เราจะทราบกันดีว่าการเป็นสิวนั้นจะพบได้ในวัยรุ่นหรือที่เรียกว่าช่วงเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ของฮอร์โมนร่างกาย แต่ในความจริงนั้นกับทารกที่พึ่งเกิดเอง ก็มีสิวได้เช่นกัน
แล้วสิวนี้มาจากไหนกันละนี่ อันตรายรึเปล่า เป็นเรื่องคุณแม่ต้องกังวลหรือไม่
วันนี้ทาง Parents One จะมาอธิบายถึงสภาวะสิวที่เกิดขึ้นบนใบหน้าของเจ้าตัวเล็กนะคะ ว่ามันเกิดจากอะไรแล้วส่งผลอะไรบ้างกับการเจริญเติบโต
สิวทารกเกิดจากอะไร
ทารกนั้นจะเริ่มมีสิวในช่วง 2-4 สัปดาห์แรกเกิดแล้วก็จะหายไปได้เองตามธรรมชาติและส่วนมากจะผมในทารกเพศชายมากกว่า ในส่วนของสาเหตุการเกิดสิวนั้นมีข้อการสันนิษฐานทั้ง 4 ประการ
- เป็นกรรมพันธุ์ของฝั่งคุณพ่อและคุณแม่ว่าในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่นเป็นคนมีสิว และสิ่งนี้ก็ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกได้
- เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผิวแล้วเกิดการอุดดันรูขุมขนบนผิวหน้า
- ความสกปรกบนใบหน้าจนทำให้เกิดสิว
- ได้รับถ่ายทอดสารบางอย่างจากน้ำนมของคุณแม่จนเกิดการกระตุ้นให้มีสิว
สิวทารกเป็นอย่างไร
เมื่อแรกเกิดมา บางครั้งก็พบเห็นว่าผิวเนียนๆของลูกมีจุดแดงๆหรือตุ่มขนาดเล็กขึ้นซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 อย่างคือ Milia (สิวข้าวสาร), สิว ซึ่งหาเป็น Milia จะไม่ขยายขนาด ไม่มีอาการอักเสบหรือลุกลามขึ้ยตามบริเวณใบหน้า สามารถหายไปได้เองรวดเร็วกว่า แต่หากเป็นสิวทารก จะมีลักษณะเป็นตุ่มแดงขึ้นแถวบนหน้าผาก, จมูก, แก้มซึ่งหากมีการอักเสบอาจจะลุกลามไปผิวหนังส่วนอื่นๆได้
สิวทารกอันตรายหรือไม่
หากเป็นสิวที่สามารถหายไปได้เอง ไม่มีอาการเรื้อรังหรือผุดขึ้นใหม่จนคล้ายผื่น ยังไม่ถือว่าเป็นอันตราย เว้นเสียแต่ตัวสิวนั้นจะมีอาการอักเสบสำคัญที่สุดคือคุณพ่อและคุณแม่จะต้องแยกให้ออกระหว่างเป็นสิวกับผดผื่นเพราะผดผื่นนั้นจะสร้างความระคายเคืองและบอกได้ถึงอาการแพ้ของลูกน้อยที่น่ากังวล ซึ่งสิวจะเห็นเป็นจุดชัด ขึ้นแล้วไม่มีอาการคัน แต่ผดผื่นจะเป็นจุดติดกันเยอะๆ ขึ้นตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง ทั้งยังมีความระคายเคือง
ป้องกันการเป็นสิวทารกเพิ่มได้อย่างไร
แม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายแต่หากไปแกะไปเกาก็อาจจะทำให้เป็นแผลหรือเกิดความระคายเคืองอื่นได้กับลูกน้อย ดังนั้นวิธีการป้องกันไม่ให้สิวขึ้นใบหน้าลูกน้อยหรือเป็นเพิ่มอีกจัดการได้ 8 ประการ
- สวมใส่ถุงมือให้ลูกกันเขาใช้นิ้วสัมผัส แกะเกาใบหน้า
- ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน เพื่อให้รูขุมขนของเขาไม่มีสิ่งใดอุดตัน
- อาบน้ำและเช็ดทั้งใบหน้าและตัวให้สะอาดอยู่เสมอ
- ผิวต้องแห้ง ไม่ชื้นหรือหากมีเหงื่อออกก็ต้องเช็ดทำความสะอาด
- เสื้อผ้าต้องซักใหม่ก่อนใช้ ผ้าขนหนูต้องเปลี่ยนผืนไม่ใช้ซ้ำกันเป็นเวลานาน
- ไม่แกะหรือจับสิวของลูกเพราะจะทำให้หายยากยิ่งขึ้น
- ทานแต่อาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารจากนมแม่ได้อย่างเต็มที่
- หากคุณแม่มียาตัวไหนทานประจำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจว่าจะมีผลกระทบอะไรกับตัวลูกน้อยหรือไม่
หากอาการสิวทารกหนักขึ้นเรื่อยๆควรทำอย่างไร
ในกรณีที่ทำตามทุกอย่างแล้วแต่สิวทารกก็ยังไม่หายไปจนถึงตอนที่ตัวทารกเริ่มโตขึ้นแต่ก็ยังไม่มีวี่แววจะหายขาด ต้องเข้าพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไปเพราะอาจจะมีปัจจัยอื่นอีกที่เกี่ยวกับภายในร่างกายของเขา หรืออาจเกิดจากอาการแพ้อย่างอื่นก็เป็นได้
ที่มา : doctor, bepanthenthai, baby.kapook, amarinbabyandkids