ช่วงนี้มักจะได้ยินคำว่า “เบบี้บลู” (Baby Blue) กันบ่อยๆ ใช่ไหมคะ รู้หรือไม่ว่า มีแม่จำนวนมากที่กำลังเผชิญกับภาวะเช่นนี้อยู่ จากแม่ที่เคยแข็งแกร่ง แฮปปี้ กลับกลายเป็นคุณแม่เจ้าน้ำตาไปซะได้
วันนี้เรามารู้จัก เบบี้บลู กันให้มากขึ้น รวมไปถึงวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่กลับมาสตรองค์สดใสเป็นคนเดิมได้อีกครั้งกันค่ะ

Baby Blue ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
- เกิดกับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก 30 – 75%
- เศร้ามาก ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ
- ไม่มีเรี่ยวแรง
- สับสนกังวล อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ

สาเหตุ
- ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- กังวลใจตั้งแต่ตั้งครรภ์ หรือเคยมีประวัติการแท้งบุตร
- เลี้ยงลูกคนเดียว
- ความกังวลใจกับภาระและความรับผิดชอบหลังคลอด

แนวทางการแก้ไข
- พูดคุยกับคนข้างๆ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงสารเสพติดต่างๆ
ระดับของซึมเศร้าหลังคลอด
หากปล่อยให้ภาวะเบบี้บลูอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์ โดยไม่ช่วยกันดูแลคุณแม่ให้ถูกวิธี จะส่งผลให้อาการรุนแรงขึ้นไปจนถึงระยะ โรคซึมเศร้าหลังคลอด นำไปสู่โรคจิตหลังคลอดในที่สุด

คนรอบข้างช่วยได้อย่างไร
- รับฟัง และให้กำลังใจ
- แบ่งเบาภาระหน้าที่
- คอยสังเกตอาการ