ในการทำข้อสอบแบบในกระดาษมีประเภทของข้อสอบอยู่ 2 แบบคือ ปรนัย ที่เป็นตัวเลือกให้ตอบ และแบบอัตนัย ที่เป็นการเขียนตอบ ซึ่งดูเหมือนว่าข้อสอบแบบปรนัยนั้นมักจะมีตัวเลือกหลอกให้ต้องวิเคราะห์กันมากขึ้น
แต่ผลวิจัยล่าสุดจากแวดวงจิตวิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์ได้ระบุว่า ข้อสอบแบบนี้ไม่เป็นผลดีต่อการสอบวัดผล รวมทั้งต่อความจำและการเรียนรู้ในระยะยาว โดยศ. แอนดรูว์ บัตเลอร์ นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ (Washington University in St. Louis) ตีพิมพ์ผลการศึกษาข้างต้นในวารสารการวิจัยประยุกต์ด้านความจำและสติปัญญา (Journal of Applied Research in Memory and Cognition) ฉบับเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ข้อสอบปรนัยแบบหลายตัวเลือกที่ดี ควรจะอยู่ในรูปแบบที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมาที่สุด มีระดับความยากที่มากพอ เพื่อท้าทายให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการทางสมองและดึงความรู้ออกมาใช้ จะทำให้จดจำและเรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้งในระยาว
แต่ในการที่มีตัวเลือกหลอกในข้อสอบกลับไม่ทำให้เกิดกระบวนการที่ว่านี้ เพราะนักเรียนจะสนใจที่จะวิเคราะห์องค์ประกอบทางภาาษาของประโยคคำตอบในแต่ละข้อแทน ซึ่งทำให้ผู้ทำข้อสอบใช้การเดามากขึ้น
อ้างอิงจาก