fbpx

คุณแม่ควรรู้ไว้ก่อนสายไป ทำอย่างไร! เมื่อลูกน้อยสำลักนม

Writer : Mneeose
: 10 ตุลาคม 2561

คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงต้องตกใจแน่นอน หากลูกเกิดอาการสำลักนม โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ Parents One จึงขอเสนอสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาเมื่อลูกเกิดอาการสำลักนมแบบได้ผลกันค่ะ

ลูกฉันสำลักนม เพราะ ?

สาเหตุของการที่ทำให้ลูกสำลักนม มีหลายสาเหตุด้วยกันค่ะ เช่น

  • ลูกดูดนมจากขวดนมไม่ทัน

    หากทารกดูดนมแม่ ลูกก็จะไม่ค่อยสำลักนม หรือมีโอกาสสำลักนมน้อย เพราะน้ำนมแม่จะไหลก็ต่อเมื่อลูกดูดเท่านั้น  แต่ถ้าเป็นนมชงจากขวด  ไม่ว่าลูกจะดูดนมหรือไม่ดูด นมก็จะไหลออกมาจากขวดได้ตลอด จนบางครั้งเด็กกลืนนมไม่ทัน จึงเกิดอาการสำลักนมขึ้นค่ะ

  • น้ำนมจากเต้าคุณแม่ไหลแรงเกินไป

    เด็กแรกเกิด หากลูกกินนมจากเต้าของแม่ น้ำนมแม่อาจจะไหลแรงเกินไป และพุ่งฉีดเข้าลำคอลูก ลูกจึงต้องถอนหน้า หรือสะบัดหน้าออกจากเต้านม ทำให้เกิดอาการสำลักนมได้ค่ะ

  • คุณแม่มักเข้าใจผิดในพฤติกรรมการกินของลูก

    เช่น เวลาที่ลูกร้อง คุณแม่บางคนก็จะป้อนนมทุกครั้ง ซึ่งอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าลูกหิว อาจทำให้ปริมาณนมในกระเพาะอาหารของลูกเกินความต้องการ ส่งผลให้ลูกสำลักนมออกมา ซึ่งจริงๆ แล้วหากว่าลูกร้องไห้ คุณแม่ควรหาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ลูกร้องไห้เสียก่อน เช่น ร้องไห้ เพราะอยากให้อุ้ม ร้องไห้ เพราะไม่สบายตัว หรือร้องไห้ เพราะปวดอึ หรือปวดฉี่  เป็นต้น

  • คุณแม่ให้นมลูก ตอนที่ลูกยังไม่พร้อม

    คุณแม่ลูกให้นมลูกไม่ถูกวิธี  เช่น ป้อนนมลูกในขณะที่ลูกกำลังนอน ป้อนนมในขณะที่ลูกกำลังร้องไห้ หรือการให้ลูกนอนกินนม ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกสำลักนมได้ค่ะ

  • ใช้จุกนมขวดผิดขนาด

    การใช้จุกนมขวดที่ผิดขนาด และไม่เหมาะสมกับช่วงวัย จะทำให้น้ำนมไหลออกมามากกว่าปกติ จนเด็กสำลักนม

ฉุกเฉิน!! ทำอย่างไร เมื่อลูกสำลักนม

ห้าม! อุ้มเด็กขึ้นทันทีที่สำลัก ให้! จับเด็กนอนตะแคงแทน

  • หากลูกสำลักนม ไม่ควรอุ้มเด็กขึ้นทันทีเมื่อเกิดการสำลัก
  • จับเด็กนอนตะแคง โดยให้ศีรษะเด็กต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้นม หรืออาหารที่ติดค้างในปาก ไหลย้อนกลับไปที่ปอด

วิธีป้องกันก่อนลูกสำลักนม

  • ในช่วง 6 เดือนแรก ควรให้นมแม่อย่างเดียว

    หากทารกดูดนมแม่ ลูกก็จะไม่ค่อยสำลักนม หรือมีโอกาสสำลักนมน้อย เพราะน้ำนมแม่จะไหลก็ต่อเมื่อลูกดูดเท่านั้น  แต่ถ้าเป็นนมชงจากขวด  ไม่ว่าลูกจะดูดนมหรือไม่ดูด นมก็จะไหลออกมาจากขวดได้ตลอด จนบางครั้งเด็กกลืนนมไม่ทัน จึงเกิดอาการสำลักนมขึ้นค่ะ

  • จับลูกเรอทุกครั้งหลังจากดูดนมเสร็จ

  • สำหรับเด็กวัยแรกเกิด ถึง 2 เดือน ที่คอยังไม่แข็ง ควรใช้วิธีอุ้มลูกเรอโดยอุ้มลูกนั่งตัก ใช้มือประคองช่วงขากรรไกรเพื่อประคองศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างลูบหลังโดยการลูบขึ้นเบา ๆ  สำหรับเด็กทารกที่คอแข็งดีแล้ว ให้จับลูกเรอโดยสามารถใช้วิธีอุ้มพาดบ่าได้ แล้วใช้มือประคอง และลูบหลังขึ้นเบา ๆ
  • บีบน้ำนมออกจากเต้าก่อนให้ลูกดูด

    ให้คุณแม่ลองบีบน้ำนมออกก่อนลูกดูด ประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ เพื่อลดแรงดันในเต้านม หรือขณะที่อุ้มลูกดูดนม ให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือบีบบริเวณลานหัวนมคาไว้ จนลูกดูดได้ ไม่สำลัก จึงค่อยคลายมือออก

  • ให้นมลูกในท่านอน ช่วยให้น้ำนมไหลช้าลง

  • เมื่อคุณแม่นอนน้ำนมจะไหลช้าลง ประกอบกับน้องในวัยนี้แนะนำคุณแม่เว้นระยะห่างของมื้อนมอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงค่ะ เพราะถ้าให้นมบ่อย หรือติดถี่มากไป อาจจะทำปริมาณนมล้นกระเพาะอาหาร และเกิดอาการอาเจียนหรือสำรอกได้ค่ะ

สุดท้ายแล้ว สิ่งที่อยากให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยกันดู คงหนีไม่พ้นเรื่องสุขภาพร่างกายของลูกน้อย ที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแล เพราะลูกยังไม่รู้เรื่องจึงอาจทำให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุในแบบที่เราคาดกันไม่ถึงค่ะ ทางที่ดี คือควรช่วยกันดูแลลูก และหมั่นศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเยอะๆ จะช่วยลดโอกาสในการสำลักนมของลูกได้แน่นอนค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : Mamaexpert
Theasianparentthailand

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ข้อมูลทางแพทย์ ข้อมูลทางแพทย์
29 สิงหาคม 2560
เด็กวัยแรกเกิด เด็กวัยแรกเกิด
23 กันยายน 2562
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save