คุณพ่อคุณแม่อาจจะได้ยินข่าวของเด็กทารกที่หยุดหายใจขณะหลับมาบ้าง เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจและระมัดระวังอย่างมาก เพราะอาจเกิดเหตุไม่คาดคิดได้ อาการของทารกที่หยุดหายใจขณะนอนหลับมีสาเหตุมาจากอะไร และจะมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้างไปดูกันค่ะ
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะทารกหยุดหายใจขณะหลับ
- หายใจไม่ออก จากการที่จมูกหรือปากถูกทับไว้
- ที่นอนนิ่มเกินไป ทำให้เด็กหน้าจมไปกับที่นอน และเด็กยังไม่สามารถยกศีรษะให้พ้นที่นอนได้
- มีผ้า หรือหมอนอยู่ใกล้ๆ เมื่อเด็กขยับตัวอาจจะไปปิดหน้าเด็ก ทำให้เด็กหายใจไม่ออก
- กดทับกระเพาะอาหาร น้ำนมอาจจะยังย้อนออกมา และสำลักเข้าไปในปอดได้
- คุณพ่อคุณแม่บางคนนิยมให้ลูกนอนคว่ำ แต่ทางการแพทย์แนะนำให้เด็กนอนหงายเพราะหายใจโล่งสะดวกมากกว่า
การป้องกัน
1. อุ้มลูกพาดบ่าหลังให้นม
ให้ลูกนอนหงาย ก็ต้องระวังเรื่องน้ำนมอาจไหลย้อนขึ้นมา และทำให้ลูกสำลักได้เช่นกัน ฉะนั้นหลังให้นมทุกครั้งคุณแม่ควรอุ้มลูกพาดบ่า หรือจับลูกนั่งหลังตรง ก่อนสัก 5-15 นาที เพื่อให้ลูกเรอ เป็นการไล่ลมในกระเพาะอาหาร ก่อนแล้วจึงให้นอน
2. ระวังเวลาลูกนอนตะแคง
ให้ลูกนอนตะแคง การนอนตะแคงก็มีข้อควรระวังอยู่เช่นกัน ถึงแม้ว่าไม่มีรายงานว่าการนอนตะแคง จะทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับเหมือนกับการนอนคว่ำก็ตาม และสิ่งที่ต้องระวังก็คือเมื่อให้ลูกนอนตะแคง ต้องดูตำแหน่งแขนด้านล่างของลูกว่าไม่ทับไปทั้งแขน ต้องดูด้วยว่าแขนลูกด้านล่าง อยู่ต่ำ และยื่นไปข้างหน้ามากพอที่จะไม่พลิกตัวนอนคว่ำหน้าลงไปได้เอง ทางที่ดีคุณอาจจะหาหมอนข้าง หรือนำผ้าขนหนูมาม้วนๆ ดันหลังลูกเอาไว้
3. เลือกเบาะนอนที่ไม่อ่อนนุ่มเกินไป
เบาะนอนที่ดีต้องมีความแข็ง ไม่หนาและอ่อนนุ่มจนเกินไป เพราะเมื่อเด็กพลิกคว่ำอาจกดทับการหายใจ โดยเฉพาะเด็กอายุ 4-6 เดือนที่คว่ำเองได้ แต่หงายเองไม่ได้
4. เลือกหมอนให้ถูกวิธี
หมอนต้องไม่อ่อนนุ่ม และใบใหญ่เกินไป เพราะอาจกดทับหน้า ปิดจมูกได้
5. ไม่วางผ้าห่มใกล้หน้าเด็ก
อย่าวางผ้าห่ม หรือกองผ้าไว้ใกล้ศีรษะเด็ก เพราะผ้าที่อยู่ใกล้ๆ เด็ก เมื่อเด็กขยับตัวอาจจะไปปิดหน้าเด็ก ทำให้เด็กหายใจไม่ออกได้
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เกี่ยวกับเรื่องการนอนอย่างปลอดภัย มาฝากเพื่อนผู้อ่านถึงเรื่องการดูแลเรื่องท่านอนของเจ้าหนูน้อยวัยทารกอย่างถูกวิธี
ที่มา :