fbpx

ลูกน้อยงอแงร้องไห้แบบไหน เรียกว่าผิดปกติ

Writer : Jicko
: 22 มีนาคม 2562

เด็กๆ มักร้องไห้งอแง ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องกังวลใจของคนเป็นพ่อเป็นแม่อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ต้องเตรียมรับมือกับเสียงของเจ้าตัวน้อย แต่การที่เด็กๆ ร้องไห้งอแงนั้น ไม่ใช่ว่าเขาร้องไห้เฉยๆ แต่นั้นคือการสื่อสารของทารกอีกวิธีหนึ่งนั้นเองค่ะ

แต่บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็จะพบว่าทารกน้อยของเราร้องไห้มากขึ้นๆ เรื่อยๆ โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน จนทำให้พ่อแม่เกิดความกังวลได้ และไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร งั้นลองมาดูกันว่าทารกน้อยของเราที่ร้องไห้นั้น เกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีแก้ไขยังไงบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

โดยปกติ เมื่อทารกอายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ จะร้องไห้เฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมง และหลังจากนั้นเมื่ออายุได้ 10-12 สัปดาห์ ทารกจะร้องไห้น้อยลงเหลือประมาณวันละ 1 ชั่วโมง ซึ่งการร้องไห้ไม่ได้มีผลเสียใดๆ ต่อร่างกายหรือพัฒนาการของทารกเลยนะคะคุณแม่ๆ

แต่ถ้าหากเด็กๆ ร้องไห้แบบผิดปกติ หรือที่เรียกว่า อาการโคลิค (Colic) โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ไปจนถึง 3 เดือน เด็กจะร้องไห้มากและร้องนานมากกว่า 3 ชั่วโมงภายในวันเดียวโดยไม่มีสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเมื่อเกิดสถานการณ์ดังนี้

  • เด็กๆ ร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานานไม่ยอมหยุด นานมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์และเป็นอยู่มากกว่า 3 เดือน
  • เด็กๆ ไม่ยอมดื่มนมตามปกติ หรือดื่มน้อยลงเกินครึ่งหนึ่งของปกติ
  • เด็กๆ ไม่ตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว
  • เด็กๆ ร้องไห้นานจนมีอาการไข้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก
  • เด็กๆ ร้องไห้จนคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถปลอบให้เขาสงบลงได้ จนรู้สึกในแง่ลบต่อลูก
  • ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวแย่ลงจากการที่ลูกร้องไห้

สาเหตุที่ทารกร้องไห้และวิธีรับมือ

  • ร้องไห้ เพราะหิว

เนื่องจากนมแม่จะย่อยง่าย จึงทำให้ทารกหิวบ่อย ควรให้นมลูกทุก 2-3 ชั่วโมงและสังเกตอาการหลังกินนมว่าลูกดีขึ้นหรือไม่ หากหยุดร้องก็แสดงว่ามาถูกทางแล้วค่ะคุณแม่ๆ

  • ร้องไห้ เพราะปวดท้อง 

จะพบได้บ่อยเนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กยังทำงานไม่ได้ดี จึงทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ หากเป็นอย่างงั้นหลังกินนมเสร็จให้อุ้มพาดบ่าลูบหลังเบาๆ เพื่อให้เขาเรอทุกครั้งจะทำให้เด็กๆ สบายตัวมากขึ้น แต่หากมีอาการหนัก เช่น การแหวะนมมาก อาเจียนพุ่ง ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ

  • ร้องไห้เพราะปวดหู

จากหูอักเสบ ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาต่อไปค่ะ

  • ร้องไห้ เพราะมดหรือแมลงกัด

คุณพ่อคุณแม่ควรถอดเสื้อผ้า เพื่อสำรวจดูว่ามีรอยแมลงกัดหรือไม่

  • ร้องไห้ เพราะผ้าอ้อมเปียกแฉะ

หากลูร้องคุณพ่อคุณแม่ควรดูผ้าอ้อมก่อนทุกครั้งก่อนว่าเปียกแฉะ ทำให้เด็กๆ ไม่สบายตัวหรือไม่

  • ร้องไห้ เพราะเหนื่อย เพลีย

เด็กบางคนง่วงนอน แต่ก็ไม่ยอมหลับ เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยให้เด็กๆ หลับนั้นเอง ยิ่งง่วงแล้วไม่หลับ ก็ทำให้ลูกเหนื่อยและร้องไห้มากได้นะคะ

  • ร้องไห้ เพราะมีไข้

สังเกตได้จากเมื่อเด็กๆ มีอาการตัวร้อน วัดไข้ด้วยปรอทวัดไข้พบว่ามีไข้ หรือมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น ซึม กินได้น้อย อาเจียน ท้องเสีย ไอ น้ำมูก ให้รีบพามาพบแพทย์บางครั้งอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นของลูกน้อย อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ร้อนเกินไป หรือการห่อตัวหนา หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวกก็ได้ค่ะ

  • ร้องไห้ เพราะ อยู่ในกลุ่มเด็กเลี้ยงยาก

ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับพื้นฐานทางด้านอารมณ์ เด็กๆ มักจะตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นด้วยปฏิกิริยารุนแรง ร้องไห้มาก หงุดหงิดง่าย ปรับตัวยาก เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรมีความอดทน และยอมรับพื้นฐานทางอารมณ์ของลูก อีกทั้งต้องตอบสนองต่อลูกน้อยอย่างเหมาะสม เพื่อให้เขาได้ปรับตัวให้ได้ดีขึ้นต่อไปนั้นเองค่ะ

วิธีการช่วยเหลือเมื่อเด็กๆ ร้องไห้

  • สังเกตพฤติกรรมและลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์ของลูกเพื่อที่จะได้ตอบสนองให้ตรงกับความต้องการ พ่อแม่ควรตอบสนองความต้องการของลูกในช่วง 6 เดือนแรกโดยทันทีตามที่ลูกต้องการ เพื่อให้ลูกเรียนรู้ที่จะไว้ใจพ่อแม่ ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันที่มั่นคง เชื่อมั่นว่าพ่อแม่จะสามารถช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาได้ การอุ้มและสัมผัสทารกอย่างสม่ำเสมอระหว่างวัน สามารถช่วยให้ทารกร้องไห้ลดลงได้
  • สร้างบรรยากาศสบายๆ ในการเลี้ยงดูลูก หาคนมาช่วยแบ่งเบาภาระในการดูแลลูกบ้าง ผลัดกันดูแล อุ้ม ปลอบโยนเด็ก เปิดเพลงเบาๆ หรือถ้าเขาร้องไห้จนเหงื่อยออก ให้เช็ดตัว หรืออาบน้ำให้สดชื่นด้วยก็เป็นการสร้างบรรยากาศอย่างหนึ่งนะคะ
  • คุณพ่อคุณแม่ควรปรับอารมณ์ไม่ให้วิตกกังวลมากไป ควรจะเข้าใจว่าการร้องไห้ของลูกเป็นเรื่องธรรมชา ติของทารกนะคะ
  • หากสงสัยว่ามีความผิดปกติของร่างกาย เช่น ปวดท้อง มีการถ่ายอุจาระผิดปกติ อาเจียนพุ่ง หูอักเสบ มีไข้ ซึม กินน้อย ควรรีบปรึกษาแพทย์นะคะ

ข้อควรระวังเมื่อลูกร้องไห้

  • การร้องไห้เป็นปกติของทารกแรกเกิด ไปจนถึง 4 เดือน
  • การร้องไห้ของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนร้องไห้น้อยแต่บางคนก็ร้องไห้มากกว่าเด็กคนอื่นๆ
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องอดทนและตอบสนองอย่างอ่อนโยนต่อสาเหตุที่ทำให้ทารกเกิดความไม่สบายตัว
  • ขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างและครอบครัวให้ดูแลลูกน้อยเป็นครั้งคราว
  • เด็ๆ จะค่อยๆ ร้องไห้น้อยลงเมื่อโตขึ้น
  • ไม่ควรเขย่าตัวเด็ก เพราะจะเกิดความเสียหายต่อสมองและความพิการได้

 

ที่มา : pobpad, Smitivejhospitals, Nappibaby

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save