลูกร้องไห้งอแงตลอดคืน จึงลองจับให้ลูกนอนคว่ำแล้วปรากฏว่าลูกหยุดร้องไห้และนอนหลับได้เลยปล่อยให้นอนคว่ำต่อ ดังนี้
เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือนไม่ควรนอนคว่ำ เพราะยังไม่สามารถชันคอได้ การนอนคว่ำจะทำให้ศีรษะกดทับปากและจมูก จนเด็กขาดอากาศหายใจ ถ้าเด็กอายุมากกว่า 6 เดือนควรให้นอนคว่ำในช่วงเวลาที่ตื่น เพื่อเป็นการบริหารคอและควรมีผู้ปกครองดูแลอยู่ตลอด เมื่อหลับควรนอนหงายหรือตะแคงจะได้หายใจสะดวก
หากลูกร้องไม่หยุดให้ใช้วิธีการอุ้มหรือเปลี่ยนอริยาบถอื่นช่วยให้เด็กหยุดร้องแทนการนอนคว่ำเพราะการนอนคว่ำ เป็น 1 ใน 3 ของสาเหตุการนอนที่ทำให้เด็กเสียชีวิต หรือเกิดสภาวะไหลตายในเด็กทารก (SIDS: Sudden Infant Death Syndrome)
อ้างอิงจาก