fbpx

โรคสมาธิสั้นในเด็ก อาการผิดปกติทางอารมณ์และวิธีดูแล

Writer : blahblahboong
: 9 เมษายน 2562

คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่านน่าจะเคยได้ยินชื่อ “โรคสมาธิสั้น” ที่เป็นอีกหนึ่งโรคฮิตในปัจจุบัน แน่นอนว่าพ่อแม่อีกหลายๆ ท่านมีความกังวลว่าเจ้าโรคนี้จะเกิดขึ้นกับลูกของตัวเองรึป่าว หรือเด็กๆ ที่เราเห็นอยู่นั้นกำลังประสบกับภาวะนี้อยู่หรือไม่ เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ก็อย่างละเอียด ทั้งสาเหตุ อาการ รวมไปถึงแนวทางกันรักษากันให้มากขึ้น

โรคสมาธิสั้น

  • Attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD
  • อาการผิดปกติทางพฤติกรรมและอารมณ์
  • อาจจะเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุ 3 – 6 ปี
  • อาการแสดงออกชัดเจนสามารถวินิจฉัยได้ตอนอายุ 6 – 12 ปี

สาเหตุ

  • ความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสมาธิ เช่น โดปามีน (Dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine)
  • ความผิดปกติของสมองส่วนหน้า (Frontal cortex) ที่คอยควบคุมสมาธิและการตื่นตัว
  • พันธุกรรม
  • ปัจจัยเสริมอื่นๆ อย่าง สิ่งแวดล้อม, การเลี้ยงดู

อาการ

  • ขาดสมาธิ (Attention Deficit)

เด็กจะวอกแวกง่าย ขาดความตั้งใจในการทำงาน โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ความคิด มักจะมีอาการเหม่อลอยบ่อยๆ ทำงานไม่เสร็จ ผลงานไม่เรียบร้อย ตกๆ หล่นๆ และมีลักษณะขี้ลืม ทำของหายเป็นประจำ

  • ซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity)

ซน อยู่ไม่สุข ยุกยิกตลอดเวลา นั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ ต้องลุกเดินขยับตัวไปมา ชอบเล่นผาดโผน ปีนป่าย ใช้เสียงดัง มักประสบอุบัติเหตุจากความซนบ่อยๆ พูดมากและชอบแกล้งเด็กคนอื่น

  • วู่วาม ใจร้อน (Impulsivity)

มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น ขาดความระมัดระวัง รอคอยอะไรไม่ได้ ชอบพูดแทรกระหว่างที่คนอื่นกำลังคุยกัน

การดูแลและแนวทางการรักษา

  • ใช้ยาเพิ่มสมาธิ
  • จัดตารางกิจวัตร ฝึกฝนการควบคุมตัวเอง
  • สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
  • มองหาจุดเด่นและความสามารถด้านอื่นๆ

 

อ้างอิง

Honest Docs

Parenting a Child With ADHD

Writer Profile : blahblahboong

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save